ทรัพย์สินทางปัญญา” ช่องทางช่วยเอสเอ็มอีสร้างมูลค่าทางปัญญา ส่งเสริมการเติบโตทางธุรกิจ


ทรัพย์สินทางปัญญา เป็นหัวใจสำคัญในการสร้างมูลค่าทางสินค้า บริการ เอสเอ็มอีไทยหากรู้ และเข้าใจ จะช่วยให้สามารถคุ้มครองสิทธิ และสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างมั่นคง

วันที่ 7 กรกฎาคม 2566 งาน Smart SME EXPO 2023 มีการสัมมนาในหัวข้อเรื่อง “เปิดโลกทรัพย์สินทางปัญญาของคนทำธุรกิจ” โดย คุณภเชศ จารุมนต เจ้าหน้าที่อาวุโส กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์

คุณภเชศ จารุมนต กล่าวว่า ปัจจุบันนี้ เอสเอ็มอีขายสินค้าหรือบริการเพียงอย่างเดียวโดยไม่มีแบรนด์ของธุรกิจ จะเป็นผู้เสียเปรียบในการทำการค้า ยุคนี้เป็นยุคของดิจิทัลเป็นยุคที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ซึ่งนวัตกรรมที่มีทรัพย์สินทางปัญญาคุ้มครองจะทำให้เอสเอ็มอีมีสิทธิต่อสินค้าและบริการของตนเอง และสามารถช่วยนำมาหารายได้ให้กับกิจการ โดยคนอื่นละเมิดไม่ได้

ปัญหาอุปสรรคของเอสเอ็มอีไทยคือขาดความตระหนักรู้ในเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งในส่วนที่เป็นของตนเองและของผู้อื่น

สังคมไทยมีความอ่อนแอด้านทรัพย์สินทางปัญญา เพราะส่วนใหญ่เป็นเอสเอ็มอีที่เป็นผู้ประกอบการ แต่ไม่ได้เป็นเอสเอ็มอีที่เป็นสตาร์ทอัพ ซึ่งเป็นคนที่ทำกิจการอย่างมี Solution มีความคิดสร้างสรรค์ และมีความเป็นนวัตกรรม

ประเภททรัพย์สินทางปัญญา
1. เครื่องหมายการค้า ชื่อเรียกสินค้า คนทำธุรกิจต้องมีชื่อเรียก ทุกชื่อเรียกใช้ไม่ผิด เครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่จับต้องไม่ได้ แต่กฎหมายคุ้มครองความเป็นเจ้าของ ผู้อื่นนำไปใช้ประโยชน์ทางการค้าไม่ได้ หลักของเครื่องหมายการค้าคือ ห้ามใช้ชื่อทางภูมิศาสตร์ คำหยาบ ชื่อประเทศชื่อเมือง ชื่อพวกนี้เป็นเจ้าของชื่อไม่ได้ ใช้ได้ไม่ผิด แต่ไม่มีสิทธ์จดเครื่องหมายการค้า นอกจากนี้การจดเครื่องหมายการค้าห้ามจดซ้ำ หากมีการจดเครื่องหมายการค้าแล้ว รายอื่นเข้ามาจดต่อไม่ได้

เครื่องหมายการค้าห้ามสื่อสินค้าหรือบริการที่เป็นคำสามัญ เช่น คำว่าอร่อย ชลบุรีซีฟู้ด ใช้ได้ไม่ผิด แต่อ้างอิงความเป็นเจ้าของไม่ได้ จดเครื่องหมายการค้าไม่ได้ การขายแฟรนไชต์คือการขายเครื่องหมายการค้าอย่างหนึ่ง เครื่องหมายการค้ามีอายุทุก 10 ปี และสามารถต่ออายุได้ ในขณะที่ทรัพย์สินปัญญาตัวอื่นยังไม่มี เครื่องหมายการค้าถ้าจดในประเทศไทยคุ้มครองในประเทศไทยเท่านั้น หากต้องการไปทำธุรกิจต่างประเทศต้องไปจดเครื่องหมายการค้าต่างประเทศ ห้ามให้ตัวแทนเอาไปจด เพราะถ้าให้คนอื่นจดเขาเป็นเจ้าของโฉนดเครื่องหมายการค้าทันที

สิทธิบัตร เป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่งที่จะต้องมีส่วนประกอบ 3 ข้อประกอบด้วย 1 กลไกในการทำงานของสิ่งนั้น กระบวนการทำงานของสิ่งนั้น และกระบวนการในการทำงานสิ่งนั้น ดังนั้น สิ่งของ 1 อย่างอาจมีสิทธิบัตรมากกว่า 1 ฉบับ เช่น รถ 1 คันมีสิทธิบัตร 1,000 ฉบับ

การจดสิทธิบัตรยึด 3 ข้อ ประกอบด้วย 1. ต้องไม่มีคนอื่นในโลกทำมาก่อน 2.มีความซับซ้อน 3.ใช้ได้จริง เวลาคิดสิทธิที่บัตรต้องคิดล่วงหน้า เพราะการอนุมัติสิทธิบัตรต้องไปสืบค้นข้อมูลในต่างประเทศด้วย เมื่อผ่านการอนุมัติแล้วสิทธิบัตรคุ้มครอง 20 ปี ถัดจากนั้นเป็นสิทธิสาธารณะ

ส่วนอาณาเขตในการคุ้มครอง สิทธิบัตรจดที่ไหนคุ้มครองที่นั่น ถ้าออกต่างประเทศเขาทำได้ไม่ผิด การบริหารจัดการทรัพย์ทางปัญญาสำคัญมาก เราต้องนำไปจดภายใน 12 เดือน เพราะไม่งั้นทำไม่ได้ จะกลายเป็นนวัตกรรมที่ไม่มีสิทธิบัตรไม่มีโฉนดคุ้มครอง

อนุสิทธิบัตร มีความเข้มข้นด้านการคิดค้นยากน้อยกว่า นวัตกรรม นวัตกรรมเป็นเรื่องยาก แต่ก็มีเรื่องธรรมดาทำได้ ทำในรูปแบบของอนุสิทธิบัตร เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ แต่ไม่เป็นนวัตกรรม เป็นการนำนวัตกรรม 2 อย่างมารวมกัน เป็นอนุสิทธิบัตร มีอายุ 10 ปี อะไรเป็นความคิดสร้างสรรค์ที่คิดขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหา

สิทธิบัตรการออกแบบดีไซน์ เป็นอีกประเภทหนึ่งของสิทธิบัตร คุ้มครองรูปร่างลักษณะที่ไม่เกี่ยวกับความซับซ้อนภายใน เช่น รูปทรงขนม รูปทรงรถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ รวมถึงบริการด้วย ถ้าจดแล้วเท่ากับมีโฉนด ระยะเวลา 10 ปี หมดอายุต่อไม่ได้

ลิขสิทธิ์ คุ้มครองสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่ได้รับการคุ้มครอง ให้ความคุ้มครองวผลงานที่เกิดจากการสร้างสรรค์ประกอบด้วย วรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ปั้น ถ่ายรูป ดนตรีกรรม ภาพยนตร์ งานอื่น ๆ อะไรที่เป็นศิลปะเป็นลิขสิทธิ์หมด ลิขสิทธิ์ให้การคุ้มครองตลอดชีวิตผู้สร้างสรรค์ และเป็นมรดกตกทอดอีก 50 ปี

ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นจุดอ่อนของประเทศไทย คนส่วนใหญ่ขาดความเข้าใจ ทำให้เราเติบโตไม่ได้ ทรัพย์สินทางปัญญาสามารถสร้างเงินให้เราได้ ดังนั้นเอสเอ็มอีที่ต้องการเติบโตอย่างเข้มแข็งและแตกต่างจำเป็นต้องตระหนักถึงประโยชน์ของทรัพย์สินทางปัญญา

สำหรับงานแฟรนไชส์ธุรกิจแห่งปี Smart SME EXPO 2023 ครั้งที่ 9 ได้จัดเต็มบูธแฟรนไชส์ธุรกิจกว่า 250 บูธ กับโปรโมชั่นลดแรงแห่งปี พิเศษกับโซนสตรีทฟู้ดร้านดัง โซนคาเฟ่ชวนคุณมาถ่ายรูปเช็คอิน เสวนาให้ความรู้อบรมอาชีพฟรี เจรจาจับคู่ธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ โดยงานจัดต่อเนื่องระหว่างวันที่ 6-9 กรกฎาคม 2566 ณ ฮอลล์ 7-8 อิมแพ็คเมืองทองธานี ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้างานได้ที่ >> https://expo.smartsme.co.th/expo2023/