รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
ช่วงนี้ถึงแม้ออฟฟิศหลายๆ ที่จะเริ่มทดลองกลับไปทำงานตามปกติกันดูบ้างแล้ว แต่ก็ยังมีอีกไม่น้อยที่ยังคงปิดออฟฟิศ และให้พนักงานทำงานอยู่บ้าน ซึ่งการทำงานอยู่บ้านถึงแม้จะมีข้อดีเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการลดการเสียเวลาโดยไม่จำเป็น ไม่ต้องรถติด ไม่ต้องเครียดกับความแออัดวุ่นวาย และสามารถตื่นสายขึ้นมาทำงานได้จริง
แต่เพราะการทำงานที่บ้านนั้นสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ มันไม่ครบครันเหมือนการทำงานที่ออฟฟิศ สังเกตได้ว่าหลายคนจะปวดหลัง ปวดไหล่ และรู้สึกไม่สบายตัวจากการนั่งทำงานที่บ้านนานๆ ซึ่งมันจะส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว ทำให้ร่างกายของคุณปวดเมื่อยและสูญเสียประสิทธิภาพในการทำงาน ส่งผลให้คุณภาพชีวิตลดต่ำลงเช่นกัน
ถ้าคุณมีปัญหาออฟฟิศซินโดรมจากการ Work from Home เรื้อรัง การปรับ 5 จุดสำคัญเหล่านี้ จะช่วยให้สุขภาพของคุณดีขึ้นกว่าเดิม
1. โต๊ะต้องต่างระดับ
โต๊ะมีความสำคัญอย่างมาก และเชื่อมโยงเกี่ยวกับเรื่องของออฟฟิศซินโดรมโดยตรง เพราะโต๊ะที่ใช้ทำงานตามบ้านทั่วไป ส่วนใหญ่จะไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้นั่งพิมพ์งานนานๆ แต่เป็นโต๊ะกินข้าว หรือโต๊ะที่มีระดับเดียว ราบไปชั้นเดียว ตรงนี้ส่งผลเสียทำให้ร่างกายคุณรับภาระหนัก จากการที่วางโน้ตบุ๊ก และต้องก้มหน้าพิมพ์งาน เนื่องจากระดับของจอจะอยู่ต่ำกว่าระดับสายตามาก อีกทั้งการวางแขนที่ไม่ได้ระดับจะยิ่งทำให้ปวดบริเวณไหล่ได้ ดังนั้นทางที่ดีควรซื้อคีย์บอร์ดแยก และหาหนังสือ หรืออะไรมารองให้โน้ตบุ๊กอยู่สูงขึ้นมาในระดับสายตา ก็จะช่วยให้มองได้ชัด ไม่ต้องก้ม และพิมพ์ได้คล่องโดยร่างกายไม่รับภาระหนักเกินไป
2. เก้าอี้ต้องปรับได้
เก้าอี้ทำงานของใครหลายๆ คนจะใช้เป็นเก้าอี้โต๊ะจีน หรือเก้าอี้ธรรมดาๆ ที่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อรองรับการนั่งติดต่อกันเป็นเวลาหลายชั่วโมง ซึ่งตามหลัก Ergonomics หรือตามสรีระร่างกายคนเรานั้น จะเหมาะสมกับเก้าอี้ที่มีส่วนโค้งเว้าเล็กน้อยรองรับรูปของหลัง อีกทั้งเก้าอี้ที่ดีจะต้องสามารถปรับสูงต่ำ หรือเอนได้ เพื่อให้เข้ากับระดับความสูงของแต่ละคน เวลานั่งจะได้หลังตรง เท้าไม่ลอย เพราะท่านั่งแบบนั้นจะทำให้เกิดอาการปวดเมื่อย และหลังได้รับภาระหนักได้
3. เก้าอี้ปรับไม่ได้ ไม่ต้องซื้อใหม่
หากคุณไม่มีเก้าอี้ที่สามารถปรับได้ นั่งแล้วขาลอยจากพื้น และไม่อยากลงทุนซื้อใหม่ การเอาเก้าอี้เล็กๆ อีกหนึ่งตัวมาวางรองไว้ให้เท้าเหยียบ ก็จะช่วยประหยัดงบประมาณในการซื้อเก้าอี้ทำงานได้ เพราะเก้าอี้สำนักงานที่เหมาะกับการทำงานระยะยาวนั้นตัวหนึ่งมีราคาเกือบถึงหลักหมื่นเลยทีเดียว ดังนั้นการประยุกต์ตรงนี้ก็จะช่วยให้คุณประหยัดได้ และมีประสิทธิภาพเช่นกัน
4. ควรมีจอ คีย์บอร์ด และเมาส์แยก สำหรับโน้ตบุ๊ก
คนออฟฟิศส่วนใหญ่มักจะใช้โน้ตบุ๊กเป็นหลักในการทำงาน เพราะมอบความสะดวกสบายให้สามารถทำงานได้ทุกที่ แต่ในความสะดวกนั้นก็แลกมาด้วยภาระหนักที่ร่างกายต้องแบกรับเช่นกัน เพราะโน้ตบุ๊กไม่ได้ออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานอย่างจริงจังตลอดทั้งวัน เนื่องด้วยทัชแพดที่ใช้แทนเมาส์ จะทำให้คุณต้องงอแขนองศาผิดรูป และลำบากกว่าปกติ รวมถึงหน้าจอกับแป้นพิมพ์ที่อยู่ติดกัน ไม่สามารถแยกออกได้ ทำให้คุณต้องก้มหน้าจ้องมองจอตลอดเวลา ภาระจึงตรงอยู่ที่คอ
ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาออฟฟิศซินโดรมขณะทำงานที่บ้าน จึงควรซื้ออุปกรณ์เสริมแยก ไม่ว่าจะเป็นหน้าจอ คีย์บอร์ด หรือเมาส์ เพราะทั้งหมดนี้จะทำให้สรีระในการนั่งของคุณถูกต้อง และไม่ทำให้ร่างกายอยู่ในท่าที่ผิดหลักแบบเดิม
5. แป้นพิมพ์ต่ำ หน้าจอสูง
ระดับของแป้นพิมพ์เองก็สำคัญเช่นกัน พยายามจัดระดับให้แป้นพิมพ์อยู่ต่ำเข้าไว้ ไม่ให้แขนของคุณต้องยกสูง เพราะจะทำให้ไหล่ทำงานหนัก เกิดการเกร็ง และกล้ามเนื้อมีความเครียดสะสมจนปวดล้าได้ ที่สำคัญหน้าจอต้องอยู่ระดับที่สูงกว่าระดับคีย์บอร์ด อาจหาหนังสือหลายๆ เล่มมาวางซ้อนกันเพื่อให้ระดับหน้าจอสูงขึ้นได้เช่นกัน ก็จะทำให้คุณอยู่ในรูปร่างที่ถูกต้องพร้อมทำงานได้แบบต่อเนื่องยาวนาน