รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
ประเทศไทย ถือว่าเป็นดินแดนแห่งสวรรค์ของคนต่างชาติที่อยากเข้ามาใช้ชีวิต ด้วยปัจจัยต่าง ๆ ที่ดึงดูด ไม่ว่าจะเป็น ค่าครองชีพ, สิ่งอำนวยความสะดวก, สภาพแวดล้อมธรรมชาติ เหล่านี้จึงทำให้เมืองไทยกลายเป็นจุดหมายปลายทางของชาวต่างชาติหลายคน
เช่นเดียวกับเรื่องราวของ Jesse Schoberg ที่วางแผนหลีกหนีออกจากเมือง Elkhorn รัฐ Wisconsin ซึ่งเป็นสถานที่เกิด และเติบโตเมื่อตอนที่เจ้าตัวยังเป็นวัยรุ่น สำหรับเมืองดังกล่าว เป็นเมืองเล็ก, เงียบ และไม่มีกิจกรรมที่น่าผจญภัยมากเท่าไหร่
“ผมรู้ตัวเสมอว่าต้องการออกไปสำรวจโลก” Schoberg กล่าวกับ CNBC
ผู้ประกอบการวัย 41 ปีรายนี้ ออกไปอยู่ต่างประเทศเป็นระยะเวลาถึง 14 ปี มากกว่า 40 ประเทศ และยังไม่มีแผนที่จะเดินทางกลับสหรัฐฯ เร็ว ๆ นี้
ย้อนกลับในช่วงวัยเรียน Schoberg เอาชนะเส้นทางเดิม ๆ ของการเข้าเรียนมหาวิทยาลัย และทำงานแบบหาเช้ากินค่ำ พร้อมกับเลือกย้ายไปอยู่ที่ Madison เมื่ออายุ 19 ปี โดยฝึกฝนทักษะการเขียนโค้ด และช่วยเหลือธุรกิจในการออกแบบ และพัฒนาเว็บไซต์
พอมาถึงอายุ 27 ปี Schoberg เริ่มรู้สึกกระสับกระส่าย พร้อมกับตัดสินใจย้ายไปอยู่เมืองใหม่ และหาอพาร์ทเมนท์ใน Austin และ Denver แต่จิตใจของเขายังลอยไปที่เมืองปานามาซิตี้ เมืองหลวงของปานามา ซึ่งเป็นเมืองพักผ่อนที่ดีที่สุดในชีวิต
เจ้าตัวได้ย้ายไปปานามาในปี 2008 และอยู่ที่นั่นเป็นระยะเวลา 6 ปี ก่อนที่จะแพ็คกระเป๋าเดินทางไปเที่ยวรอบโลก ในฐานะนักเทคโนโลยีเร่ร่อน แต่การเดินทางไปตามประเทศต่าง ๆ นั้น Schoberg เรียกกรุงเทพฯ ว่า “บ้าน” โดยเขาย้ายมาประเทศไทยในเดือนธันวาคม 2021 และอยู่อพาร์ตเมนต์แบบหนึ่งห้องนอนกับ Janine คู่หมั้น
“คุณภาพชีวิตในประเทศไทยเปรียบเทียบกับที่สหรัฐฯ ดีมากกว่า 90% และปราศจากความเครียด นอกจากนี้ยังมีความง่ายในไลฟ์สไตล์แบบหรูหรา” Schoberg กล่าว
การมาเป็นนักเทคโนโลยีพเนจรนั้น Schoberg สร้างอาชีพน่าเกรงขาม ในฐานะผู้ประกอบการ และพัฒนาเว็บ ได้รับเงินเดือน 6 หลักในแต่ละปี แต่ความสำเร็จของเขาไม่ได้เกิดเพียงชั่วข้ามคืน ครั้งแรกที่เจ้าตัวย้ายไปที่ปานามา Schoberg นำบริษัทออกแบบ และพัฒนาเว็บที่ก่อตั้งในสหรัฐฯ ตามไปด้วย จนยกระดับขึ้นมาเรื่อย ๆ
การย้ายมาสู่กรุงเทพ Schoberg สามารถใช้จ่ายเงินมากขึ้นในการเดินทาง, รับประทานอาหาร และทำงานอดิเรกอื่น ๆ รวมถึงการออมเงิน การอยู่ที่นี่ดีกว่าในสหรัฐฯ เป็นอย่างมาก ทั้งระดับการของบริการที่แห่งนี้ดีกว่าที่สหรัฐฯ เช่น โรงภาพยนตร์ รถยนต์ที่ดีกว่า จนลืมประเทศบ้านเกิดไปเลย
สำหรับ Schoberg และคู่หมั้น มีรายได้ต่อปีอยู่ที่ 230,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 8,155,800 บาท) โดยมีค่าใช้จ่ายรวมกันต่อเดือน 2,700 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 95,742 บาท) แบ่งเป็นค่าเช่าห้อง และค่าน้ำ ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายจะหมดไปกับการสั่งอาหารคิดเป็นเงิน 1,900 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 67,374 บาท)
ที่มา: cnbc