วิธีปฏิเสธอย่างนุ่มนวล และทำให้เราไม่รู้สึกแย่


ความเกรงใจ ที่แบ่งออกเป็นสองประเภทคือ ความเกรงใจ เพราะใส่ใจ กับ ความเกรงใจ เพราะเกรงกลัว ต่างกันตรงที่ หากเราคิดถึงคนอื่น นั่นคือความเกรงใจ แต่หากเราคิดถึงแต่ตัวเอง นั่นคือความเกรงกลัว
คนไทยเป็นคนขี้เกรงใจ มักใจอ่อน ปฏิเสธคนอื่นไม่เป็น ก็คงจะไม่เป็นไร หากความเกรงใจเหล่านั่นจะไม่ได้ทำให้เรารู้สึกแย่หรือเดือดร้อน แต่การจะบอกปัดอย่างแข็งกระด้างก็คงไม่ดี ดังนั้น มาดูวิธี ปฏิเสธ ให้นุ่มนวลจนเกิดความคุ้นชินกันดีกว่า

1. สิ่งที่เราพูด ไม่สำคัญเท่าวิธีที่เราพูด เช่น ระหว่างการถูกโยนทองคำใส่หน้า กับการได้รับเหรียญห้าพร้อมคำพูดที่มีความหมายหวานๆ คุณชอบวิธีไหนมากกว่ากัน คนส่วนใหญ่มักจะชอบการได้รับ มากกว่าการถูกกระทำ แม้ว่ามูลค่าของสิ่งของที่ได้มาจะต่างกันก็ตาม

2. ปฏิเสธโดยเสนอสิ่งที่เทียบเท่าหรือดีกว่ากลับไป

3. มีศิลปะในการพูด มีทักษะในการโน้มน้าว เช่น เข้าไปหาในเชิงการขอคำปรึกษา บอกเล่าปัญหาหรือปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เราไม่สามารถตอบตกลงกับเขาได้ แล้วลองขอคำปรึกษาว่าเราควรทำอย่างไรดี

4. อย่าลืมให้เหตุผล อย่าตอบปฏิเสธแบบห้วนๆ โดยเด็ดขาด ยกเว้นว่าอยากจะตัดขาดกับคนที่เราปฏิเสธ

5. มองตา สัมผัสตัว หรือยิ้มให้

สุดท้ายคือการ ฝึก เพื่อให้เกิดความเคยชิน และ ปฏิเสธ ได้อย่างเป็นธรรมชาติ และฝากไว้ว่า การปฏิเสธคนอื่น เท่ากับการเปิดโอกาสให้ตัวเองได้มีเวลามากขึ้น หรือได้ทำในสิ่งที่ตัวเองต้องการหรือจำเป็นมากขึ้น เป็นต้น