ทุกสายตาจับจ้อง! อินโดฯ เล็งซื้อน้ำมันราคาถูกจากรัสเซีย ไม่สนข้อเรียกร้องให้คว่ำบาตร


อินโดนีเซียเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีแผนซื้อน้ำมันจากรัสเซีย ท่ามกลางความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในยูเครน ซึ่งเป็นตัวจุดชนวนการโต้เถียงระดับโลกในหลายประเทศว่าจะแสดงออกเกี่ยวกับท่าทีที่เกิดขึ้นอย่างไร

เช่นเดียวกับชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีความต้องการซื้อน้ำมันราคาถูกเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่เป็นปัญหาอยู่ ณ ตอนนี้ สอดคล้องกับรัสเซียที่เปลี่ยนเป้าหมายเรื่องการขายพลังงานไปยังภูมิภาคอื่น นอกเหนือจากยุโรป ซึ่งทวีปเอเชียก็เป็นอีกตลาดใหม่ที่รัสเซียต้องการ

ตอนนี้มีชาติในอาเซียนอย่างอินโดนีเซียที่ให้ความสนใจมีความต้องการซื้อน้ำมันจากรัสเซีย ด้าน Joko Widodo ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ให้ความสำคัญกับปัญหาภายในประเทศมาเป็นระยะเวลายาวนาน โดยเน้นไปที่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการสร้างอุตสาหกรรมแปรรูปแร่

อย่างไรก็ตาม อินโดนีเซียกำลังถูกจับตามองเป็นอย่างมากเกี่ยวกับท่าทีที่ให้ความสนใจที่จะซื้อน้ำมันราคาพิเศษจากรัสเซีย แม้ว่าเรือบรรทุกน้ำมัน Pertamina International Shipping ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ Pertamina บริษัทน้ำมัน และแก๊สของอินโดนีเซีย ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะส่งน้ำมันดิบจากรัสเซียมายังอินโดนีเซียหรือไม่ โดยปัจจุบันเรือมีพิกัดอยู่ที่นอกชายฝั่งตะวันตก และกำลังมุ่งหน้าไปยังจีน

ขณะที่รัฐมนตรีพลังงานอินโดนีเซีย กล่าวว่าในปีที่ผ่านมาประเทศยังไม่มีการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย แต่ตอนนี้ดูเหมือนว่าอินโดนีเซียกำลังจะเดินไปสู่จุดนั้น Nicke Widyawati ซีอีโอของ Pertamina บริษัทน้ำมันรายใหญ่ ได้ขออนุญาตฝ่ายนิติบัญญัติในการซื้อน้ำมันจากรัสเซียในราคาพิเศษ

ในทางการเมือง ไม่มีปัญหาระยะยาวหากบริษัทที่ดีลด้วยไม่ถูกคว่ำบาตร โดย Widyawati เผยว่าเราได้หารือการชำระเงิน ซึ่งอาจจะทำธุรกรรมผ่านอินเดีย

ด้าน Yuddy Chrisnandi ผู้เชี่ยวชาญและอดีตเอกราชทูตอินโดนีเซียในยูเครน กล่าวกับสื่อท้องถิ่นว่าการซื้อน้ำมันจากรัสเซียหมายความว่า อินโดนีเซียกำลังช่วยเหลือทางอ้อมในเรื่องอาวุธสงคราม ระเบิด อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ เพื่อเดินหน้าบุกยูเครนต่อไป
แต่ก็มีอีกด้านหนึ่งที่แสดงความเห็นด้วยเกี่ยวกับแผนของ Pertamina ว่าเป็นไอเดียที่ดี อินโดนีเซียต้องมีความกล้าที่จะไม่ถูกควบคุมโดยประเทศตะวันตก

ทั้งนี้ ตัวแทนของ Pertamina ออกมากล่าวว่าแผนการซื้อน้ำมันจากรัสเซียยังคงอยู่ในขั้นตอนการดำเนินงานภายใน ซึ่งต้องรอบทสรุปอีกทีว่าจะเป็นเช่นไร

ที่มา: asia.nikkei