รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
องค์การอนามัยโลก เผยคนญี่ปุ่นอัตราอ้วนต่ำสุดในโลก แม้ไม่นิยมออกกำลังกาย ชี้ เพราะเดินเก่ง และพิถีพิถันเรื่องการบริโภคอาหารในแต่ละมื้อ
ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก พบประชากรกว่า 1,000 ล้านคนทั่วโลก มีน้ำหนักเกิน และมากกว่า 300 ล้านคนเป็นโรคอ้วน อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่า คนญี่ปุ่นมีอัตราอ้วนต่ำที่สุดในโลก
ในปี 2551 รัฐบาลญี่ปุ่น ได้ออกกฎหมายคุมเข้ม รอบเอวของชาย-หญิง ในวัย 40-74 ปี กว่า 56 ล้านคน จากกฎหมายดังกล่าว เราจึงสังเกตได้ว่าแทบจะไม่เห็นคนญี่ปุ่นที่อ้วนลงพุงเลย
หากวัดตามค่า BMI หรือดัชนีมวลกาย พบว่ามีคนญี่ปุ่นเพียง 3.6 % เท่านั้น ที่มีค่า BMI เกินค่ามาตรฐานสากลของโรคอ้วน คือ มากกว่า 30 ขณะที่ชาวอเมริกันมีค่า BMI ดังกล่าวเกินถึงร้อยละ 32.0
ขณะที่ข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขไทย พบว่า ในปี 2561 ค่าดัชนี BMI คนไทย เกินค่ามาตรฐาน และมีภาวะอ้วนร้อยละ 31.5 และท้วมร้อยละ 19.2
จากสถิติชี้ว่า แม้คนญี่ปุ่นจะไม่ชอบออกกำลังกาย ด้วยเหตุผลเรื่องของเวลา แต่คนญี่ปุ่นพิถีพิถันเรื่องการบริโภคอาหารในแต่ละมื้อ อีกทั้งปัจจัยสำคัญ คือ พฤติกรรมการเดินเป็นกิจวัตร โดยเฉลี่ยแล้วคนญี่ปุ่น เดินมากถึงวันละ 5 กม. หรือคิดเป็นวันละ 6,500 ก้าว ซึ่งผู้ชายญี่ปุ่นในวัย 20-50 ปี จะเดินมากถึงวันละ 8,000 ก้าว
สำหรับการเดินเป็นกิจวัตรดังกล่าว เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่สนับสนุน การวางผังเมืองที่เป็นระบบ และระบบขนส่งสาธารณะที่ครอบคลุมทั่วถึง และพื้นที่เอื้ออำนวยต่อการเดิน
ย้อนกลับมาที่ประเทศไทย พื้นที่การเดินอย่าง “ฟุตบาท” หรือ “ทางเท้า” กลับไม่เอื้ออำนวยในกับคนเมืองสักเท่าไหร่ บ่อยครั้งที่เราจำเป็นต้องลงมาเดินบนถนน เพื่อหลีกทางให้กับ ร้านค้า เสาไฟฟ้า สิ่งของที่วางขวาง รถจักรยาน และมอเตอร์ไซค์ ที่อาศัย “ฟุตบาท” เป็นทางด่วน
ขณะที่ระบบขนส่งสาธารณะมีอัตราค่าบริการค่อนข้างสูง ยังไม่ใช่ปัจจัยหนุนเสริม ให้ “การเดิน” เป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนเมือง