เอาให้ชัด! “กัญชา” อะไรทำได้-อะไรทำไม่ได้-เรื่องอะไรต้องขออนุญาต


“กัญชา” กลายเป็นพืชที่ถูกพูดถึงเรื่อยมา แน่นอนว่าด้วยข่าวสารที่ออกมาทั้งในเรื่องของกฎหมายที่ยังไม่ได้ข้อสรุป นำมาซึ่งความสับสนว่าการปลดล็อกกัญชาที่เกิดขึ้นอะไรที่ทำได้-อะไรที่ทำไม่ได้ รวมถึงเรื่องอะไรบ้างที่ต้องขออนุญาต

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกให้ความรู้เรื่องของกัญชา ดังต่อไปนี้

สามารถทำได้

-ปลูกได้ ขอความร่วมมือให้แจ้งแอปฯ ปลูกกัญ เว็บไซต์ปลูกกัญ
-ครอบครองกัญชาได้ทุกส่วน
-ขายส่วนของพืชกัญชาได้: ใบ กิ่ง ก้าน ลำต้น ราก เมล็ด เว้นแต่เพื่อการนำไปปลูก
-สารสกัดที่มี THC ไม่เกิน 0.2%

ต้องขออนุญาต

-การขายเมล็ดพันธุ์ กิ่งพันธุ์ และต้นกล้า (ต้องขออนุญาตตาม พ.ร.บ.พันธุ์พืช พ.ศ.2518 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
-การนำเข้าเมล็ดพันธุ์ (ต้องขออนุญาตตาม พ.ร.บ.กักพืช พ.ศ.2507 และ พ.ร.บ.พันธุ์พืช พ.ศ.2518 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
-การซื้อขายสารสกัดที่มี THC เกิน 0.2% (ต้องได้รับอนุญาตยาเสพติดให้โทษทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย)
-การผลิต ผลิตภัณฑ์จากกัญชา กัญชง (ต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องของ อย.)
-จำหน่าย (ขาย จ่าย แจก หรือแลกเปลี่ยน) หรือการแปรรูปส่วนของช่อดอกกัญชา เพื่อการค้า
-การส่งออก และการศึกษาวิจัยส่วนของช่อดอกกัญชาเพื่อการค้า (ต้องขออนุญาตตามมาตรา 46 และปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อ 3(1)-(8) ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สมุนไพรควบคุม (กัญชา) พ.ศ.2565

ไม่สามารถทำได้

-ห้ามสูบกัญชาในที่สาธารณะ (กลิ่นและควันเป็นเหตุรำคาญตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข)
-ห้ามจำหน่ายช่อดอกกัญชาหรือแปรรูปกัญชาเพื่อการค้าให้แก่ ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร นักเรียน นิสิต นักศึกษา
-ห้ามครอบครองสารสกัดที่มี THC เกินกว่า 0.2% โดยไม่มีใบอนุญาต
-ห้ามสูบในสถานประกอบการที่ได้รับอนุญาตให้ขาย ยกเว้นสถานพยาบาลที่ได้รับอนุญาตแล้ว
-ห้ามจำหน่ายช่อดอกกัญชาหรือสินค้าแปรรูปจากช่อดอกกัญชา เพื่อการค้าผ่านเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ (Vending Macahine) ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์
-ห้ามจำหน่ายช่อดอกกัญชาในวัด หอพัก สวนสาธารณะ สวนสัตว์ สวนสนุก
-ห้ามจำหน่ายตามรถเร่ ตลาดนัด แผงลอย
-ห้ามโฆษณาช่อดอกกัญชาในทุกช่องทางเพื่อการค้า
-ห้ามใส่ช่อดอกกัญชาในอาหาร
-ห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์กัญชา ยกเว้น รัฐเพื่อการวิจัย
-ห้ามนำเข้าพืชกัญชา ตาม พ.ร.บ.กักพืช ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์