วันอังคาร, พฤษภาคม 14, 2567

เทรนด์เทคโนโลยีที่ธุรกิจท่องเที่ยวต้องห้ามพลาด

by Smart SME, 1 มีนาคม 2565

เข้าสู่เดือนสุดท้ายของไตรมาสแรกปี 2565 แล้ว แต่เรายังไม่เห็นข่าวดีในแวดวงเอสเอ็มอีมากนัก ข่าวสารที่ผ่านมายังวนเวียนอยู่กับข่าวด้านลบ โดยเฉพาะอัตราคนติดเชื้อไวรัสโควิด สายพันธุ์โอมิครอน ที่ยังเพิ่มขึ้นทุกวัน แถมถูกซ้ำเติมความเชื่อมั่นหนักขึ้นไปอีก กับกรณีความขัดแย้งระหว่าง รัสเซีย กับ ยูเครน

แน่นอนว่าทั้งโอมิครอน และความขัดแย้งของรัสเซียและยูเครน ส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจประเทศไทยตั้งอยู่บนความเสี่ยงอย่างมาก โดยเฉพาะความหวังว่าภาคการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นเครื่องจักรสำคัญในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจภายในปลายปีนี้ อาจไปได้เป็นไปตามที่คาดหวังไว้

ก่อนหน้านี้สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้เปิดเผยตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาประเทศไทย เฉลี่ยอยู่ที่ 2 แสนคนต่อเดือน ซึ่งยังห่างไกลอีกมากจากเป้าหมายที่วางไว้ทั้งปี 10 ล้านคน

บรรดาผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ซึ่ง 80-90 เปอร์เซ็นต์เป็นเอสเอ็มอี ได้เรียกร้องให้ภาครัฐสร้างความสมดุลระหว่างมาตรการสาธารณสุข และการเปิดกิจกรรมทางการท่องเที่ยว เอื้ออำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศให้มากขึ้น เพื่อแข่งขันกับตลาดท่องเที่ยวประเทศอื่น

ผู้ประกอบการหลายคน เสนอว่าหากภาครัฐต้องการฟื้นเศรษฐกิจประเทศ ก็ควรให้ความสำคัญกับภาคท่องเที่ยวมากกว่านี้ เพราะการท่องเที่ยวคือเสาหลักในการสร้างรายได้เข้าประเทศ โดยเร่งออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ระยะสั้น และระยะยาวฟื้นฟูให้สามารถยืนอยู่ได้

ผู้ประกอบการนำเสนอเรื่องที่น่าสนใจประเด็นหนึ่ง คือ การช่วยส่งเสริมให้ภาคการท่องเที่ยวเข้าถึงเทคโนโลยี เพื่อช่วยในการลดต้นทุนและเข้าถึงตลาดนักท่องเที่ยวทั่วโลก จากปัจจุบันผู้ประกอบการท่องเที่ยวไทย พึ่งพาแพลตฟอร์มการตลาดของต่างประเทศมากเกินไป

หากจะหยิบยกความสำคัญ เกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านการท่องเที่ยวมาเป็นตัวอย่าง วันนี้ในต่างประเทศ มีการนำเทรนด์เทคโนโลยีสำคัญๆมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างน่าสนใจ เช่น เทคโนโลยี AR (Augmented reality) เทคโนโลยีที่ผสานระหว่างโลกแห่งความจริงกับโลกเสมือนจริงเข้าไว้ด้วยกัน และ VR (Virtual reality) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการจำลองภาพให้เสมือนจริง แบบ 360 องศา วันนี้มีสถานที่ท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหารในต่างประเทศ เริ่มลงทุนใช้เทคโนโลยีทั้ง 2 อย่าง เพื่อสร้างประสบการณ์เสมือนให้กับลูกค้า กระตุ้นให้เกิดความต้องการมาท่องเที่ยวหรือใช้บริการจริงในภายหลัง

รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีมาใช้เสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน หรือความปลอดภัยด้านสาธารณสุขให้กับลูกค้า เช่นระบบจดจำใบหน้า ระบบการชำระเงินแบบไร้การสัมผัส ซึ่งสอดรับกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวในยุค New Normal เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม การใช้เทคโนโลยีกับการท่องเที่ยวในหลายกรณีของประเทศไทย ยังมีอุปสรรคสำคัญคือโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่อำนวยมากนัก และการลงทุนเทคโนโลยีใหม่ๆ จำเป็นต้องมีการลงทุนที่สูง บางครั้งทางออกคือการสร้างแพลตฟอร์มกลาง เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า ซึ่งต้องให้ภาครัฐเป็นฝ่ายขับเคลื่อน หรือสนับสนุน

อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีไม่ได้ห่างไกลจากภาคการท่องเที่ยวเลย ดังนั้นเอสเอ็มอีในภาคท่องเที่ยว จึงจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตที่อาจเปิดกว้างขึ้น

ปัจจุบันมีหน่วยงานที่สนับสนุนความรู้ทางเทคโนโลยี ที่เอสเอ็มอีสามารถเข้าไปรับคำปรึกษามีหลายแห่ง เช่น Depa หรือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มีหลักสูตรอบรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีสมัยใหม่มากมาย รวมทั้งมหาวิทยาลัยในหลายจังหวัด ก็ให้บริการวิชาการด้านเทคโนโลยีฟรี

เอสเอ็มอี ภาคท่องเที่ยวควรเริ่มเรียนรู้การนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ทางธุรกิจ ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวเสียตั้งแต่วันนี้ เพราะโลกยุคดิจิทัลหมุนเร็ว ใครช้าคนนั้นคือผู้แพ้

ผดุงศักดิ์   เหล่ากิจไพศาล
ผดุงศักดิ์ เหล่ากิจไพศาล ผู้อำนวยการฝ่าย content PMG Corporation Co.,Ltd. อดีตนายกสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ และอดีตบรรณาธิการข่าวเศรษฐกิจเนชั่นทีวี

Mostview

4 สิ่งของคนเลี้ยงลูกประสบความสำเร็จไม่เคยสอนตอนเมื่อลูกยังเล็ก

ครอบครัวถือเป็นสถาบันหลักสำคัญในการสั่งสอนลูกว่าจะเป็นคนอย่างไร โดยช่วงเวลาที่ผ่านมาเราได้ยินว่าควรทำอย่างไรกับลูกของเรา และเรื่องไหนที่ไม่ควรทำกับลูกของเรา

เศรษฐกิจไม่ดี! KFC-Pizza Hut ในจีน ดึงกลยุทธ์สุดฤทธิ์เรียกลูกค้า เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด

Yum China Holdings เจ้าของ KFC และ Pizza Hut เชนร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดในจีน วางแผนที่จะเปิดสาขาเพิ่มในพื้นที่ที่ยังไม่เคยเปิด โดยใช้กลยุทธ์ขายเมนูในราคาต่ำเพื่อดึงลูกค้าเข้ามาในจำนวนมาก

แม็คโคร-โลตัส ไตรมาสแรกปี 2567 ทำรายได้รวม 127,020 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2,481 ล้านบาท

บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) หรือ CPAXT เผยผลประกอบการในช่วงไตรมาส 1/67 พบว่ามียอดรายได้รวม 127,020 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6% เมื่อเทียบกับปีก่อน มีกำไรสุทธิ 2,481 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15% เมื่อเทียบกับปีก่อน

เกษตรกรเวียดนามไม่ทนหันปลูกทุเรียนส่งออกจีนแทนปลูกกาแฟที่ขาดแคลน แถมราคาถูกกว่า

ราคากาแฟโรบัสต้าทั่วโลกพุ่งแตะระดับสูงสุดเมื่อเดือนที่ผ่านมา โดยเวียดนามซึ่งเป็นผู้ผลิตเมล็ดกาแฟรายใหญ่ที่สุด กำลังต่อสู้กับภัยแล้ง รวมถึงเกษตรกรได้เปลี่ยนมาปลูกทุเรียนแทน

CARS24 ธุรกิจจำหน่ายรถยนต์มือสองยุติดำเนินกิจการในไทยอย่างเป็นทางการ

CARS24 ธุรกิจซื้อ-ขาย-เทิร์น รถยนต์มือสอง ได้ยุติกิจการในประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อย โดยในแถลงการณ์ของบริษัทระบุว่า

SmartSME Line