รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
ปัญหามลพิษกลายเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงกันเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะความเลวร้ายทางอากาศที่มาจากฝุ่น PM 2.5 จากปล่อยควันที่มาจากรถยนต์ และจักรยานยนต์ จนนำมาสู่ปัญหาต่อสุขภาพของผู้คนที่ต้องสูดควันพิษเหล่านี้เข้าไปในทุก ๆ วัน
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หลายประเทศเริ่มมองหาพลังงานทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกับที่ไต้หวัน รัฐบาลไต้หวันประกาศแผนยุติการขายจักรยานยนต์เชื้อเพลิงฟอสซิล และให้ประชาชนหันมาใช้สกู๊ตเตอร์แทน
สภาพัฒนาแห่งชาติของไต้หวัน (NDC) เปิดโร้ดแมปที่จะมีการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ภายในปี 2050 โดยส่วนหนึ่งของแผนงานที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายคือส่งเสริมการพัฒนาขนส่งสีเขียวเพิ่มเป็น 2 เท่า และยกเลิกรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยแก๊ส
ตามรายงานระบุว่า รัฐบาลไต้หวันจะเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดของรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ที่ถูกออกแบบมาให้นั่งได้ไม่เกิน 9 คน ในสัดส่วน 30% ภายในปี 2030 และ 60% ภายในปี 2035
ในขณะเดียวกัน สัดส่วนของสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าในไต้หวัน คาดการณ์ว่าจะมีสัดส่วน 35% ภายในปี 2030 และ 70% ภายในปี 2035 ด้วยเป้าหมายที่วางเอาไว้ของรัฐบาลไต้หวัน ทำให้มีการออกนโยบายส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า สนับสนุนให้ประชาชนหันไปใช้งานสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าแทน
อาจจะกล่าวได้ว่า ไต้หวันเหมาะกับการใช้ยานพาหนะอย่างสกู๊ตเตอร์ในการเดินทางในเมือง เนื่องจากมีลักษณะเล็ก เบา คล่องตัว ทำให้การเดินทางไปไหนมาไหนเป็นไปอย่างสะดวก ที่ผ่านมา ชาวไต้หวันก็มีการใช้สกู๊ตเตอร์ในการเดินทางอยู่พอสมควรจากการเข้ามาของ Gogoro สตาร์ทอัพ เมื่อปี 2011 ที่เข้ามาติดตั้งสถานีสลับแบตในกรุงไทเป และเมืองใหญ่ ทุก ๆ ระยะทาง 5 กิโลเมตร ทั้งหมด 1,820 สถานี ซึ่งขั้นตอนการใช้งานนั้นไม่ได้ยุ่งยากอะไร เพียงแค่นำแบตเตอรี่ที่ใช้แล้วมาเสียบในสลอท และแบตเตอรี่ที่มีไฟฟ้าเต็มจะเด้งออกมา ซึ่งกระบวนการนี้จะสลับกันไปมาให้กับคนที่เดินทางมาเปลี่ยนแบตเตอรี่
นอกจากนี้ กองทุนพัฒนาแห่งชาติของรัฐบาลไต้หวัน ยังเข้ามาสนับสนุน รับผิดชอบในเรื่องของการจัดหาพื้นที่ และค่าใช้จ่าย อีกทั้งในส่วนของผู้ให้บริการยังมีการแข่งขันที่มีผู้เล่นรายอื่น ๆ เสนอบริการจากการนำนวัตกรรมเข้ามาปรับใช้ ซึ่งผลประโยชน์ก็มาตกกับผู้ใช้บริการที่มีทางเลือกในการใช้งาน ไม่เพียงเท่านั้น ไต้หวันยังมีเป้าหมายที่ชัดเจน คือจะหยุดซื้อขายจักรยานต์เชื้อเพลิงฟอสซิลให้ได้ถาวรภายในปี 2035
สิ่งที่เราเห็นจากไต้หวันในเรื่องนี้ คือรัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจนในการสนับสนุนให้ประชาชนหันมาใช้สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าอย่างจริงจัง ทั้งในเรื่องของสถานีเปลี่ยนแบตที่มีครอบคลุมทุกพื้นที่ สะดวกต่อการใช้งาน แน่นอนว่าหากทุกอย่างพร้อม ประชาชนพร้อมที่จะทำตาม
ที่มา: focustaiwan, taiwannews, amcham