วันที่ 1 สิงหาคม 2566 นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ได้เข้าร่วมกิจกรรมขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจฮาลาลเพื่อการพัฒนาแรงงานให้มีศักยภาพสูงผ่านการอบรมหลักสูตรเชฟอาหารไทย (ฮาลาล) ระดับช้างเผือก ณ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯโดยพลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นประธานและกล่าวให้โอวาท โดยมีเชฟชุมพล แจ้งไพร กรรมการผู้จัดการสถาบันอาหารไทยได้กล่าววัตถุประสงค์การจัดโครงการเชฟ (ฮาลาล) ระดับช้างเผือก นอกจากนี้ยังผู้ทรงคุณวุฒิมาร่วมเป็นเกียรติในงานนี้ อาทิ
นายชนัญ แสงพุ่ม รองเลขาธิการ ศอ.บต.
รศ.ดร. บดินทร์ รัศมีเทศ รองเลขาธิการ ศอ.บต.
นาวาเอก จักรพงษ์ อภิมหาธรรม ผู้อำนวยการกลุ่มงานพัฒนาเศรษฐกิจ ศอ.บต.
นางสาวอารดา ปาลาเลย์ ที่ปรึกษาเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
ผศ.ดร. นฤมล นันทรักษ์ ที่ปรึกษาและอาจารย์โรงเรียนการอาหารไทย เอ็ม เอส ซี
ผศ.ดร. อรุณวรรณ อรรถธรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
รองศาสตราจารย์ อภิญญา มานะโรจน์ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตโชติเวช
นายพิริยพงศ์ แจ้งเจนเวทย์ ผู้อำนวยสำนักพัฒนานวัตกรรมคุณวุฒิวิชาชีพ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)
โครงการขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจฮาลาลนี้มีวัตุประสงค์เพื่อเป็นการพัฒนาแรงงานให้มีศักยภาพสูงผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรเชฟออาหารไทย (ฮาลาล)ระดับช้างเผือกเพื่อเปิดโอกาสการพัฒนาศักยภาพประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งคัดเลือกบุคคลในพื้นที่จังหวัด
ชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดสงขลา และจังหวัดสตูล) จำนวน 20 คน
โดยกำรอบรมแบ่งเป็น 2 ภาค ประกอบด้วย ภาคที่่ 1 การฝึกอบรมหลักสูตรเชฟอาการไทย (ฮาลาล)
ระดับช้างเผือก ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2566 – 2 สิงหาคม 2566 และภาคที่ 2 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ณ สถานประกอบการร้านอาหาร โรงแรมหรือภัตตาคารที่ร่วมสนับสนุน
โดยสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ได้ร่วมทำการประเมิน ผู้เข้าร่วมการอบรมทั้ง 20 คน ในอาชีพผู้ประกอบอาหารฮาลาลระดับ 1 จำนวน 19 คนและระดับ 2 จำนวน 1 คน โดยมีวิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานีเป็นองค์กรฯ ที่ดำเนินการประเมินฯ ทั้งนี้ มีนางสาวแวเยาะ บือราโอะ ผู้เข้าอบรมในครั้งนี้ ได้นำใบประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพไปสมัครเป็นผู้ประกอบอาหารในสายการบินอาหรับและได้รับคัดเลือกให้เข้าทำงานโดยเห็นว่าใบประกาศนียบัตรฯ นี้เป็นใบเบิกทางในการทำงานและสร้างรายได้ …
โครงการนี้นับว่าเป็นการสร้างงานสร้างอาชีพให้กับประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้เพื่อให้มีรายได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีโดยเฉพาะการพัฒนาบนพื้นฐานศักยภาพ ความต้องการและอัตลักษณ์ของพื้นที่-ประชาชนในพื้นที่
ทั้งยังได้รังสรรค์เมนูอาหารใช้วัตถุดิบชั้นเยี่ยมของท้องถิ่น ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น สร้างความสำเร็จ Soft power ในท้องถิ่น วัตถุดิบ อาหารภาคใต้ เป็นอัตลักษณ์โดยเฉพาะการพัฒนาเป็นเมนูอาหาร เพื่อสร้างมูลค่าของวัตถุดิบทางอาหารในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไปทั้งในประเทศและต่างประเทศ
โดย ศอ.บต. มีแผนงานบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผลักดันต้นแบบโรงงานผลิตอาหาร และโรงงานแช่แข็งที่มีมาตรฐานอาหารสากลและมาตรฐานฮาลาล ทำตลาดไปยังโลกมุสลิม เช่น ประเทศซาอุดีอาระเบีย อียิปต์ กาตาร์ จอร์แดนและอื่นเพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์เมืองแห่งอาหารฮาลาลจังหวัดชายแดนใต้
#สคช.สร้างเชฟฮาลาลมืออาชีพ
#ศอบต สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจฮาลาลชายแดนใต้