มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ K-MEDI Hub จากสาธารณรัฐเกาหลี ลงนาม MOUทางวิชาการ หวังยกระดับ ‘นวัตกรรม-ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์’


รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) และ Mr. Jin Yang President K-MEDI Hub จากสาธารณรัฐเกาหลี ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ภายในงานจัดแสดง Korea International Advanced Medical Equipment & Medicine Expo 2023 (KOAMEX 2023) ณ เมืองแทกู สาธารณรัฐเกาหลี เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2566 เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์

 

 

สำหรับความร่วมมือจะมี 4 ด้านหลัก ประกอบด้วย 1. ยกระดับความสามารถในการแข่งขันสู่ภาคเศรษฐกิจของนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ (ยา การตรวจวินิจฉัยโรค วัคซีน และอุปกรณ์การแพทย์) สู่มาตรฐานสากลที่ตอบสนองความต้องการของสังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน 2. สนับสนุนและยกระดับแนวปฏิบัติที่ดี (GMP, GLP และGCP) ในการค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ (ยา การตรวจวินิจฉัย วัคซีน และอุปกรณ์การแพทย์) สู่มาตรฐานสากล

 

 

3. สร้างความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาอย่างรอบด้านโดยใช้ประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรร่วมกันและเสริมสร้างทักษะของผู้ประกอบการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม 4. ขับเคลื่อนและส่งเสริมศูนย์การแพทย์ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา (EECmd) ให้เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ใน 4 ด้าน ได้แก่ สุขภาพ บริการทางการแพทย์ วิชาการ และผลิตภัณฑ์

 

 

นอกจากนี้ภายในงาน KOAMEX 2023 คณาจารย์ และนักวิจัยจาก มธ. ที่นำโดย ศ.ดร.ทพญ.ศิริวรรณ สืบนุการณ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มธ. ยังได้นำผลงานวิจัยและนวัตกรรมเข้าร่วมการจัดแสดงจำนวน 23 ผลงาน

ทั้งนี้ ประกอบด้วย ศ.ดร.เกศรา ณ บางช้าง วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ จำนวน 1 ผลงาน ได้แก่ MyA1C

รศ.นพ.สมบัติ มุ่งทวีพงษา คณะแพทยศาสตร์ จำนวน 3 ผลงาน ได้แก่ 1. Smart TUH Toothbrushes 2. DIY rehabilitation device for lower limb weakness และ 3. 0.5% Cannabidiol in Alcohol Solution for Hand Sanitization in Sensitive Skin

รศ.ดร.จิณพิชญ์ชา สาธิยมาส คณะพยาบาลศาสตร์ จำนวน 2 ผลงาน ได้แก่ 1. The pressure injury-alert system of innovative repositioning bed for eldercare และ 2. The prototype of Humidity sensors for incontinence-associated dermatitis in long-term bedridden patients

ผศ.สุภาวดี ทับกล่ำ คณะพยาบาลศาสตร์ จำนวน 1 ผลงาน ได้แก่ Automatic Pediatric Posture-Gyro: Artificial Intelligence for Sick Baby

ศ.ดร.ทพญ.ศิริวรรณ สืบนุการณ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จำนวน 2 ผลงาน ได้แก่ 1. Haptic virtual reality for clinical skill development 2. Automatic detection of oral cancer

ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จำนวน 2 ผลงาน ประกอบด้วย 1. Implementation of a 3D Multiphysics Model for Laser Tattoo Removal 2. Numerical study of cough droplets evaporation and dispersion in an indoor environment using the multi-component Eulerian-Lagrangian approach

รศ.ดร.จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ จำนวน 5 ผลงาน 1. LAW-U: Legal Guidance Through Artificial Intelligence Chatbot for Sexual Violence Victims and Survivors in Thailand 2. 3-LbNets: Tri-Labeling Deep Convolutional Neural Network for the Automated Screening of Glaucoma, Glaucoma Suspect, and No Glaucoma in Fundus Images 3. Donut: Augmentation Technique for Enhancing The Efficacy of Glaucoma Suspect Screening

4. GlauCUTU: Time Until Perceived Virtual Reality Perimetry with Humphrey Field Analyzer Prediction-Based Artificial Intelligence 5. AIChest4All++

ผศ.ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จำนวน 3 ผลงาน ประกอบด้วย1. Manual Standing Wheelchair 2. Sit to Stand Trainer 3. Upper Limb Bilateral Training Device with Symmetrical Transmission Force Mechanism for Stroke Patients: Arm Booster

รศ.ดร.ภคินี เอมมณี สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร จำนวน 1 ผลงาน คือ VP Shunt Entry Area Recommender (VPSEAR): A Computer-Assisted System for VP Shunt Operation

รศ.ดร.ชิราวุฒิ เพชรเย็น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 3 ผลงาน ได้แก่ 1. Portable Screening Sensor of Gouty Arthritis from MWCNT/TiO2 Composite Materials 2. “DR. EX” Insecticide Exposure Screening Solution 3. HER2: Belive integrated sensors for early breast cancer diagnostics