หากพูดถึงการทำธุรกิจเชื่อว่าเป็นความใฝ่ฝันของใครหลายคน แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับการเลือกเดินในเส้นทางนี้ เพราะคุณต้องมีความพร้อมอยู่พอสมควร และไม่ใช่ใครที่จะทำได้ เพราะหากไม่มีการเตรียมตัวที่ดีธุรกิจของคุณก็อาจจะเจ๊งไม่เป็นท่าก็ได้
ดังนั้น ในบทความนี้เรามาเช็คความพร้อมกับ 8 เรื่องควรรู้ก่อนที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจ
1.มองภาพระยะยาว
ผู้ประกอบการหลายรายมักมีความคิดมุ่งไปว่าทำอย่างให้ธุรกิจประสบความสำเร็จโดยใช้เวลาไม่นาน แต่เรื่องหนึ่งที่ลืมคิดไปคือทุกสิ่งย่อมเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และแผนที่วางเอาไว้อาจใช้ไม่ได้ผล ดังนั้น คุณควรเปลี่ยนมาเป็นการสร้างบริษัทให้ดีเยี่ยมในระยะยาวดีกว่า
2.ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสินค้า หรือบริการเป็นที่ต้องการ
ผู้ประกอบการต้องทำงานหนัก และเรียนรู้มากกว่าสร้างภาพในจินตนาการแห่งความร่ำรวย เพราะการทำธุรกิจไม่มีอะไรการันตีได้ถึงความสำเร็จ ดูได้จากบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เติบโต มีผลกำไรสม่ำเสมอ พวกเขาสามารถรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่ส่งผลให้เศรษฐกิจถดถอย เพราะพวกเขามีการเตรียมตัวกันมาเป็นอย่างดี
ดังนั้น ก่อนที่คุณจะเริ่มทำธุรกิจควรทำวิจัยค้นคว้า, รู้จำนวนผู้บริโภค และแน่ใจว่าสินค้า หรือบริการเป็นที่ต้องการของตลาด รวมถึงทุกการขายควรได้กำไรทุกครั้ง
3.ครั้งแรกไม่มีอะไรถูก
แม้จะมีข้อมูลมากมายอยู่ในมือ แต่หากผู้ประกอบการไม่ลงมือทำก็เปล่าประโยชน์ อย่างไรก็ตามแม้จะนำข้อมูลมาวิเคราะห์จนออกมาเป็นสินค้า และบริการ แต่บางครั้งก็ยังไม่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ดีเท่าไหร่นัก ดังนั้น คุณควรเชื่อมั่นในตัวเองเมื่อต้องเจอกับ “ความล้มเหลว” พร้อมนำข้อเสนอแนะ คำวิจารณ์มาพัฒนาสินค้าให้ออกมาดี
4.อดทน และมั่นใจว่าคุณมีเงินทุนเพียงพอ
ทุกคนที่เริ่มต้นทำธุรกิจควรจะเข้าใจอย่างลึกซึ้งในเรื่องของเวลา และการหาเงินทุนที่เพียงพอให้ธุรกิจสามารถอยู่รอด ตลอดจนสร้างรายได้พาธุรกิจเติบโตเดินไปข้างหน้า อย่างไรก็ตามเกือบครึ่งของธุรกิจขนาดเล็กต้องพบกับความล้มเหลวเพราะมีเงินทุนไม่เพียงพอ
ดังนั้น การมีเงินทุนไม่เพียงพอย่อมส่งผลต่อแผนระยะยาวที่อาจทำให้ธุรกิจต้องหยุดชะงักลง ซึ่งการมีเงินทุนสำรองเพียงพอจะช่วยให้ธุรกิจรอดพ้นในช่วงวิกฤตได้
5.รู้ว่าคุณกำลังขายอะไร
ผู้ประกอบการหลายรายมักมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการทำการตลาดและขายสินค้า จนละเลยไปว่าแท้จริงแล้วลูกค้าต้องการอะไรกันแน่ ซึ่งบริษัทที่ทำกำไรจะรู้ถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคดีกว่ารู้จักตัวเอง จึงทำให้สินค้าของพวกเขามีมูลค่า ได้รับผลตอบรับที่ดีจากลูกค้า
ดังนั้น การวางกลยุทธ์จำเป็นต้องเข้าใจปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย และสร้างสินค้า หรือบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า เมื่อถึงตอนนั้นธุรกิจของคุณก็จะโดดเด่นขึ้นมาไม่เหมือนใคร
6.หาพาร์ทเนอร์
เหตุผลแรกที่ผู้ประกอบการควรจะมีพาร์ทเนอร์ เพื่อสร้างความมั่นคงในเรื่องการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น การเงิน, การติดต่อธุรกิจที่เป็นไปอย่างราบรื่น และมีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงในตลาด
7.ฟังเสียงผู้บริโภค
การคิดแบบ Traditional จะบอกคุณเริ่มต้นทุกอย่างด้วยแผนธุรกิจ อีกทั้งการฟังเสียงความต้องการของผู้บริโภคเป็นสิ่งสำคัญ เพราะสามารถนำมาปรับใช้กับสินค้าได้ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการต้องจำขึ้นใจว่าสินค้าจะขายได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับผู้บริโภค
8.ต้องแก้ปัญหา
การเริ่มต้นทำธุรกิจ ผู้ประกอบการต้องถามตนเองสินค้ามีความจำเป็น หรือเข้ามาแก้ปัญหาอย่างใด หากไม่มีความต้องการ หรือสนใจจากตลาด คุณควรจะนำไอเดียนี้ไปคิดใหม่ ไม่ใช่คิดแต่ว่าอยากขายสินค้าที่ตนเองชื่นชอบอย่างเดียว
ที่มา: entrepreneur