สำหรับใครที่คิดจะขยายธุรกิจในรูปแบบ แฟรนไชส์ เพื่อเป็นอีกช่องทางการสร้างรายได้ นอกจากความชอบและพร้อมทุ่มเทกับธุรกิจแล้ว เหล่านี้ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะขาดข้อไหนไม่ได้เลย
แบรนด์แข็งแรงดีรึยัง แล้วกระบวนการบริหารงานมีระบบพอมั้ย : เจ้าของแบรนด์ควรมีการจัดการร้านให้เป็นระบบ มีมาตรฐานเป็นที่น่าเชื่อถือ ถ้าหากเป็นธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร การสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแฟรนไชส์ซีก็ต้องทำอย่างครบถ้วน เช่น ใบอนุญาต ใบรับรองมาตรฐาน พร้อมสร้างระบบและขั้นตอนการทำงานอย่างละเอียด เข้าใจง่ายและทำเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ไปทำงานได้ง่ายขึ้น ซึ่งในปัจจุบันไม่ได้ทำเฉพาะอยู่บนเอกสารเท่านั้น แต่ควรให้รายละเอียดงานเหล่านี้ปรากฏอยู่บนโลกดิจิทัลด้วย
ร้านต้นแบบ และ Business Model หน้าตาเป็นยังไง : การขายแฟรนไชส์เป็นการขายระบบ พร้อมกับความน่าเชื่อถือ ดังนั้นคุณควรมีการจัดตั้งร้านตัวอย่างให้กับผู้ที่จะซื้อแฟรนไชส์ได้เข้ามาศึกษา เรียนรู้ และทำความเข้าใจ ซึ่งในร้านตัวอย่างนี้ คุณต้องสร้างให้เป็นไปตามแบบแผนความฝันที่คุณต้องการ จัดแต่งร้านให้มีเอกลักษณ์ และระลึกอยู่เสมอว่าร้านนี้จะเป็นต้นแบบของการขายแฟรนไชส์ พร้อมอธิบายโดยละเอียดว่าผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์ไป จะสามารถทำกำไรได้จากช่องทางไหนบ้าง
โอกาสความเป็นไปได้ในการขยายสาขา : ก่อนขายเราต้องศึกษาตลาดก่อนว่าขนาดของตลาดเป็นอย่างไร มีอัตราการเติบโตมากแค่ไหน พอที่จะเป็นแรงจูงใจในการสร้างแฟรนไชส์หรือไม่ สภาวะของคู่แข่งเป็นอย่างไร เพราะธุรกิจที่เหมาะจะก่อตั้งแฟรนไชส์ได้นั้น ต้องมีคู่แข่งน้อย มีจุดเด่นที่แตกต่าง ซึ่งอัตราการเติบโตของธุรกิจ เมื่อเฉลี่ยออกมาแล้ว อย่างน้อยไม่ควรต่ำกว่าเลขสองหลัก
เข้าใจ Position ของธุรกิจ และผู้ซื้อแฟรนไชส์ : การจะสร้างแฟรนไชส์จะต้องประเมินค่าใช้จ่ายงบลงทุนขอผู้ซื้อแฟรนไชส์ให้รอบด้าน เพื่อที่จะตั้งค่าธรรมเนียมที่เหมาะสม เช่น ค่าธรรมเนียมแรกเข้า อายุสัญญา การต่อสัญญา และค่าใช้จ่ายอื่นๆในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ โดยเฉพาะเรื่องส่วนแบ่งกำไร และอย่าลืมว่าผู้ซื้อแฟรนไชส์เขาต้องแบกต้นทุนหลายด้านไม่ต่างจากตอนที่เราตั้งกิจการ ถ้าหากต้นทุนของเขามากจนไม่สามารถบริหารให้คุ้มทุนได้ โอกาสที่เราจะขายแฟรนไชส์ก็ยากขึ้น ดังนั้น เรื่องสัญญาต้องสร้างขึ้นมาในบรรทัดฐานที่ Win Win กันทั้ง 2 ฝ่าย
ซัพพลายเออร์ต่างๆ เช่น วัตถุดิบ-อุปกรณ์ : เพราะการขายแฟรนไชส์คือการบอกกับผู้ซื้อแฟรนไชส์ว่าคุณจะสามารถทำกำไรได้ในระยะยาว ดังนั้น เรื่องซัพพลายเออร์ที่คอยสนับสนุนวัตถุดิบต่างๆ รวมถึงอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่เจ้าของแฟรนไชส์ต้องสามารถควบคุมสเปค มาตรฐาน หรือความผันผวนด้านราคาให้ได้ นี่จึงเป็นเหตุผลที่เจ้าของแฟรนไชส์ส่วนใหญ่จะมีฐานผลิตไว้เอง เพื่อคอยสนับสนุนธุรกิจ หรือถ้าไม่มีก็ต้องมีซัพพลายเออร์ที่เชื่อถือได้ ไว้คอยซัพพอร์ทเราตลอดเวลา
การจัดหลักสูตรฝึกอบรบให้ผู้ซื้อ แฟรนไชส์ : การซื้อแฟรนไชส์ ก็เหมือนกับการซื้อประสบการณ์ ไม่ต้องมาลองผิดลองถูก สิ่งนี้จึงทำให้การถ่ายทอดองค์ความรู้ และ DNA ของแบรนด์ เป็นหัวใจสำคัญที่ต้องใส่ใจกันตั้งแต่พนักงาน ไปจนถึงผู้บริหาร เพื่อสร้างงานบริการ และมาตรฐานให้คงไว้ในระดับเดียวกันทุกสาขา
แผนการการตลาดเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน : จะว่าไปแล้ว ทั้งคนขาย และคนซื้อแฟรนไชส์ต่างรู้ดีว่า ในธุรกิจแฟรนไชส์ เป็บเสมือนการซื้อ-ขาย โอกาส และความน่าเชื่อถือ แต่เพราะโลกยุคนี้หมุนเร็วขึ้น และมีอะไรใหม่ๆ มาเซอร์ไพรส์ผู้บริโภคอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเรื่องการตลาดจึงนับเป็นอีกโอกาสในระยะยาว ที่เจ้าของแฟรนไชส์ต้องคอยช่วยเหลือ และสนับสนุนผู้ซื้อแฟรนไชส์ด้วย #ไม่ใช่ขายไปแล้วจะหวังรับอย่างเดียว
แล้วพบกันในงาน Smart SME Expo 2020 #ชี้ช่องรวย สุดยอดธุรกิจแห่งปี #ที่เดียวจบพบทางรวย อีเวนท์ใหญ่ของคนรักการทำธุรกิจ จัดติดต่อกันเป็นปีที่ 6 วันที่ 2 – 5 กรกฎาคม 2563 ณ ฮอลล์ 7–8 อิมแพ็ค เมืองทองธานี
สำหรับธุรกิจไหนที่มีโซลูชั่นเพื่อ SME สามารถมาร่วมออกบูธด้วยกันได้
Call Center 086 314 1482
E-Mail : [email protected]
https://expo.smartsme.co.th