รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
“ระบบบำนาญ” เป็นสิ่งที่คาดหวังของประชาชนในประเทศนั้น ๆ ว่าจะเป็นสวัสดิการที่จะคอยดูแลในยามแก่ชรา และยิ่งการที่หลายประเทศกำลังเดินทางเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุด้วยแล้ว จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าหากระบบบำนาญดีย่อมเสริมสร้างคาวมั่นคงในชีวิตช่วงวัยเกษียณได้
แต่การจัดอันดับของ Mercer บริษัทบริหารสินทรัพย์จากสหรัฐฯ ที่ทำการจัดอันดับระบบบำนาญของประเทศต่าง ๆ รวม 44 ประเทศ ผ่านรายงาน Mercer CFA Institute Global Pension Index (MCGPI) ประจำปี ครั้งที่ 14 โดยดูเหมือนว่าจะไม่ใช่เรื่องน่ายินดีสักเท่าไหร่ เมื่อประเทศไทยถูกจัดอยู่ในระดับ D รั้งท้ายของประเทศที่ถูกจัดอันดับทั้งหมด
สำหรับประเทศที่มีระบบบำนาญที่ดีที่สุดในโลก 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.ไอซ์แลนด์ มีคะแนน 84.7 (ระดับ A), 2.เนเธอร์แลนด์ มีคะแนน 84.6 (ระดับ A), 3.เดนมาร์ก มีคะแนน 82.0 (ระดับ A), 4.อิสราเอล มีคะแนน 79.8 (ระดับ B+) และ 5.ฟินแลนด์ มีคะแนน 77.2 (ระดับ B+)
โดยการให้คะแนนดัชนีชี้วัดระบบบำนาญโลกจะให้ความสำคัญ 3 เรื่อง ได้แก่ 1.ความเพียงของบำนาญ คือผลตอบแทน สิทธิประโยชน์ การสนับสนุนของภาครัฐที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของรายได้หลังเกษียณ 2.ความยั่งยืน คือการเติบโตทางเศรษฐกิจ การมีส่วนร่วมของประชากรผู้สูงอายุ 3.ความครบถ้วน ด้านกฎหมาย ความคุ้มครอง
ที่มา: mercer