แฟรนไชส์ไทยมีเสน่ห์ หาโอกาสปั้นตัวเอง แล้วขยายตลาดสู่ต่างประเทศ


วันที่ 6 กรกฎาคม 2566 งาน Smart SME EXPO 2023 มีหัวข้อการสัมมนาในหัวข้อเรื่อง “ปั้นแฟรนไชส์ไทยหาคู่ค้าต่างประเทศ” โดย คุณเศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์,CFE และกรรมการผู้จัดการ บริษัท จีโนซิส จำกัด โดยได้กล่าวว่าการเป็นแฟรนไชส์ที่เข้มแข็งต้องสามารถขยายไปสู่ต่างประเทศได้

 

 

คุณเศรษฐพงศ์ กล่าวว่าตอนนี้ต่างประเทศสนใจแฟรนไชส์ไทยไปเติบโตในประเทศของเขาค่อนข้างมาก ถ้าเราสามารถสร้างมาตราฐานขยายธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ มูลค่าของแบรนด์และแฟรนไชส์ของบริษัทก็จะมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีโนซิส จำกัด กล่าวว่า เวลาเราเริ่มทำธุรกิจมีหลายรูปแบบ รูปแบบแรกแบบไม่แบ่งใคร เน้นทำด้วยเอง ลักษณะนี้เราได้ผลตอบแทนเอง แต่มีความเสี่ยงมาก ต่อมาหาคู่ค้าลักษณะนี้จะเป็นรูปแบบช่วยกันต่อยอด แต่ก็อาจจะมีปัญหาเมื่อมีผลกำไรขึ้นมาอาจขัดแย้งกัน ส่วนรูปแบบที่ 3 ในรูปแบบจ้างผลิต ซึ่งเราก็แทบจะมีความเสี่ยงเรื่องการควบคุมมาตรฐานการผลิต แต่วิธีที่น่าสนใจคือแฟรนไชส์ เป็นธุจกิจที่เราเป็นเจ้าของ และเราก็นำสูตร ความสำเร็จ และแบรนด์ของเราไปขายยังแฟรนไชส์ซี เป็นการสร้างโอกาสธุรกิจใหม่ เมื่อแฟรนไชส์ซีสำเร็จเราก็สำเร็จ รูปแบบต่อไปคือการส่งออกสินค้า อันดับสุดท้ายคือการนำแฟรนไชส์ของเรา แบรนด์ของเรา สินค้าและบริการ นำออกไปหานักลงทุนรายใหม่ในต่างประเทศ

แต่ถ้าเราต้องการเป็นผู้ขายแฟรนไชส์ต้องพิสูจน์ตัวเองดังต่อไปนี้
1.ที่ผ่านมาทำธุรกิจได้รายได้เท่าไหร่ เปอร์เซ็นต์ความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน
2. แบรนด์เครื่องหมายการค้า คนสนใจไม่ได้ต้องการสูตรลับ ลูกค้าสนใจแบรนด์ ยิ่งเข้มแข็งมากเท่าไหร่ยิ่งได้เปรียบ
3. พัฒนาสม่ำเสมอ ให้มีการเติบโตอย่างมีมาตรฐาน มีการตรวจสอบได้ สิ่งสำคัญที่สุดหากต้องการขยายแบรนด์ไปต่างประเทศ การไปขายเป็นเรื่องสำคัญ เพราะต่างชาติไม่รู้จักแบรนด์เรา ไม่ว่าจะใหญ่แค่ไหน

“ทางบริษัทจับมือกับธนาคารออมสินและกรมพัฒนาธุรกิจการกระทรวงพาณิชย์ในการปั้นเจ้าของแบรนด์ไปต่างประเทศ ประเทศที่มีศักยภาพเช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ เราปั้นได้ เราต้องส่งไปปักธงได้ ตอนนี้แฟรนไชส์ไทยมองใกล้ แต่ไม่ได้มองไกล จากข้อมูลในโลกมีสมาชิกแฟรนไชส์โลกกว่า 40 ประเทศ แต่ไทยไม่ได้อยู่ในสมาชิกของสมาคมดังกล่าว หรือมองในรูปของจำนวน ประเทศไทยก็ไม่เท่ากับเกาหลีใต้มีแฟรนไชส์มากกว่า 5,000 แบรนด์ทำให้เขาสามารถขยายไปต่างประเทศอย่างมากมาย” คุณเศรษฐพงศ์ กล่าว พร้อมกับกล่าวว่า

แฟรนไชส์ไทยหากต้องการจะปักธงที่ไหนบ้าง จะต้องชัดเจนกับหัวข้อดังต่อไปนี้
1. เลือกประเทศที่เขาเข้าใจเรา
2 ลูกค้าของเราคือใคร นักท่องเที่ยว
3. มีซัพพลายเออร์หริอไม่ เพราะวัตถุดิบบางอย่างส่งเข้าไม่ได้ เช่นบางประเทศไม่นำเข้ามะนาว
4. ปัญหาเรื่องแรงงาน
5. ทำเล ไม่ว่าจะเป็นอาคารหรือในรูปของสตรีทฟู้ด
6. กฎระเบียบ ในต่างประเทศมีกฎหมายเรื่องแฟรนไชส์ต้องทำความเข้าใจให้ดี

คุณเศรษฐพงศ์ กล่าวว่า “แฟรนไชส์ถือเป็นซอร์ฟเพาเวอร์ที่สำคัญ เพราะเป็นธุรกิจด้านอาหาร เครื่องดื่ม ตัวอย่างของร้านอาหารที่เข้ามาประเทศไทยเป็นร้านก๋วยเตี๋ยวเรือมาเลเชีย การแสวงหาโอกาสรอบ ๆ ประเทศเรามีอยู่หลายประเทศ ยกตัวอย่างเช่นสิงคโปร์ มีแคมเปญการจับคู่ธุรกิจในเดือนสิงหาคมนี้ ไต้หวันน่าสนใจมีแบรนด์ไปไปปักธงแล้ว เป็นบ้านผัดไท ร้านส้มตำ ส่วนเกาหลีใต้เมื่อ 4 ปีที่ผ่านมาได้มาซื้อร้านอาหารไทยไปพัฒนาในเกาหลี นอกจากนี้ฟิลิปปินส์เป็นอีกประเทศที่มีความเข้มแข็งเรื่องแฟรนไชส์ประเทศหนึ่งของโลก คาเฟ่ อเมซอน เปิดกว่า 10 สาขา ต้องปรับตัว ให้อาหารและเครื่องให้สอดคล้องกับคนในท้องถิ่น แมงโก้ทรี เป็นธุรกิจของเครือโคคาก็ไป”

หัวข้อการตรวจสอบความพร้อมว่า “พร้อมจะพัฒนาเป็นแฟรนไชส์ขยายออกสู่ต่างประเทศแล้วหรือไม่
1. มุ่งมั่นและตั้งใจจริง
2. แผนธุรกิจ ความเสี่ยง โอกาส แนวทางแก้ไข
3. ความได้เปรียบในการแข่งขัน เช่น คาเฟ่ อเมซอนไปขยายในประเทศจีนมีกาแฟทุเรียน
4.ผลประกอบการ การเติบโต เข้มแข็ง หรือไม่
5. มีทีมสนับสนุนการฝึกอบรม
6. จดทะเบียนแบรนด์ในกรมพัฒนาการค้า
7. วัตถุดิบประเทศไทยเข้าสู่ประเทศนั้นมีข้อกีดกันหรือปัญหาหรือไม่อย่างไร
8. ได้แฟรนไชส์ซีที่ไม่ใช่ เขาไม่ช่วยเราขยาย ดำเนินงาน มีเงิน แต่ไม่มีศักยภาพในการช่วยขยายกิจการของเรา

สำหรับงานแฟรนไชส์ธุรกิจแห่งปี Smart SME EXPO 2023 ครั้งที่ 9 ได้จัดเต็มบูธแฟรนไชส์ธุรกิจกว่า 250 บูธ กับโปรโมชั่นลดแรงแห่งปี พิเศษกับโซนสตรีทฟู้ดร้านดัง โซนคาเฟ่ชวนคุณมาถ่ายรูปเช็คอิน เสวนาให้ความรู้อบรมอาชีพฟรี เจรจาจับคู่ธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ โดยงานจัดต่อเนื่องระหว่างวันที่ 6-9 กรกฎาคม 2566 ณ ฮอลล์ 7-8 อิมแพ็คเมืองทองธานี ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้างานได้ที่ >> https://expo.smartsme.co.th/expo2023/