จากการมองเห็นศักยภาพของผู้ตนในชุมชนที่มีฝีมือทั้งการเย็บมือ ทอผ้า ตัดเย็บ และการปักลาย รามตัวกันสร้างงานสร้างรายได้


จากการมองเห็นศักยภาพของผู้ตนในชุมชนที่มีฝีมือทั้งการเย็บมือ ทอผ้า ตัดเย็บ และการปักลาย รามตัวกันสร้างงานสร้างรายได้ สร้างชิ้นงานผสมผสานลวดลายผ้าวิถีชนเผ่าไทลื้อเข้ากับผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบเพื่อสืบสานไว้ซึ่งอัตลักษณ์แห่งชาติพันธุ์

แนวคิดในการออกแบบ : เป็นการนำเศษผ้าทอมาต่อกับผ้าทอสีพื้นและลวดลายขอผ้าทอชนเผ่า พื้นเมืองมาเย็บขึ้นรูปเป็นปลอกหมอนอิงที่ดูทันสมัย เหมาะกับคนรุ่นใหม่สไตล์โมเดิร์นแต่คงมีกลิ่นอายความเป็นชนเผ่าของไทยทางภาคเหนือ ใช้ประดับตกแต่งในอาคาร บ้านเรือน หรือนำมาใช้สอยในชีวิตประจำวันได้จริง

ผู้ประกอบการ “ผ้าฝ้าย บัวละวงค์” เป็นไทลื้อ เป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอยู่หลากหลายในจังหวัดเชียงราย เช่น ม้งและเย้า เป็นต้น ผู้ประกอบการได้เห็นศักยภาพของเพื่อนร่วมงานในการเย็บมือ, ทอผ้า, ตัดเย็บ และการปักลาย จึงรวมตัวกันเริ่มต้นทำงาน ทำให้สร้างงานและเกิดรายได้เพิ่มโดยได้นำเงินทุนจากกองทุนหมู่บ้านไปเป็นทุนหมุนเวียน ด้วยศักยภาพและองค์ความรู้พื้นถิ่นที่ทางกลุ่มมี จึงเกิดเป็นรูปแบบลวดลายแบบผสมผสาน บวกกับผู้ประกอบการมีความสนใจที่จะหาลวดลายใหม่ๆ จากใน website Pinterest ลวดลายผ้าเลยมีพัฒนาการที่แปลกตาขึ้น และยังคงเอกลักษณ์ของตัวเองไว้ แต่เพราะความจดจ่ออยู่กับเฉพาะเครื่องแต่งกาย จึงขาดการต่อยอดการใช้งานสิ่งทอให้เป็นผลิตภัณฑ์ประเภทอื่น

ทางทีมปฏิบัติงานเล็งเห็นศักยภาพความสามารถในการเย็บมือ ในการปักลาย (ลายไก่น้อย, ลายงูลอย,ตะขอ, ตะขอเครือ, ลายดาวตาไก่, ลายนาค) ที่เป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่าพื้นถิ่น, การเลือกลายเศษผ้ามาผสมกันและความพยายามที่จะพัฒนาลวดลายปักใหม่และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และเมื่อได้ร่วมกันทำงานพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ใหม่กับทางทีมปฏิบัติงาน ทางผู้ประกอบการ “ผ้าฝ้าย บัวละวงค์” จะสามารถพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ใหม่ได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ