รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
การวิจัยของมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน (UCL) เผยว่าการนั่งนิ่ง ๆ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานในทุก ๆ วัน อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าที่เพิ่มสูงขึ้นในหมู่วัยรุ่น
คณะวิจัยของมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน (UCL) ได้ทำการเก็บข้อมูลกลุ่มวัยรุ่นจำนวน 4,257 คน ซึ่งพบว่าพฤติกรรมเนือยนิ่งในแต่ละวันของวัยรุ่นอายุ 12, 14 และ 16 ปี ที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ 60 นาทีนั้นเชื่อมโยงกับคะแนนภาวะซึมเศร้าที่เพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 11.1, 8 หรือ 10.5 ตามลำดับ เมื่ออายุ 18 ปี
อีกทั้ง คณะวิจัยยังพบว่าผู้ที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่งเป็นเวลานานติดต่อกันทั้ง 3 ช่วงวัย มีคะแนนภาวะซึมเศร้าสูงขึ้นร้อยละ 28.2 เมื่ออายุ 18 ปี
Aaron Kandola ผู้นำการวิจัย กล่าวว่าการค้นพบของเราแสดงให้เห็นว่าคนหนุ่มสาว ที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่งในสัดส่วนที่สูงในแต่ละวันตลอดช่วงวัยรุ่น จะเผชิญกับความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าที่สูงขึ้นเมื่ออายุ 18 ปี
“เราพบว่าไม่ใช่แค่กิจกรรมที่ต้องใช้ร่างกายหนักเท่านั้นที่เป็นผลดีต่อสุขภาพจิตของเรา แต่กิจกรรมทางกายทุกรูปแบบที่ช่วยลดระยะเวลาการนั่งเฉยๆ ได้ก็ล้วนมีแนวโน้มว่าจะเป็นผลดีต่อสุขภาพจิตเช่นกัน” Kandola กล่าว
ที่มา: สำนักข่าวซินหัว