รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
“แฮเรียต” สุนัขพันธุ์อิงลิช ค็อกเกอร์สสแปเนียลอังกฤษ คือหนึ่งในสัตว์เลี้ยงที่ถูกเจ้าของทอดทิ้ง เนื่องจากวิกฤตค่าครองชีพที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้ชาวอังกฤษจำเป็นต้องเลิกเลี้ยงสัตว์เลี้ยงของพวกเขา
“แฮเรียต” ถูกพบขณะวิ่งไปตามท้องถนนในกรุงลอนดอน หลังเจ้าของปล่อยทิ้งออกจากรถยนต์ และเป็นหนึ่งในสุนัขจำนวน 206 ตัว และแมวจำนวน 164 ตัว ที่กำลังได้รับความดูแลจากศูนย์ฟื้นฟูที่ดำเนินการโดยองค์กรการกุศลสัตว์ Battersea
เรื่องราวนี้เกิดขึ้นคล้ายคลึงกันที่ศูนย์อื่น ๆ ทั่วประเทศ โดยบันทึกการส่งคืนสุนัข และแมวบางส่วน มองว่าเกิดจากค่าครองชีพที่พุ่งสูงนับตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1960 ที่บีบบังคับให้เจ้าของสัตว์เลี้ยงจำนวนมากตัดสินใจเกี่ยวกับค่าอาหาร และค่ารักษาที่เพิ่มขึ้นจนไม่สามารถจัดการได้อีกต่อไป
Steve Craddock ผู้บริหารศูนย์ในลอนดอนตะวันตกเฉียงใต้บอกกับ Reuters ว่าเรากังวลว่าจะมีเหตุผลที่เพิ่มขึ้นที่ผู้คนจะนำสุนัขมาทิ้งไว้ที่ Battersea ไม่เพียงเท่านั้น สัตว์เลี้ยงแปลก ๆ เช่น งู, กิ้งก่า ก็มีราคาแพงเกินไป เนื่องจากพวกมันต้องการความร้อน และแสงสว่างมากกว่าปกติ
เช่นเดียวกับราชสมาคมเพื่อการป้องกันการทารุณสัตว์ (RSPCA) กล่าวกับ Reauters ว่า งู 3 ตัว รวมทั้งงูเหลือมขนาด 8 ฟุต (2.4 เมตร) ถูกทิ้งลงในปลอกหมอนนอกร้านสัตว์เลื้อยคลาน
เทรนด์การเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเพิ่มขึ้นในช่วงการล็อกดาวน์โควิด-19 ของอังกฤษซึ่งเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อในเรื่องความรักสัตว์ แต่มาถึงปัจจุบันผู้คนต้องเผชิญกับค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้น ทำให้ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพิ่มขึ้นตามไปด้วย นำมาสู่การทิ้งสัตว์เลี้ยง เพราะดูแลต่อไปไหว
Dogs Trust ซึ่งมีสุนัข 692 ตัว ที่ต้องการบ้านใหม่ในศูนย์ 21 แห่งทั่วประเทศ กล่าวว่าครั้งล่าสุดที่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นต้องย้อนกลับไปในช่วงปี 2008 จากวิกฤติการณ์การเงิน
Adam Clowes ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการของ Trust กล่าวว่าวิกฤตค่าครองชีพได้คืบคลานเข้ามาหาเร็วขึ้นกว่าที่ใคร ๆ คาดการณ์ไว้ นั่นคือแรงกดดันที่องค์กรการกุศลกำลังพิจารณาว่าควรขยายกองทุนช่วยเหลือฉุกเฉินหรือไม่
ที่มา: indianexpress