คุณรู้รึเปล่าว่า
• APEC ย่อมาจาก Asia-Pacific Economic Cooperation หรือ “กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก” ประกอบด้วย 21 เขตเศรษฐกิจ
.
• ประเด็นการหารือจะเกี่ยวเนื่องกับเศรษฐกิจ โดยเน้นในส่วนความร่วมมือทางด้านการค้า-การลงทุน โดยจะมีการอำนวยความสะดวกให้สมาชิกที่มีแนวนโยบายแตกต่างกัน
.
• จาก 21 เขตเศรษฐกิจ มีประชากรรวมกันมากกว่า 2,800 ล้านคน โดยมี GDP (ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ) รวมกันคิดเป็น 60% ของ GDP โลก และมีสัดส่วนการค้าต่อโลกอยู่ที่ 47.4%
.
สำหรับการประชุม APEC ในครั้งนี้ “ไทย” เป็น “เจ้าภาพ” จัดการประชุม
โดยมีแนวคิดหลักว่า “เปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” หรือ Open. Connect. Balance. มีสัญลักษณ์ คือ “ชะลอม”
.
• Open (สีฟ้า) : เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ต่อทุกโอกาส สร้างโอกาสการค้า-การลงทุนในทุกมิติ รวมถึงวางแผนเศรษฐกิจในอนาคตจากบทเรียน #โควิด19
.
• Connect (สีชมพู) : ฟื้นฟูความเชื่อมโยงทุกมิติ เน้นฟื้นฟูด้านการเดินทาง ท่องเที่ยว และความสะดวกด้านการค้า-การลงทุน
.
• Balance (สีเขียว) : สร้างสมดุลในทุกแง่มุม ส่งเสริมการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคมให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง ครอบคลุม ยั่งยืน
ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว หรือ
เป็นหัวข้อหลักคือ BCG (Bio-Circular-Green Economy)
แล้วคุณเข้าใจคำว่า BCG รึยัง???
BCG คืออะไร สำคัญอย่างไร ทำไมเป็นหัวข้อหลักของการประชุม APEC แล้วจะมาเกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศ และระดับโลกอย่างไร….
ซึ่งจะมีการจัดประชุมประเทศสมาชิกทุกปี โดยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่ไทยเราเป็นเจ้าภาพอีกครั้ง หลังจากปี 2546
แต่สิ่งที่สำคัญมากกว่าการประชุม คือการแสดงวิสัยทัศน์ ของประเทศ
โดยในการประชุมครั้งนี้ ไทย เรานำเสนอ การพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม เพื่อความยั่งยืน หรือ BCG (Bio-Circular-Green Economy) มาเป็นจุดเชื่อมโยงการพัฒนาในอนาคต
—————————
แล้ว BCG คืออะไร คนไทยจะได้อะไร? ประเทศไทยจะพัฒนาอย่างไรให้สอดคล้องกับ BCG
ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จัก BCG กันก่อน ซึ่งมาจาก 3 คำคือ Bio Circular Green ซึ่งเป็นการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน แบ่งออกมาเป็นข้อๆ คือ
– Bio Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ
เป็นการใช้ทรัพยากรทางชีวภาพ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ เช่นการแปรรูป สินค้าทางการเกษตร เป็น Bio Plastic ที่ย่อยสลายได้
– Circular Economy หรือ เศรษฐกิจหมุนเวียน
เป็นการนำวัสดุ และผลิตภัณฑ์ ที่ใช้แล้ว กลับมาใช้งานใหม่
– Green Economy หรือ เศรษฐกิจสีเขียว เพื่อสิ่งแวดล้อม
เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อม และพัฒนาสังคม
ซึ่งทั้งหมดนี้ ไทยเรามีพื้นฐานรองรับทั้งหมดแล้ว โดยสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (Sustainable Economy)
—————————
โดยการพัฒนา BCG จะมุ่งเน้นการพัฒนาจากทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีอยู่เดิม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งด้านกระบวนการผลิต และในการนำไปใช้
ซึ่งจะเน้นกับอุตสาหกรรม 4 ด้าน ได้แก่
1.เกษตรและอาหาร
2.สุขภาพและการแพทย์
3.พลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ
4.การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์
—————————
แล้วปัจจุบัน อุตสาหกรรม BCG มีอะไรเกิดขึ้นแล้วบ้าง??? เรามาดูกันทีละด้านเลย
1. Bio Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ
– การพัฒนาธุรกิจน้ำตาล จาก อ้อย สู่น้ำตาล แปรรูปเป็น เอทานอล พร้อมกับการสกัดขั้นสูง (Bio Refinery) สู่ Bio Plastics และ Bio Chemical
– การพัฒนาน้ำมันจากธรรมชาติ (Oleo Chemical) ซึ่งเป็นกระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของไขมันพืชและสัตว์
ปัจจุบันนั้นมีการนำไปใช้งานหลากหลายมาก เนื่องจากเป็นสารกลุ่มชนิดที่สามารถย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติ และนำกลับมาใช้ได้อีก จึงเป็นสารชนิดหนึ่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก
– การพัฒนาอาหารทดแทนเนื้อสัตว์ (plant base meat)
2. Circular Economy หรือ เศรษฐกิจหมุนเวียน
– การจัดการขยะชุมชน และขยะจากเศษอาหาร เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงาน
– การแปรรูปขยะพลาสติก เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่นเสื้อผ้า บรรจุภัณฑ์
3. Green Economy หรือ เศรษฐกิจสีเขียว เพื่อสิ่งแวดล้อม
– การพัฒนาโรงไฟฟ้าชีวมวล และโรงไฟฟ้าชุมชน
– เชื้อเพลิงชีวภาพ เช่น Bio Desel และ แก๊สโซฮอล (ผสมเอทานอล)
– รถยนต์ไฟฟ้า ทั้งรถยนต์ส่วนบุคคล และรถเมล์
– การพัฒนาพลังงานสะอาด ทั้ง ลม และ แสงอาทิตย์
– การกักเก็บคาร์บอน จากกระบวนการผลิต
—————————
ซึ่งทั้งหมดนี้ ผู้ประกอบการไทยเราจะเป็นหนึ่งในแกนนำของโลก เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ BCG เพื่อความยั่งยืน และการแก้ปัญหาสภาวะโลกร้อน
โดยประโยชน์จะช่วย รู้ประเด็นเพื่อปรับ และเลือกประเด็นเพื่อเปลี่ยน ส่งเสริม และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เกษตรกร จนภาคธุรกิจภายในประเทศ พร้อมกับดึงดูดภาคเอกชนจากต่างประเทศมาร่วมกันพัฒนา ในอนาคต
ใครอยากอ่านเพิ่มเติมเรื่อง BCG ดูได้ตามลิ้งค์นี้ครับ
https://www.bcg.in.th