รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
ซีอีโอชาวอินเดียถูกวิพากษ์วิจารณ์หลังเจ้าตัวแนะนำพนักงานใหม่ที่สมัครเข้ามาทำงานให้ทำงาน 18 ชั่วโมงต่อวัน ในช่วง 4-5 ปีแรกของการทำงาน
Shantanu Deshpande ผู้ก่อตั้ง Bombay Shaving Company ขอให้พนักงานรุ่นใหม่ “บูชา” การทำงาน แต่เรื่องกลับถูกมองอีกมุมที่ไม่เห็นด้วยบนสื่อโซเชียลมีเดียที่ระบุว่าคำพูดของเขาเป็นการสนับสนุนวัฒนธรรมการทำงานแบบ Toxic ที่เป็นการเอาเปรียบลูกจ้าง นำมาสู่สภาวะความเครียด แม้ว่าอินเดียมีกฎหมายแรงงานที่แข็งแกร่ง แต่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องดำเนินการให้มากกว่านี้เพื่อนำไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
โดยประเด็นนี้เกิดขึ้นหลังจาก Shantanu Deshpande โพสต์ข้อความผ่าน Linkedin ว่า เมื่อคุณอายุ 22 ปี และเข้ามาทำงานใหม่ ๆ ควรทุ่มเทให้กับสิ่งที่ทำ พร้อมใช้เวลากับงาน 18 ชั่วโมงต่อวันไป 4-5 ปี
หากย้อนกลับไปในปี 2020 ก็มีคำพูดลักษณะนี้ออกมาเช่นกัน โดย Narayana Murthy ผู้ร่วมก่อตั้ง Infosys ต้องเจอคำกระแสวิพากษ์วิจารณ์เมื่อแนะนำให้คนอินเดียทำงานอย่างน้อย 64 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ใน 2-3 ปี เพื่อชดเชยการชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19
การทำงานที่มากจนเกินไปนำมาสู่ความเครียดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ข้อมูลจาก LinkedIn เรื่องดัชนีความเชื่อมั่นแรงงานที่เผยแพร่ในปี 2020 ชี้ให้เห็น 2 ใน 5 ของผู้ทำงานในอินเดียประสบกับความเครียด และความวิตกกังวลที่เพิ่มขึ้น