โครงการพัฒนาวัสดุคอมโพสิต นวัตกรรมสำหรับบานประตูระบายน้ำในงานชลประทาน


ประตูระบายนำในงานชลประทานที่ใช้กันอยู่โดยมากพบว่าผลิตจากวัสดุประเภทโลหะชนิดเหล็กหล่อ หรือเหล็กเหนียว ที่มีความหนาแน่นสูง แข็งแรง แต่มีน้ำหนักมากซึ่งโครงสร้างที่รองรับกับประตูระบายน้ำ จำเป็นที่ต้องมีการออกแบบให้รองรับกับน้ำหนักที่มากขึ้นตามไปด้วย ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตและการก่อสร้างเพิ่มสูงขึ้น ถือเป็นนวัตกรรมสำคัญที่นำมาใช้ในปัจจุบัน

 

 

กรมชลประทานได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนานวัตกรรมดังกล่าว จึงได้จัดตั้งทีมพัฒนาวัสดุคอมโพสิต ซึ่งเป็นวัสดุที่ประกอบด้วยวัสดุเสริมแรงและวัสดุเนื้อพื้นซึ่งมีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ รับแรงได้ดี มีน้ำหนักที่เบาและทนทาน

 

องค์ประกอบของวัสดุคอมโพสิต ได้แก่ วัสดุเนื้อพื้น (Matrix) และวัสดุส่วนเหลือที่กระจายตัวอยู่ในวัสดุเนื้อหลักนั้นเรียกว่า วัสดุเสริมแรง (Reinforcement materials) โดยวัสดุเนื้อพื้นจะทำหน้าที่ห่อหุ้มวัสดุเสริมแรงและทำให้วัสดุคอมโพสิตเป็นรูปร่างขึ้น ส่วนวัสดุเสริมแรงจะทำหน้าที่เสริมคุณสมบัติให้วัสดุเนื้อพื้นและทำให้วัสดุคอมโพสิตมีคุณสมบัติตามต้องการมีค่าความแข็งแรงเชิงกลที่สูงขึ้นและสามารถทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี

 

 

ปัจจุบันได้มีการติดตั้งกรอบและบานประตูระบายน้ำวัสดุคอมโพสิตในพื้นที่ของฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 3 โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตเหนือ จังหวัดปทุมธานี ส่งผลให้การบริหาร จัดการน้ำของกรมชลประทานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ วัสดุคอมโพสิตจึงนับเป็นนวัตกรรมทางเลือกใหม่ของกรมชลประทานในอนาคตอย่างแน่นอน