รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังไม่คลี่คลายลง และข่าวสารที่เราติดตามในแต่ละวัน อาจจะทำให้หลาย ๆ คนเกิดความวิตกกังวลเนื่องจากเป็นโรคที่เกิดจากไวรัสสายพันธุ์ใหม่ มีการแพร่เชื้อได้รวดเร็วและเกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก
อย่างไรก็ดี หน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องในการหามาตรการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 หลาย ๆ ฝ่าย เร่งเดินหน้าหามาตรการเพื่อรับมือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วนเช่น กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข หรือเจ้าหน้าที่ บุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาล เจ้าหน้าที่คัดกรองสนามบิน ฯลฯ ล้วนทุ่มเทแรงกายแรงใจอย่างเต็มความสามารถเพื่อให้สถานการณ์ดีขึ้นในเร็ววัน
ทั้งนี้ทั้งนั้น เชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ถูกพูดถึงในแง่มุมต่าง ๆ มากมาย เพื่อเป็นการไขข้อข้องใจในเรื่องดังกล่าว นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ ได้ออกมาโพสต์ข้อความที่น่าจะเป็นประโยชน์กับประชาชนในขณะนี้ เพื่อให้เราทำความเข้าใจและรู้วิธีรับมือ โควิด 19 ได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น ดังนี้
ช่วยกันแชร์ ช่วยกันรับมือ โควิด 19 ครับ
1) หมออยากให้มองภาพข้อมูลผู้ป่วยทั้งหมดก่อน จะทำให้เข้าใจ ขณะนี้มีผู้ป่วย โควิด 19 ทั่วโลก ~ 100,000 คน และมีกลุ่มที่มีอาการุนแรง < 6 % (~ < 6,000 คน) เสียชีวิต ~ 2-3 % (~ 3,000 คน) อนาคตเมื่อพบผู้ติดเชื้อ (ตัวเลขจริง) อัตราป่วยตายน่าเชื่อว่า < 1 % (คล้ายไข้หวัดใหญ่)
– สรุปว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ > 90,000 คน (~ > 90%) อาการไม่รุนแรง อาการป่วยทั่วไป มีอาการไข้ มีน้ำมูก ไอ อ่อนเพลีย อาการคล้ายไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่ และหากพักผ่อนเต็มที่ ได้รับการดูแล จะหายเป็นปกติ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ > 90% (“ไม่มีการทำลายปอด ดังภาพที่แชร์ ครับ”)
2) ในกลุ่มที่อาการรุนแรง ผู้ป่วยโควิด 19 มีภาวะปอดอักเสบ พบได้น้อยเมื่อเทียบกับผู้ติดเชื้อหรือผู้ป่วยทั้งหมด ในผู้ป่วยอาการรุนแรง ~ 10 % มิใช่ว่า ปอดจะถูกทำลายอย่างรุนแรงทุกคน
ต้องเรียนว่า แม้เนื้อปอดถูกทำลาย ก็ไม่ได้ถูกทำลายทั้งหมด เป็นเพียงบางส่วน กรณีทำลายไม่ถึงร้อยละ 50 เมื่อผู้ป่วยหายจากโรคแล้ว “ร่างกายยังสามารถฟื้นฟูตัวเองได้” หมอไม่อยากให้ เอาข้อมูลส่วนน้อย มาทำให้ พี่น้องประชาชน “กลัว”
3) สิ่งสำคัญ คือ การป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ การรักษาสุขภาพ “คนที่แข็งแรง จะมีภูมิต้านทานต่อสู้กับ โควิด 19” อาการป่วยจะน้อยมากๆ
4) สิ่งสำคัญยิ่งกว่า คือ ลดการแพร่เชื้อไปยังคนอื่นๆ เราต้องรับผิดชอบต่อสังคม คนที่ติดเชื้อจากเราอาจเป็น “คุณพ่อ คุณแม่ ผู้สูงวัย หรือลูกๆเรา” ถ้าเราประพฤติตนด้วยหลักสุขภาพที่ดี ไม่ว่า ประเทศไทยจะอยู่ระยะใด เราจะไม่ได้รับผลกระทบการระบาดที่รุนแรงครับ
5) การติดต่อโรคโควิด 19 มี 2 กรณี
5.1) ละอองฝอยขนาดใหญ่ (Droplets) คือ การไอ จาม รดกัน ขอย้ำว่า ขณะไม่มีอาการไม่แพร่เชื้อครับ
5.2) สัมผัส (Contact) คือ การสัมผัสละอองฝอยและนำมาเข้าปากหรือจมูก ดังนั้น ในสระว่ายน้ำ หากไม่ได้ สัมผัสใกล้ชิด ไม่แพร่เชื้อ ครับ
สรุปว่า…. เชื้อไม่ได้แพร่โดยลอยละล่อง ไปในอากาศ
*** การป้องกันโรคด้วยการล้างมือ สำคัญที่สุด และเน้นทำความสะอาดสิ่งแวดล้อม ครับ
– คนป่วย เช่น เป็นหวัด ไข้ ไอ สวมหน้ากากอนามัย และล้างมือบ่อย
– คนปกติเน้นล้างมือ สวมหน้ากากอนามัยชนิดผ้าเพียงพอ เวลาเข้าชุมชนคนหนาแน่น (แต่สิ่งสำคัญคือ ล้างมือ ไม่เอามือที่ไม่มั้นใจว่าสะอาด มาจับหน้า เข้าปากหรือจมูก ครับ
6) ผู้ป่วย > 90 % อาการไม่รุนแรง แต่โรคนี้แพร่ง่าย เพราะเป็นโรคอุบัติใหม่ คนเกือบทุกคนไม่มีภูมิคุ้มกันโรค จึงติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้น ต้องช่วยกันลดการแพร่ระบาด ตามมาตรการกระทรวงสาธารณสุข และลดการแพร่ไปยังคนสูงอายุ คนป่วยมีโรคประจำตัว
7) กระทรวงสาธารณสุขขอให้ งด เดินทางไปพื้นที่ระบาดต่อเนื่อง เช่น จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อิหร่าน อิตาลี ….(คามประกาศกระทรวงสาธารณสุข)
8. โรคโควิด-19 ป่วยแล้วหาย ไม่ป่วยอีกได้หรือไม่ ?
– การติดเชื้อโควิด 19 ร่างกายจะมีภูมิต้านทานขึ้น เหมือนฉีดวัคซีน จะป้องกันการติดเชื้อใหม่ และด้วยธรรมชาติของเชื้อโควิด 19 รวมถึงข้อมูลวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผู้ติดเชื้อโควิด 19 จะไม่ป่วยซ้ำ ครับ
ความกลัว ความเห็นแก่ตัว คือ ความทุกข์ของชีวิต
ขอให้มีชีวิต ด้วย “เหตุผล” สติปัญญา ความดี ไม่เบียดเบียน และพอเพียง เหมือนที่พ่อเรา (ในหลวง ร.9) สอนเราและท่านเป็นแบบอย่างที่ดีครับ
นพ. รุ่งเรือง กิจผาติ
ที่ปรึกษาระดับกระทรวง นพ.ทรงคุณวุฒิและโฆษกกระทรวงสาธารณสุข
ขอบคุณข้อมูลจาก : FB นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ