รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
แถลงการณ์ร่วมที่เผยแพร่โดยฝ่ายการทูตโปรตุเกสระบุว่าเมื่อวันจันทร์ (18 พ.ค.) รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศจาก 11 ประเทศในยุโรปเห็นพ้องต้องกันในข้อตกลงว่าด้วยการกลับมาเปิดด่านพรมแดนและฟื้นคืนเสรีภาพในการเดินทางของพลเมืองยุโรป
แถลงการณ์ระบุว่าผู้แทนจากเยอรมนี ออสเตรีย บัลแกเรีย ไซปรัส โครเอเชีย สเปน กรีซ อิตาลี มอลตา โปรตุเกส และสโลวีเนีย ได้ประชุมร่วมกันผ่านทางวิดีโอเพื่อวางแผนฟื้นคืน “เสรีภาพในการเดินทางและการหมุนเวียนโดยอิสระในสหภาพยุโรป (EU)”
คณะรัฐมนตรีฯ เห็นพ้องว่าแม้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) จะยังคงแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง แต่ยุโรปจำเป็นต้องเดินหน้าต่อไปบนพื้นฐานของหลักความได้สัดส่วนและการไม่เลือกปฏิบัติ
การประชุมข้างต้นกำหนดขอบเขต “การสำรวจมาตรการควบคุมพรมแดน การกลับมาดำเนินการขนส่ง และการบริการเชื่อมโยงต่าง ๆ รวมถึงการเริ่มต้นใหม่ของการบริการการท่องเที่ยวและระเบียบด้านสุขภาพในสถานประกอบการโรงแรมอย่างค่อยเป็นค่อยไป”
แถลงการณ์เสริมว่าการเปิดด่านพรมแดนครั้งนี้จะดำเนินการอย่างเป็นลำดับขั้นตอนผ่านการประสานงานร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกอียู เพื่อ “หลีกเลี่ยงความเสี่ยงของการติดเชื้อเพิ่มขึ้นจนไม่สามารถควบคุมได้”
กลุ่มประเทศทั้ง 11 แห่งต่างรวมตัวกันเพื่อ “ทำความเข้าใจมาตรฐานและกระบวนการด้านสุขภาพในลักษณะที่ค่อยเป็นค่อยไปร่วมกัน”
“เราเรียกร้องอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและผู้มีส่วนร่วมภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องปรับใช้มาตรการป้องกันที่เหมาะสมในช่วง 2-3 สัปดาห์ข้างหน้านี้ เพื่อสามารถปกป้องนักเดินทางได้ทันทีที่การฟื้นคืนเสรีภาพในการเดินทางและท่องเที่ยวบรรลุผลสำเร็จ”
“แม้สถานการณ์โรคระบาดใหญ่จะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ แต่เป้าหมายของเราคือการประสานงานร่วมกันเพื่อฟื้นคืนเสรีภาพในการเดินทาง ทำให้ทุกคนสามารถเดินทางท่องเที่ยวได้อย่างปลอดภัย”
ที่มา: สำนักข่าวซินหัว