เจาะแนวโน้ม 3 กลุ่มธุรกิจยุค New Normal ‘กลุ่มเติบโต-ทรงตัว-เฝ้าระวัง’


Krungthai COMPASS เสนอการวิเคราะห์ผลกระทบจากปัจจัย New Normal ต่อนัยทางธุรกิจว่าธุรกิจใดจะมีโอกาสเติบโตโดดเด่น หรือธุรกิจใดมีความเสี่ยงที่จะเผชิญความท้าทายสูง เพื่อให้ภาคธุรกิจได้เตรียมตัวคว้าโอกาส พร้อมทั้งวางแผนรับมือ โดยได้จัดระดับผลบวกที่แต่ละธุรกิจจะได้รับจากปัจจัยด้าน Drivers ซึ่งประกอบด้วยการสนับสนุนจากภาครัฐและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับ Healthcare แล้วนามาประกบกับระดับผลกระทบด้านลบจากปัจจัย Blockers ซึ่งได้แก่การพึ่งพาอุปสงค์ต่างประเทศและการมีภาระหนี้สูง ทำให้สามารถแบ่งกลุ่มธุรกิจได้เป็น 3กลุ่ม คือ

1. กลุ่ม เติบโต: มีปัจจัยบวกสูงและปัจจัยขวางกั้นต่ำ
2. กลุ่ม ทรงตัว: มีปัจจัยบวกสูงและปัจจัยขวางกั้นสูง หรือมีปัจจัยบวกต่ำ และปัจจัยขวางกั้นต่ำ
3. กลุ่ม เฝ้าระวัง: มีปัจจัยบวกน้อยและปัจจัยขวางกั้นสูง

บางธุรกิจแย่ลงชั่วคราว เพราะโควิด-19 ขณะที่บางธุรกิจก็ส่อแววแย่ลงต่อเนื่องใน New Normal โดย Krungthai COMPASS ได้พิจารณาทิศทางธุรกิจในช่วงก่อนและระหว่างวิกฤตโควิด-19 ร่วมด้วย เพื่อแยกระหว่างปัญหาระยะสั้นในช่วงความผิดปกติปัจจุบันจากวิกฤตโควิด-19 ออกจากปัจจัยพื้นฐานของธุรกิจนั้นๆ เพราะบางธุรกิจอาจเผชิญปัจจัยลบเป็นทุนเดิมอยู่แล้วในช่วงก่อนหน้าวิกฤตโควิด-19 ดังนั้น ในอนาคตแม้สถานการณ์โควิด-19จะคลี่คลายลง แต่ธุรกิจนั้นๆ อาจมีทิศทางที่ไม่สดใสต่อเนื่อง โดยจากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติและปัจจัยแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจ สามารถสรุปทิศทางธุรกิจในช่วงก่อนและระหว่างวิกฤตโควิด-19 ได้ดังนี้

กลุ่ม เติบโต คือกลุ่มที่มีโอกาสขยายตัวสูง จึงต้องเร่งเครื่องคว้าโอกาส เพราะเป็นธุรกิจที่สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภคในมุมที่เกี่ยวเนื่องกับ Healthcare และเทคโนโลยี ขณะเดียวกันก็จะได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ เช่น การกำหนดให้เป็นอุตสาหกรรม S-Curve รวมถึงการเป็นสาขาธุรกิจที่มีแนวโน้มจะอยู่ในแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจตามกรอบวงเงิน 4 แสนล้านบาท โดยธุรกิจที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ธุรกิจบริการด้านเทคโนโลยี เคมีภัณฑ์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเคมีชีวภาพ) สุขภาพและการแพทย์ และธุรกิจก่อสร้างและวัสดุก่อสร้างที่อิงกับโครงการก่อสร้างของภาครัฐ ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่าธุรกิจในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีทิศทางเติบโตดีเป็นทุนเดิมตั้งแต่ก่อนเผชิญวิกฤตโควิด-19 อยู่แล้ว ทำให้เมื่อสถานการณ์โควิด-19 ทุเลาลง และมีปัจจัย New Normal หนุนเข้ามาเพิ่ม ธุรกิจกลุ่มนี้จึงจะยิ่งมีโอกาสเติบโต

กลุ่ม ทรงตัว หรือกลุ่มที่มีดีและร้ายปะปนกันไป ดังนั้นจึงต้องเร่งปิดความเสี่ยง โดยธุรกิจในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ได้รับปัจจัยบวกจากการเกี่ยวโยงกับแนวโน้มการใส่ใจสุขภาพ (Healthcare) และเทคโนโลยี ตลอดจนได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาล เช่น อยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ (S-Curve) ซึ่งได้แก่ ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม พลังงาน อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักร และท่องเที่ยว อย่างไรก็ดี ธุรกิจเหล่านี้ เผชิญแรงกดดันจากการพึ่งพิงตลาดต่างประเทศ ซึ่งบั่นทอนการเติบโตในอนาคต

Krungthai COMPASS มองว่าการกระจายกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่ต้องคำนึงถึง พร้อมทั้งขยายขอบเขตธุรกิจให้สอดรับ New Normal มากขึ้น เพื่อให้กลับไปเติบโตได้เฉกเช่นก่อนวิกฤตโควิด-19เช่น ธุรกิจอาหาร อาจยกระดับสู่ธุรกิจอาหารที่ช่วยเสริมสุขภาพ (Functional Food) รวมถึงการให้น้าหนักมากขึ้นกับธุรกิจอาหารเกษตรอินทรีย์ (Organic Food) และอาหารทางการแพทย์ (Medical Food) ซึ่งถูกจัดเป็นกลุ่มเติบโต เนื่องด้วยแรงขับเคลื่อนจากความใส่ใจสุขภาพของผู้บริโภค นอกจากนั้น ธุรกิจในกลุ่มทรงตัวนี้ ยังรวมถึงธุรกิจที่ขาดทั้งปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยขวางกั้นที่ชัดเจน ซึ่งคือ ธุรกิจค้าปลีก โดยเฉพาะค้าปลีกในรูปแบบดั้งเดิมหรือรูปแบบ Offline ทำให้ผู้ประกอบการควรปรับตัวสู่ช่องทาง Online มากขึ้น

กลุ่ม เฝ้าระวัง เผชิญความท้าทายสูง การลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นลง และดึงเทคโนโลยีมาเสริมทัพเพื่อแสวงหาโอกาสใหม่ๆ คือกลยุทธ์สำคัญ โดยเฉพาะธุรกิจที่อิงกับตลาดต่างประเทศ ทั้งในมิติอุปสงค์และราคาในตลาดโลก รวมถึงธุรกิจที่ได้รับแรงกดดันจากภาระหนี้สูง ทั้งหนี้ของธุรกิจและกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เช่น ธุรกิจสิ่งทอ เครื่องหนัง เครื่องประดับ รถยนต์ โลหะ บรรจุภัณฑ์ (ยกเว้นบรรจุภัณฑ์ประเภทกระดาษ ซึ่งยังมีแนวโน้มเติบโตตามธุรกิจ e-Commerce) ธุรกิจขนส่ง อสังหาริมทรัพย์ และเกษตร ยกเว้นธุรกิจเกษตรที่เกี่ยวกับ Medical Rubber, Biopharmaceutical และ Biocosmetics ซึ่งอยู่ในกลุ่มเติบโต แตกต่างจากธุรกิจเกษตรอื่นๆ ในภาพรวม ตามอานิสงส์ของบทบาทของอุตสาหกรรม Healthcare

Krungthai COMPASS แนะนำให้ธุรกิจที่อยู่ในกลุ่มนี้ควรลดการพึ่งพาตลาดในประเทศใดประเทศหนึ่งมากเกินไป และให้ความสำคัญกับการลดต้นทุน และการยกระดับการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยี เช่น ธุรกิจเกษตร ควรมุ่งสู่การเกษตรแม่นยา (Precision Agriculture) โดยอาศัยเทคโนโลยี IoT

แล้วมาต่อยอดความรู้ และโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจได้ที่ Smart SME Expo 2020 ปีนี้จัดขึ้นระหว่าง 29 ตุลาคม ถึง 1 พฤศจิกายน 2563 ฮอลล์ 9-10 อิมแพ็คเมืองทองธานี ภายใต้แนวคิด New Normal Together #ชี้ช่องรวย #ที่เดียวจบพบทางรวย

‘มางานนี้มีโอกาสแมชชิ่งธุรกิจไปโตในประเทศ CLMV ด้วยนะ’

ลงทะเบียนเข้างานได้ที่ https://expo.smartsme.co.th/register/index.php