หวั่นตามรอยศรีลังกา! บังกลาเทศสั่งตัดไฟเฉลี่ยวันละ 4 ชั่วโมง เพื่อให้พลังงานเพียงพอต่อการผลิตไฟฟ้า


ดูเหมือนว่าประเทศในเอเชียใต้กำลังประสบปัญหาวิกฤตขาดแคลนพลังงานอย่างหนัก หลังก่อนหน้านี้เราได้เห็นกรณีที่ประเทศศรีลังกามาแล้ว และหลังจากนี้จะมีอีกหลายประเทศในแถบนี้ที่จะเดินตามรอยมา

เช่นเดียวกับบังกลาเทศที่ปัญหาเรื่องของพลังงานกำลังเล่นงานอยู่ตอนนี้ โดยช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ประชาชนต้องอยู่กับสถานการณ์ไฟดับเป็นระยะ ๆ จนกลายเป็นกิจวัตรประจำวันไปในที่สุด

รัฐบาลบังกลาเทศจำเป็นต้องตัดไฟฟ้าทั่วประเทศ เฉลี่ยวันละ 3-4 ชั่วโมง เพื่อบริหารการผลิตพลังงานกระแสไฟฟ้าให้เพียงพอต่อการใช้งาน แต่สถานการณ์อาจดูเลวร้ายไปกว่านี้ เมื่อคณะกรรมการพัฒนาพลังงานบังกลาเทศ (BPDB) ประเมินว่าหลายพื้นที่อาจไม่มีไฟฟ้าใช้เป็นระยะเวลาถึง 10-13 ชั่วโมงต่อวัน

ไม่เพียงเท่านั้น รัฐบาลบังกลาเทศยังตัดสินใจหยุดการผลิตไฟฟ้าจากโรงงานที่ใช้น้ำมันดีเซล เป็นเวลา 1 วัน ในทุก ๆ สัปดาห์

ปัญหาวิกฤตด้านพลังงานของบังกลาเทศเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย โดยแบ่งเป็น 4 เรื่องหลัก ดังต่อไปนี้

1.สภาพอากาศร้อนในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในบังกลาเทศที่ส่งผลให้มีอัตราการใช้ไฟฟ้าสูงขึ้นกว่าเดิม

2.บังกลาเทศไม่มีสัญญา LNG ระยะยาวกับประเทศใด ๆ และยังต้องซื้อ LNG ในตลาด Spot Market

3. ตลาด Spot Market ซึ่งเป็นการซื้อขายสินทรัพย์ที่จะมีการตกลงส่งมอบ และชำระเงินทันที พบว่ามีราคาสูงขึ้น ตั้งแต่เดือนมกราคม 2022 หลังการคว่ำบาตร LNG ต่อรัสเซีย โดยราคา MMBTU LNG เพิ่มขึ้นจาก 3 ดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 14 ดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นผลมาจากรัฐบาลยุโรปมองหาทางเลือกอื่นนอกเหนือจากการจัดหาก๊าซของรัสเซีย ขณะเดียวกันราคาน้ำมันดิบเบรนท์ เพิ่มขึ้น 23% ในเดือนพฤศจิกายน 2021 อยู่ที่ 82 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และพุ่งสูงถึง 130 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในต้นเดือนมีนาคม

4.บังกลาเทศขาดแคลนสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในธนาคาร โดยธนาคาร BPC ประสบปัญหาในการนำเข้าปิโตรเลียมตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งข้อมูลของธนาคารบังกลาเทศ เผยว่าค่านำเข้าเชื้อเพลิง เติบโตถึง 111% ระหว่างเดือนกรกฎาคม -พฤษภาคม ของปี 2020-21 และ 2021-22 เหล่านี้จำเป็นต้องใช้เงิน แต่บังกลาเทศกำลังประสบปัญหาขาดแคลนเงินสด

5.ตามรายงานของ BSS รัฐบาลบังกลาเทศจะต้องจ่ายเงิน 280 พันล้านตากา ในการอุดหนุนอุตสาหกรรมไฟฟ้า อีกทั้งยังต้องเพิ่มเงินอีก 250 พันล้านตากา เพื่อครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการนำเข้า LNG สำหรับการผลิตไฟฟ้า แต่ด้วยราคาพลังงาน และราคาปุ๋ยในตลาดต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ทำให้รัฐบาลบังกลาเทศจะได้รับเงินอุดหนุนสูงเป็นประวัติการณ์มากกว่าปีงบประมาณก่อนหน้าถึง 54%

ที่มา: tbsnewsdhakatribune