รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
เมืองเซิ่งโจว ประเทศจีน นำร่องให้พนักงานหยุด 2.5 วันต่อสัปดาห์ หวังกระตุ้นการท่องเที่ยว ลดความเคร่งเครียดในการทำงาน
เรียกได้ว่าทำเอามนุษย์เงินเดือนและพนักงานงานบริษัทบ้านเราออกอาการตาร้อนไปตามๆ กัน เมื่อมีการรายงานข่าวที่สนใจจากทางรัฐบาลของเมืองเซิ่งโจว ประเทศจีน ที่มีนโยบายนำร่องใช้ระบบวันหยุดสุดสัปดาห์นาน 2.5 วัน เพื่อกระตุ้นการบริโภคและส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ
สำหรับบ้านเราโดยปกติบริษัทต่างๆ หรือราชการก็จะหยุดกัน 2 วัน เสาร์-อาทิตย์ ซึ่งเชื่อว่าหลายคนคงคิดตรงกันว่าช่างรวดเร็วเหลือเกิน วันแรกสำหรับการนอนตื่นสาย ซักผ้าทำความสะอาดบ้าน ก็หมดไปแล้ว 1 วัน ส่วนวันอาทิตย์ก็สำหรับไปทำธุระ หรือพักผ่อน รู้สึกตัวอีกทีวันจันทร์ก็มาแล้วทั้งที่ยังไม่พร้อมกลับไปทำงานเลยจริงๆ นี่ยังไม่นับสำหรับบางคนที่หยุดแค่วันเดียวต่อสัปดาห์ อันนี้ยิ่งน่าเห็นใจมากๆ เพราะแทบจะไม่ได้รู้สึกเลยกับการได้ “หยุด”
กลับมาที่เรื่องของการหยุด 2.5 วัน ซึ่งที่จริงแล้วก็คือการได้เพิ่มมาอีกครึ่งวันนั่นเอง เซิ่งโจว เทียบแล้วคือเมืองระดับอำเภอ ในมณฑลเจ้อเจียง ทางตะวันออกของจีน ระบุเหตุผลว่า ต้องการกระตุ้นการบริโภคและส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ จึงเพิ่มวันหยุดให้อีก 0.5 วัน
ซึ่งนอกจากเรื่องเศรษฐกิจแล้ว ยังพ่วงเอาแนวคิดที่ว่า วันหยุดสุดสัปดาห์ 2.5 วันจะทำให้พนักงานมีเวลาในวันหยุดระยะสั้นเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการบริโภคด้านการท่องเที่ยว บรรเทาความตึงเครียดของพนักงาน และปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น
แนวปฏิบัตินี้เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. ไปจนถึง 31 ธ.ค.63 กับพนักงานที่ทำงานในหน่วยงานภาครัฐ องค์กรทางสังคม วิสาหกิจ และสถาบันของรัฐ ได้รับอนุญาตให้เลิกงานตั้งแต่เวลา 12.00 น. ของทุกวันศุกร์ ก่อนกลับมาทำงานตามปกติอีกครั้งในเช้าวันจันทร์ (ครึ่งวันศุกร์ + เสาร์ + อาทิตย์ = 2.5 วัน)
นอกจากนี้ ในหลายภูมิภาคของจีน อาทิ มณฑลเจ้อเจียงและเจียงซี ได้ประกาศใช้ระบบวันหยุด 2.5 วันต่อสัปดาห์ เมื่อไม่นานมานี้เช่นเดียวกัน
จะว่าไปแล้ว มองมุมไหนก็มีแต่ด้านดี ทั้งเรื่องของพนักงานที่ประสิทธิภาพการทำงานจะดีขึ้น ส่งผลต่อบวกต่อบริษัทและระบบเศรษฐกิจโดยรวม หากผู้ใหญ่ในเมืองไทยทั้งภาครัฐและเอกชนสนใจจะเอาแนวปฏิบัตินี้มาใช้บ้าง เชื่อว่าต้องมีแต่คนเห็นด้วยแน่ๆ
ที่มา : สำนักข่าวซินหัว