สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยดูเหมือนว่าจะสามารถควบคุมได้ในระดับหนึ่งดูได้จากยอดจำนวนผู้ติดเชื้อภายในประเทศที่เป็นศูนย์มามากกว่า 1 เดือน รวมถึงการผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ ที่ตอนนี้กำลังเดินหน้าเข้าสู่เฟสที่ 6 แล้ว
การคลายล็อกมาตรการต่าง ๆ เป็นผลดีแก่กิจการที่ถูกสั่งปิดให้กลับมาเปิดบริการอีกครั้ง แม้ว่าธุรกิจจะกลับมาเปิดได้ แต่ทุกอย่างอาจจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ทั้งในเรื่องกำลังซื้อ, พฤติกรรมของผู้บริโภค, มาตรการที่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของภาครัฐฯ ซึ่งอาจจะมีธุรกิจที่ได้ไปต่อ และต้องหยุดกิจการลง เพราะไม่สามารถแบกรับต้นทุนไหว
แม้ภาพรวมเศรษฐกิจยังต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงมากมาย แต่ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ยังมีบางธุรกิจบางกลุ่มที่สามารถกลับมาดำเนินธุรกิจต่อไปได้ โดยเฉพาะธุรกิจที่สอคล้องกับมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมและตอบโจทย์วิถีชีวิตใหม่ รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีอำนวยความสะดวกหรือเพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจ โดยได้แบ่งประเภทธุรกิจที่จะฟื้นตัวและไปต่อได้ออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้
ตามรายงานของศูนย์วิจัยกสิกรไทยเผยว่าธุรกิจที่จะฟื้นตัว และได้ไปต่อมี 3 กลุ่ม ดังต่อไปนี้
1.ธุรกิจร้านอาหาร
แม้ว่าในช่วงการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 การจัดส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่จะได้รับความนิยม และมีแนวโน้มเติบโต แต่หลังคลายล็อกคาดการณ์ว่ายอดสั่งซื้อจะลดลง เนื่องจากผู้บริโภคบางกลุ่มมีความต้องการจะไปนั่งรับประทานอาหารนอกบ้าน โดยร้านอาหารแบบเปิดโล่งที่ตอบโจทย์ความปลอดภัย
อย่างไรก็ตาม ร้านอาหารควรมีบริการทั้งในส่วนหน้าร้าน และเดลิเวอรี่ เพื่อให้เกิดความสมดุลในเรื่องการจัดการทรัพยากร
2.ธุรกิจค้าปลีก
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่าในปี 2563 ยอดค้าปลีกออนไลน์จะเติบโต 8-10% แต่หากดูภาพรวมของธุรกิจค้าปลีก พบว่าหดตัว 5-8% อย่างไรก็ตามปัจจุบันผู้บริโภคนิยมสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากยิ่งขึ้น และบางส่วนเริ่มกลับมาซื้อสินค้าหน้าร้านเหมือนเดิม เหล่านี้จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจค้าปลีกสามารถไปต่อได้
3.ธุรกิจด้านสุขภาพ
เป็นที่ทราบกันดีว่าเทรนด์การรักสุขภาพกำลังมาแรง โดยผู้คนหันมาดูแลตัวเองกันมากขึ้น ซึ่งสินค้าที่มีโอกาสสามารถเจาะกลุ่มนี้ได้ คงหนีไม่พ้น สินค้าประเภทยา สมุนไพร อาหาร เครื่องดื่มเสริมสุขภาพ ตลอดจนเครื่องออกกำลังกาย
4.ธุรกิจที่ช่วยในการปรับตัว
ในส่วนนี้จะเป็นธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องการบริหารจัดการ การสื่อสาร เช่น แอปพลิเคชันด้านการประชุมออนไลน์, คลาวด์จัดเก็บข้อมูล รวมถึงบริการที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลดการใช้แรงงานมนุษย์
5.ธุรกิจท่องเที่ยวระยะใกล้
ธุรกิจท่องเที่ยวเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับอานิสงส์จากการคลายล็อกที่เป็นรายได้หลักของประเทศ รวมถึงรัฐบาลยังมีมาตรการสนับสนุน กระตุ้นให้ผู้คนในประเทศได้ไปท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม แม้จะกลับมาเดินทางได้ตามปกติ แต่ผู้คนยังคงเลือกเดินทางในระยะใกล้ ๆ เพื่อเน้นความปลอดภัยเป็นหลักก่อน
6.ธุรกิจรถเช่า
ผู้บริโภคมีแนวโน้มจะใช้รถยนต์ส่วนตัว ตลอดจนเช่ารถในช่วงของการเดินทางเพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับตนเอง ซึ่งธุรกิจรถเช่าจะได้รับประโยชน์ในส่วนนี้ อย่างไรก็ตาม รถยนต์ที่ให้บริการควรครอบคลุมความต้องการของลูกค้า มีรถยนต์ให้เลือกหลากหลาย เช่น รถเก๋ง รถตู้
7.ธุรกิจการค้าเกี่ยวกับปัจจัยการผลิต
ธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยด้านการผลิต ประกอบด้วย เมล็ดพันธุ์, ปุ๋ย, ยาปราบศัตรูพืช ยังคงมีความจำเป็นสำหรับเกษตรกรที่ใช้สำหรับการเพาะปลูก โดยเฉพาะพืชที่มีราคาดีอย่าง ไปสู่พืชที่ยังมีความต้องการและมีราคาดี อาทิ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หรือผลไม้ เช่น ทุเรียน
8.ธุรกิจรับจ้างตามไร่นา
ธุรกิจที่ใช้เครื่องจักรให้บริการตามไร่ยังคงมีความสำคัญกับเกษตรกรในช่วงเวลาที่ขาดแคลนแรงงานต่างด้าว และแรงงานท้องถิ่นยังไม่สามารถกลับมาทำงานได้อย่างเต็มรูปแบบ
9.ธุรกิจตู้น้ำมันหยอดเหรียญ
ด้วยกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง และจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินอย่างระมัดระวัง จึงทำให้พวกเขามองหาบริการที่ตอบโจทย์ ซึ่งตู้น้ำมันหยอดเหรียญก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าสนใจไม่น้อย ทั้งราคาการบริการที่เริ่มต้นไม่สูงเท่ากับการเติมน้ำมันตามปั๊มทั่วไป