รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
ปกติหากไปตามร้านซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป เราจะพบเห็นสินค้าที่วางจำหน่าย ไม่ว่าจะเป็น ผัก ผลไม้ อาหารกระป๋อง ที่มีความสด ใหม่ เป็นจุดเด่นสำหรับดึงลูกค้าเข้าร้าน แต่ที่ SirPlus ร้านซุปเปอร์มาร์เก็ตในเยอรมนีกับทำเรื่องตรงกันข้าม เมื่อแบรนด์นำเสนอสินค้าที่ใกล้หมดอายุ, หมดอายุแล้ว ตลอดจนสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานมาวางจำหน่ายให้กับลูกค้า
ร้านซุปเปอร์มาร์เก็ต SirPlus ทำงานใกล้ชิดกับพาร์ทเนอร์ในอุตสาหกรรมอาหาร จึงทำให้พวกเขาเห็นสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน เป็นส่วนเกินของฟาร์ม, บริษัทโลจิสติกส์, ผู้ค้าส่ง และผู้ค้าปลีกเป็นจำนวนมาก โดยซัพพลายเออร์ได้ให้สินค้าเหล่านี้กับทางร้าน เพื่อไม่ให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจำกัดขยะ
ดังนั้น ทางร้านจึงเกิดไอเดียนำสินค้าที่เหลือใช้เหล่านี้มาวางจำหน่ายให้กับลูกค้าในราคาพิเศษ รวมถึงสินค้าที่หมดอายุ แต่ยังรับประทานได้ก็ถูกนำมาวางขายเช่นกัน ซึ่งเป็นเรื่องถูกกฎหมายในเยอรมนี โดย SirPlus จะต้องแจ้งรายละเอียดให้ลูกค้าทราบก่อน
สำหรับไอเดียนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะลดปริมาณขยะอาหารที่มีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยนโยบายนี้จะช่วยลดขยะที่มาจากอาหารได้ 2,000 ตันต่อปี สอดคล้องกับข้อมูลผลสำรวจที่ระบุว่าสินค้าเกษตรราว 14% มักได้รับความเสียหายก่อนที่จะมาถึงซุปเปอร์มาร์เก็ต อาจจะมาจากปัจจัยด้านการขนส่ง, แพคเกจจิ้ง, การจัดเก็บที่ยังไม่ดีพอ
องค์กรสหประชาชาติประเมินว่าขยะที่มาจากอาหารจะมีมากถึง 1.3 พันล้านตันต่อปี ทำให้โลกสูญเสียอาหารคิดเป็น 1 ใน 3 ของอาหารที่ผลิตได้ ตัวเลขนี้แสดงให้เห็นผู้คนมากกว่า 820 ล้านคน กำลังหิวโหยขาดอาหาร
อาจจะกล่าวได้ว่า ร้านซุปเปอร์มาร์เก็ต SirPlus กำลังสร้างความแตกต่าง ปรับเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับอาหารส่วนเกิน เพื่อสร้างการตระหนักรู้ถึงปัญหาขยะที่มาจากอาหาร โดยร้านซุปเปอร์มาร์เก็ตรายดังกล่าวจะขยายโมเดลนี้ออกไปตามสาขาอื่น ๆ ทั่วเยอรมนี นอกเหนือจากสาขาในกรุงเบอร์ลินที่เริ่มให้บริการไปแล้ว
ที่มา:
https://www.weforum.org/agenda/2020/02/supermarket-food-waste-surplus-germany