ในภาวะที่เรียกว่าข้าวยากหมากแพงที่ทุกคนเผชิญกันมาร่วม 2 ปีกับ โควิด-19 รวมไปถึงช่วงต้นที่มีการขัดแย้งกันและเกิดสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ผลกระทบที่ตามมาก็เห็นได้ชัดในระลอกแรก คือราคาน้ำมันหรือราคาพลังงานสูงขึ้นและกระทบต่อต้นทุนของผู้ประกอบการทุกคน ในภาวะลักษณะเช่นนี้ผู้ประกอบการทุกคนก็จะกระทบต่อรายได้ ที่ต้นทุนมันเพิ่มขึ้น
แน่นอนว่าการฟื้นตัวของธุรกิจแต่ละธุรกิจนั้นจะมีการฟื้นตัวที่แตกต่างกัน ถ้าใครอยู่ในอุตสาหกรรมที่กำลังฟื้นตัวก็จะมีอัตราการเติบโตฟื้นฟูได้เร็ว หรือคนที่เปลี่ยนแปลงไปยังช่องทางออนไลน์หรือดิจิตอลนั้นก็ได้รับการตอบรับรายได้ที่เข้ามาถึงไม่เหมือนเดิมแต่เพิ่มขึ้นจากสิ่งที่ใช้ประกอบการมาก่อน แต่ส่วนหนึ่งที่เห็นได้และบ่นกันมากคือยอดขายลดลงหรือเรียกว่าไม่เคยเป็นมาก่อน จะมีบางส่วนที่เห็นได้ชัดเลยคือธุรกิจร้านอาหาร สถานประกอบการที่พักหรือโรงแรม ถึงแม้มีดัชนีหลายตัวที่ว่ากำลังจะฟื้นตัวแต่รายได้ยังไม่เท่าเดิมเหมือนปีก่อน 2562 ลักษณะการฟื้นตัวอย่างนี้ก็เรียกว่าเป็นตัว K ซึ่งมีขาขึ้นก็คือคนที่ฟื้นตัวได้เร็วก็เติบโตทางด้านรายได้แต่ที่แน่ ๆ คนที่ไม่สามารถปรับตัวเปลี่ยนแปลงตัวเองก็เป็น K ขาลง
ดังนั้น สิ่งที่กระทบของคนขาลง คือมีภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้นส่วนคนที่เติบโตพร้อมกับกิจการก็จะฟื้นตัวอาจจะต้องหาเงินสภาพคล่องกู้ยืมเงินเพิ่มเติม ซึ่งก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า SME ขนาดเล็กจากกู้ยืมในฐานะนิติบุคคลบางส่วนก็เป็นคนธรรมดาหรืออาจจะกู้ยืมในฐานะบุคคลธรรมดาควบคู่กันไปด้วย ภาพรวมเป็นอย่างนี้ในส่วนของ SME เมื่อปี 2564 ราว ๆ ประมาณ 3.93 ล้านล้านบาท ซึ่งจัดเป็นจำนวนลูกหนี้ประมาณ 300,000 กว่ารายส่วนลูกหนี้ที่ใช้หนี้กู้ยืมบุคคลธรรมดารวมอยู่ในหนี้ครัวเรือนและประกอบธุรกิจ ก็จะตกประมาณราว ๆ 2.64 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนประมาณ 18.1 ของหนี้ครัวเรือนทั้งหมด เป็นการคำนวณของธนาคารแห่งประเทศไทย ถ้ารวมหนี้ทั้งสองก้อนนั้น 6.57ล้านบ้านบาท ซึ่งถือว่าจำนวนนี้เป็นจำนวนที่มากพอสมควร
จะเห็นได้ชัดว่าหนี้อยู่ภายใต้มาตรการความช่วยเหลือจากธนาคารแห่งประเทศไทย ประมาณราว ๆ 16% ของทั้งหมด ซึ่งจะตกประมาณ2.4ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นหนี้เดิมและก็ได้รับผลกระทบจากโควิด กลุ่มนี้ก็จะต้องมีมาตรการในการที่จะต้องแก้ไขหนี้เดิม ส่วนที่เหลือนั้นจะมีบางส่วนได้รับอานิสงส์จากการเติบโตจากการฟื้นตัวจากการดำเนินงานต่าง ๆ ของมาตรการที่มีผลกระทบตรงนี้
สำหรับหนี้ที่เราเรียกกันว่าหนี้เดิม จะต้องแก้ไขหัวใจที่สำคัญคือจะต้องปรับจำนวน การผ่อนชำระรายเดือนของเดิมที่เคยกำหนดไว้ ให้ผ่อนเท่าที่จะผ่อนได้ ซึ่งขณะนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย สามารถรับภาระการผ่อนหนี้เดิมที่มีภาระหนี้อยู่ โดยใช้การขยายเวลาของสัญญาเดิมที่มีอยู่ทั้งหมด โดยให้ค่างวดใหม่น้อยลงกว่าเดิมในปัจจุบัน และเพิ่มขึ้นเมื่อมีรายได้กลับเข้ามาใหม่ โดยขยายเวลาให้กับทุกคนในการที่จะดำเนินงานเรื่องนี้ เนื่องว่าช่วยได้ก็จะแก้ปัญหาตามความเหมาะสมและฟื้นตัวมากขึ้น โดยจะเห็นได้ชัดว่า เช่น หนี้บัตรเครดิตที่มีอยู่ ร้อยละ 10 % จากวงเงินค้างอยู่ ปรับใหม่เหลือ 5 % ในปี 2566 ก็จะปรับเป็นจำนวน 8 % ใครที่มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อเดือน ก็สามารถขยายเวลาการกู้ได้ถึง 2 เท่าของเงินเดือน
ทั้งนี้ พยายามสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการที่เป็นลูกหนี้ ก็จะได้รับผลกระทบจากทางจูงใจไม่ให้ติดชำระหนี้ โดยพยายามทำให้การชำระหนี้ตามที่สมควร แต่ถ้าคนไหนไปไม่ไหว หรือจะดำเนินการอย่างไร ก็สามารถหยุดพักชำระหนี้ชั่วคราวตามระยะเวลาที่ได้รับผลกระทบจากการหยุดกิจการต่าง ๆ ได้
ดังนั้นการแก้ไขหนี้ในลักษณะแก้ไขจำนวนหนี้ที่เรียกว่าผ่อนเท่าที่ไหว ก็จะทำให้ผู้ประกอบการดำเนินการแก้ไขได้ดี โดยมีการขยายระยะเวลาสัญญาให้ยาวขึ้น ผ่อนเท่าที่ไหวและสามารถที่จะสะท้อนการชำระหนี้ รายได้ และพยายามจะยืดหยุ่นคือความไม่แน่นอนของรายได้ หนี้ในอนาคต รายได้ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย แต่สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องระวังต้องทำคือ เมื่อได้รับผลกระทบก็ต้องรวดเร็วในการเจรจากับสถาบันการเงินเจ้าหนี้ แล้วก็ลักษณะหลายอย่างนั้นเดี๋ยวนี้ก็เพิ่มช่องทางที่สะดวก เช่น การใช้แอปพลิเคชันทางด้านมือถือก็สามารถปรับโครงสร้างหนี้ได้ ที่สำคัญผู้ประกอบการทั้งหลายจะต้องเตรียมข้อมูลหรือเอกสารต่าง ๆ ในด้านผลกระทบรายได้ หรือภาระค่าใช้จ่ายให้ครบถ้วน เพียงพอต่อการตัดสินใจของเจ้าหนี้ หรือสถาบันการเงินต่าง ๆ
ในวันที่ 6 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทยก็ประกาศการรวมหนี้ของธนาคารใหญ่ 13 ธนาคาร รวมไปถึงบริษัทในเครือ คือการเอาสินเชื่อบ้านมารวมกับหนี้สินเชื่อบัตรเครดิตหรือสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน นอกจากจะลดภาระจำนวนการผ่อนแล้ว ยังลดภาระดอกเบี้ยด้วย ก็จะเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการทั้งหลายลดภาระการผ่อนชำระหนี้ลงไปได้มาก ดังนั้นผู้ประกอบการทั้งหลายต้องใช้ความยืดหยุ่นตรงนี้ติดต่อเจ้าหนี้และสถาบันการด้วยความรวดเร็ว ยิ่งเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี ส่วนในการขยายกิจการต่าง ๆ จะต้องเผื่อเหลือเผื่อขาดการบริหารความเสี่ยง
ทุกครั้งที่กู้ยืม ผมอยากเรียนให้ผู้ประกอบการ SME ที่ได้อ่านบทความนี้ได้ทราบว่าถ้าเราจะใช้บัตรเครดิตในการใช้เงินกู้ วันนี้วงเงิน 100,000 บาท ดอกเบี้ย 16 % ซึ่งปกติเขาจะคำนวณให้ผ่อนชำระ 5% คือประมาณ 5,000 บาทต่อเดือน ซึ่งหมายความว่าเราต้องมีรายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้วต้องไม่น้อยกว่า 2 เท่า หรือไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท ถ้าหากจะกู้กับธนาคารรัฐที่เป็นเงินกู้ประกอบกิจการ อาจจะได้รับการผ่อนปรนมากขึ้น วงเงิน 100,000 บาท ผ่อน 7 ปี ดอกเบี้ย 5 % จะผ่อนประมาณ 1,500 บาทต่อเดือน จะถูกกว่าการใช้สินเชื่อบุคคล แต่แน่นอนต้องเผื่อว่าหลังจากมีรายได้และหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้ว อย่างน้อยต้องมีจำนวนเงินที่จะผ่อนชำระ 2 เท่า หรืออย่างน้อย 2,000 บาท ถ้าจะขยายกิจการอย่างน้อยต้องมีเงินเหลือหนึ่งวัน 500 บาท ต่อ 100,000 บาท เพื่อจะได้มีเงินสำรองที่จะผ่อนคืนธนาคารและตัวชี้วัดอีกอย่างหนึ่งคือ ถ้ากู้มา 100,000 บาท ต้องพยายามหารายได้ มากกว่า 3-4 เท่า หรือต้องมีรายได้อย่างน้อย 300,000 – 400,000 บาทต่อปี ถึงจะพอต่อการชำระคืนในการขยายกิจการของเรา