คนสิงคโปร์เผชิญปัญหาค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น แต่รายได้ไม่เพิ่มตาม พบค่าใช้จ่ายต่อรายพุ่งขึ้น 64%


ประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญปัญหาในเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพ ไม่เว้นประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างสิงคโปร์ที่ตอนนี้ค่าใช้จ่ายครัวเรือนของประชาชนได้เพิ่มขึ้น แต่รายได้ไม่ได้ปรับขึ้นตาม

รายงานของ DBS Bank โดยวิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้ารายย่อยจำนวน 1.2 ล้านราย เพื่อทำความเข้าใจผลกระทบ และผลกระทบต่อการเติบโตของราคาในเมือง ซึ่งพบว่าผู้บริโภคใช้จ่ายมากขึ้นเมื่อเทียบกับรายได้ด้วยอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 64% ในเดือนพฤษภาคม จากเดิมที่ 59% เมื่อเทียบกับปีก่อน

เรื่องที่น่าเป็นห่วงไปมากกว่านั้น กลุ่มคนรายได้น้อยมีรายจ่ายเติบโตกว่ารายรับ 5.6 เท่า จึงทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมุ่งให้ความสำคัญ ช่วยเหลือคนกลุ่มนี้ก่อน

Irvin Seah นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของ DBS กล่าวว่า จากมุมมองของนโยบาย เงินดอลลาร์สิงคโปร์ที่แข็งค่าจะช่วยรักษาอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่ต่ำ โดยธนาคารกลางสิงคโปร์ได้เข้มงวดนโยบายการเงินถึง 4 ครั้ง เมื่อปีที่ผ่านมา และทำแพคเกจทางการคลังเพื่อช่วยเหลือกลุ่มคนระดับล่าง

“แม้นโยบายจะช่วยได้ แต่เรื่องนี้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลในการรับผิดชอบบริหารการเงินของพวกเขา และบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากเงินเฟ้อ” Seah กล่าว

ข้อมูลที่น่าสนใจจากการวิเคราะห์ฐานลูกค้า พบว่า 40% ของฐานลูกค้ามีรายได้เติบโตน้อยกว่า 5% ในปีจนถึงเดือนพฤษภาคม ขณะเดียวกันราคาผู้บริโภคกลับปรับตัวสูงขึ้น 5.6% ในช่วงเวลาเดียวกัน

สำหรับหมวดหมู่ของอัตราเงินเฟ้อที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญสูงสุด คือ 1.ที่อยู่อาศัย 2.อาหาร และ 3.การเดินทาง ที่คิดเป็น 63% ค่าใช้จ่ายของลูกค้า DBS โดยอัตราการเติบโตของราคาค่าใช้จ่ายตัวเลขเพิ่มเป็นสองหลักให้หมวดหมู่ต่าง ๆ

ที่มา: bloomberg

#Smartsme #สิงคโปร์ #เงินเฟ้อ