งานวิจัยคาดการณ์อัตราการใช้จ่ายเงินผ่านสมาร์ทโฟนในเอเชียทะลุ 3 เท่าในปี 2025


“ดีลอยต์” เผยการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้การชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟนในทวีปเอเชียเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลเติบโต และพัฒนาขึ้นไปอีกขั้น คาดปี 2025 จะเพิ่มมากกว่า 3 เท่า

บริษัท ดีลอยต์ เผยแพร่รายงาน “คลื่นลูกใหม่! อนาคตที่สดใสทางดิจิทัลในอาเซียนและเอเชียใต้” ในงานประชุม “Bund conference) ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในเซี่ยงไฮ้ ระหว่างวันที่ 24-26 ก.ย. โดยระบุว่าโรคโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศในอาเซียน และเอเชียใต้พัฒนาขึ้นไปอีกขั้น และคาดว่าปี 2025 ยอดการใช้จ่ายผ่านโทรศัพท์มือถือในเอเชียอาจเพิ่มขึ้นมากกว่า 3 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2019

“ดีลอยต์” ชี้ให้เห็นว่าขณะที่เผชิญกับข้อได้เปรียบของจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ในการเป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจดิจิทัล ประเทศอาเซียนและเอเชียใต้ใช้การชำระเงินดิจิทัลเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างจริงจัง โดยสิงคโปร์และมาเลเซียเป็น “ผู้นำ” ของชีวิตแบบดิจิทัลในภูมิภาคนี้ด้วยการสนับสนุนที่แข็งแกร่งของรัฐบาล และโครงสร้างพื้นฐานที่ดี ส่วนประเทศไทยก็มีรายได้เฉลี่ยต่อหัว และอัตราการเข้าถึงสมาร์ทโฟนค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นผลดีในแง่การสร้างกิจกรรมบนโซเชียลมีเดีย การซื้อของออนไลน์ และการชำระเงินทางดิจิทัล

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ประเทศอาเซียน และเอเชียใต้ร่วมมือกับบริษัทชำระเงินผ่านมือถือของจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เพื่อสร้างแอปพลิเคชันชำระเงินดิจิทัลของตนเอง เช่น ทัชแอนด์โก หรืออาลีเพย์เวอร์ชันมาเลเซีย, ทรูมันนีของไทย, จีแคชของฟิลิปปินส์ เป็นต้น

อีกทั้ง ในช่วงไวรัสแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 แอปพลิเคชันเหล่านี้ก็มีบทบาทในการระดมเงินบริจาคแบบไร้การสัมผัส นอกจากนี้ แอปฯ อีซีไพซาในปากีสถาน และบีแคชในบังกลาเทศยังเปิดฟังก์ชันระดมเงินอุดหนุนแบบไร้การสัมผัสของรัฐบาลท้องถิ่น เพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยที่ต้องเผชิญกับความยากลำบาก

ผลการวิจัยของ “ดีลอยต์” ยังพบอีกว่า ผู้คนในกลุ่มอายุต่าง ๆ ใน 8 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย บังกลาเทศ และปากีสถาน แม้จะอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการชำระเงินแบบดิจิทัล แต่ก็มีพื้นที่กว้างสำหรับการเติบโต

สำหรับเหตุผลที่ทำให้อัตราการใช้จ่ายผ่านมือถือเพิ่มขึ้นมาจาก 3 ปัจจัยด้วยกัน ดังต่อไปนี้
1. มีคนหนุ่มสาวจำนวนมาก สัดส่วนของประชากรอายุต่ำกว่า 40 ปี ในอาเซียน และเอเชียใต้ คือร้อยละ 65.4 และร้อยละ 70.2 ตามลำดับ ในขณะตัวเลขนี้ในยุโรปและอเมริกาเหนือคือร้อยละ 46.8 และร้อยละ 52.1

2. แนวโน้มของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลส่งเสริมโอกาส และศักยภาพของประชาชนค่อนข้างมาก เพราะเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรผู้ใหญ่ 400 ล้านคนในอาเซียนไม่มีบัญชีธนาคาร

3. เมื่อดูจากการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตบนมือถือในภูมิภาคเอเชียนับว่ามีพื้นฐานดีที่สุด โดยมีประชากรจำนวน 2 ใน 3 ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ

ที่มา: สำนักข่าวซินหัว