รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา จีนได้พบเชื้อไวรัสโควิด-19 บนเขียงปลาแซลมอนในตลาดสดซินฟาตี้ ซึ่งทำให้ทางการต้องเร่งควบคุมสถานการณ์หยุดการแพร่ระบาดของเชื้อโรคด้วยการสั่งปิดตลาดสดหลายแห่งทั่วกรุงปักกิ่ง
รายงานข่าวจากสำนักข่าวต่างประเทศระบุว่า ประชาชนในพื้นที่โดยรอบกว่า 10,000 คน ของตลาดสดซินฟาตี้ต้องเข้ารับการตรวจเชื้อเป็นการเร่งด่วน รวมทั้งตลาดสดอาหารทะเลอื่น ๆ ที่ผู้ขาย และผู้บริโภคก็ต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อเช่นกัน
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้สร้างความวิตกกังวลกับผู้ที่รับประทานอาหารทะเลว่าจะมีความสุ่มเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือไม่ โดยในเรื่องนี้นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. ตอบคำถามเรื่องนี้ว่า การพบเชื้อโควิด-19 ในตลาดอาหารทะเลที่ประเทศจีนว่า มีความจำเป็นที่จะต้องขอให้ประชาชนเน้นรับประทานอาหารที่ผ่านการปรุงสุกในช่วงนี้ เพื่อความปลอดภัยรวมถึงการป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ขณะเดียวกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย ได้ตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยสุ่มตรวจสอบพื้นที่ตลาดสดอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีการติดตาม ตรวจสอบสถานประกอบการผ่านการประเมินผลของผู้เข้าใช้บริการผ่านแอปพลิเคชัน “ไทยชนะ”
เช่นเดียวกับ นายแพทย์ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมคสบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ที่ออกมาพูดถึงเรื่องนี้ว่า ปลาแซลมอนไม่น่าที่จะเป็นพาหะนำโรคได้ และในตัวปลาไม่น่าจะมีเชื้อไวรัสโควิด-19 การตรวจพบเจอเชื้อน่าจะเกิดจากการปนเปื้อนบริเวณหน้าเขียงมากกว่า
ดังนั้น อาจจะสรุปได้ว่าอาหารทะเลยังสามารถรับประทานได้อยู่ แต่ขอให้เป็นในลักษณะของการปรุงสุก ไม่รับประทานแบบดิบ ๆ เพราะจะมีความปลอดภัยจากเชื้อโรคมากกว่า