รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
สัตว์ทะเลรายล่าสุดที่ได้รับผลกระทบจากขยะพลาสติกต่อจากปลาวาฬ, เต่าทะเล และปลาชนิดต่างๆ ก็มาถึงคิวของ ปูเสฉวน สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่ได้รับผลกระทบอย่างโหดร้าย
จากการศึกษาล่าสุดพบว่าปูเสฉวนประมาณ 570,000 ตัวตาย หลังจากปีนเข้าไปในเศษพลาสติกแล้วไม่สามารถปีนออกมาได้ นี่แสดงให้เห็นว่าขยะพลาสติกไม่ใช่อันตรายเมื่ออยู่ในน้ำเท่านั้น เมื่ออยู่ตามชายฝั่งมันยังทำหน้าที่เป็นกับดักที่อันตรายสำหรับสิ่งมีชีวิตเล็กๆ อีกมากมาย
ธรรมชาติของปูเสฉวนนั้น พวกมันจะทำการหาอาหารตามชายฝั่ง แต่เมื่อมีขยะพลาสติกโผล่ขึ้นมาพวกมันแยกไม่ออกและไม่รู้ด้วยซ้ำว่าขยะพลาสติกคืออะไร และเมือมีพวกมันตัวแรกปีนตกเข้าไปในขวดหรือแก้วพลาสติก ด้วยพื้นผิวที่แข็งและเรียบของพลาสติกทำให้พวกมันปีนออกมาไม่ได้และตายในที่สุด
แต่ความตายของมันกลับกลายเป็นการวางกับดักครั้งใหญ่โดยไม่ได้ตั้งใจ เพราะตัวที่ปีนเข้าไปตายนั้นเน่าและส่งกลิ่นเหม็น มันกลับกลายเป็นการดึงดูดให้ปูเสฉวนตัวอื่นตามกลิ่นเข้าไป ด้วยความเข้าใจผิดว่าเป็นอาหารตามธรรมชาติ ทำให้มีปูจำนวนมากตามเข้าไปตายอยู่ในซากขยะพลาสติกนั้น
นักวิจัยที่ทำการสำรวจซากขยะพลาสติก เคยพบจำนวนปูที่ตายอยู่ในขยะหนึ่งชิ้นมากถึง 500 กว่าตัว จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่จะพบความสูญเสียของปูเสฉวนจำนวนกว่า 500,000 ตัวจากสาเหตุเดียวกันนี้
นักวิจัยแนะแนวทางสำหรับปัญหานี้ว่า อย่างแรกคือการลดการใช้งานพาพลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้งให้ได้มากที่สุด ส่วนอีกอย่างก็คือการค้นหาและป้องกันการรั่วไหลของขยะพลาสติกให้ได้โดยเร็ว ไม่อย่างนั้นจะเกิดความสูญเสียเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อ้างอิง: