รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
กรมอุตุนิยมวิทยาของญี่ปุ่นรายงานว่า ตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ทางตอนเหนือของประเทศมีหิมะตกแค่เพียงร้อยละ 38 โดยเฉลี่ย ขณะที่ภาคอื่นก็มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยตั้งแต่เริ่มบันทึกสิถิติครั้งแรกในปี 1961 ในปีนี้ถือว่าเป็นปีที่หิมะโปรยปรายน้อยที่สุดในรอบ 59 ปี
สำหรับปัจจัยที่ทำให้หิมะน้อยกว่าปกตินั้น กรมอุตุนิยมวิทยาระบุว่ามีด้วยกันหลายปัจจัย โดยภาวะโลกร้อนก็เป็นหนึ่งในนั้น
การที่มีหิมะน้อยส่งผลกระทบต่อธุรกิจท่องเที่ยวของญี่ปุ่น โดยเฉพาะรีสอร์ตที่มีจุดขายเป็นลานสกี บางแห่งถึงกับต้องลงทุนใช้เครื่องผลิตหิมะเทียมเพื่อให้เพียงพอกับการทำกิจกรรม และอย่างเช่นงานเทศกาลหิมะในเมืองซัปโปโร ที่ต้องใช้รถบรรทุกไปขนหิมะจากเมืองที่อยู่ใกล้ๆ มาช่วยสร้างบรรยากาศ
ทั้งนี้ ฤดูหนาวของญี่ปุ่นคือช่วงเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ อุณหภูมิในฤดูหนาวญี่ปุ่นเฉลี่ยอยู่ที่ 0-10 องศาเซลเซียส ซึ่งช่วงที่หนาวที่สุดจะอยู่ที่ ปลายมกราคมถึงต้นกุมภาพันธ์ จังหวัดที่หิมะตกมากจะอยู่ตอนบนของประเทศ เช่น ฮอกไกโด อาโอโมริ อากิตะ นิงาตะ