รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเสตต์หรือเอ็มไอที (MIT) ในสหรัฐอเมริกา ได้ค้นพบคุณสมบัติใหม่ของ พลาสติก “โพลีเอทิลีน” ที่จะกลายมาเป็นวัสดุสำหรับการผลิตเครื่องนุ่งห่มแห่งอนาคต
“Svetlana Boriskina” นักวิจัยจากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลของ MIT ได้นำเอา โพลีเอทิลีน จากถุงพลาสติก ที่มีความบางและเบา มาปั่นเป็นเส้นใย ก่อนนำมาผลิตเป็นผ้าเนื้อเนียนที่มีน้ำหนักเบา ซึ่งมีคุณสมบัติดูดซับและระบายน้ำได้เร็วกว่าผ้าฝ้ายไนลอน และโพลิเอสเตอร์
นอกจากนี้ จากการวิจัยยังพบว่า ผ้าโพลีเอทิลีน อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในวงจรชีวิตน้อยกว่าผ้าฝ้าย และผ้าไนลอน เนื่องจากสร้างแรงจูงใจในการรีไซเคิลถุงพลาสติก และผลิตภัณฑ์โพลีเอทิลีนอื่น ๆ ให้เป็นสิ่งทอที่สวมใส่ได้ และฝ้ายยังต้องใช้ที่ดินปุ๋ย และน้ำจำนวนมากในการเจริญเติบโตและได้รับการบำบัดด้วยสารเคมีที่รุนแรง
“เราจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เมื่อมีคนโยนถุงพลาสติกลงทะเล แต่พลาสติกเหล่านั้นนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างง่ายดาย โดยเราสร้างโพลีเอทิลีนให้เป็นรองเท้าผ้าใบหรือเสื้อได้ ซึ่งเป็นเรื่องสมเหตุสมผลที่จะนำขยะพลาสติกเหล่านี้กลับมาใช้ใหม่” Svetlana Boriskina กล่าว
นอกจากนี้ทีมนักวิจัย ยังได้ร่วมกันค้นคว้าวิธีการนำเอาผ้าโพลีเอทิลีนมาผสมผสานกับเครื่องแต่งกายกีฬาที่มีน้ำหนักเบาระบายความร้อนได้ดี เพื่อออกแบบเป็นชุดทหาร หรือแม้แต่ชุดอวกาศ เนื่องจากพวกเขาค้นพบว่า “โพลีเอทิลีน” สามารถ ป้องกันรังสีเอกซ์ที่เป็นอันตรายในอวกาศได้