ว่ากันด้วยเรื่องราวของวัฒนธรรม ‘เกาหลี’ สำหรับคนไทยมีเหล่า FC ที่ตามรอยความเป็นเกาหลีจำนวนมาก โดยได้รับอิทธิพลจากสื่อของประเทศเกาหลีในด้านต่าง ๆ เช่น แฟชั่น ไลฟ์สไตล์ แวดวงภาพยนตร์ ดนตรี หรือแม้แต่อาหารการกิน ซึ่งคนไทยชื่นชอบและคุ้นเคยมาหลายสิบปีแล้ว
เมื่อลองมานึก ๆ ดูในแวดวงธุรกิจร้านอาหารเกาหลีที่เปิดดำเนินกิจการในประเทศไทยก็มีจำนวนไม่น้อยเช่นกัน โดยมูลค่าร้านอาหารเกาหลีในไทย ปี พ.ศ.2564-2565 อยู่ที่ราว ๆ 1,850 ล้านบาท ซึ่งยังถือว่า ภาพรวมร้านอาหารเกาหลีในไทยยังไปได้สวย แม้จะสะดุดในช่วงที่เกิดวิกฤตโควิดฯ ไปบ้าง แต่ก็กำลังฟื้นตัวในทิศทางที่ดีขึ้นตามลำดับ
โดยจะสังเกตได้จากการแข่งขัน เปิดและสร้างแบรนด์อาหารเกาหลีในไทยทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ซึ่งแต่ละร้านแต่ละแบรนด์ก็จะมีกิมมิก เอกลักษณ์ เสน่ห์เฉพาะตัว โดยเมนูประจำร้านอาหารเกาหลีที่ขาดเสียมิได้ คือ “จาจังมยอน” บะหมี่สไตล์เกาหลี และอีกเมนูหนึ่งที่ได้รับความนิยมมาก คือ “ไก่ทอดซอสเกาหลี”
ตัวอย่างร้านอาหารเกาหลี ที่มีชื่อเสียง ในกรุงเทพฯ
• Kimkun.
• Ja Guem Son
• Hangang
• Baanoppa.
• Bookmagol.Thailand
• JOHA Korean Restaurant
• Kimchi Hour
• Oppa Korea Food Bar
ถ้าจะชวนเพื่อน ๆ นึกถึงร้านอาหารเกาหลีในไทย ที่เป็นที่ถูกใจคนไทยจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะเมนู “ไก่ทอดซอสเกาหลี” ผู้นำแบรนด์แรก ๆ ที่เข้ามาทำตลาดในประเทศไทย และทุกวันนี้ ธุรกิจก็ยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ต้องมีชื่อ BonChon ในใจผู้บริโภคคนไทยอย่างแน่นอน
แปลกแต่จริง !? ส่วนใหญ่ทุกครั้ง ที่อยากกิน ‘ไก่ทอดซอสเกาหลี’ ภาพและชื่อของ ‘บอนชอน’ (BonChon ) หรือบางคนออกเสียงว่า ‘บนชน’ จะลอยมาในหัวของหลายคน จะเป็นแบรนด์นี้เป็นอันดับแรก
ตรงนี้แหละ ที่คงต้องยกเครดิตให้กับผู้พัฒนาแบรนด์บอนชอนในไทย นั่นคือ บริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ‘ไมเนอร์ ฟู้ด’ ที่สามารถสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้เข้าถึงและทำให้ผู้บริโภคจดจำได้ดีมาตลอด
ย้อนรอยการเติบโตของ ‘บอนชอน’ ในไทย
สำหรับ ‘บอนชอน’ เข้ามาทำตลาดในประเทศไทย เมื่อราว 13 ปีก่อน โดยเปิดสาขาแรก ปี พ.ศ.2554 ย่านทองหล่อ ภายใต้การบริหารในขณะนั้น โดย บริษัท มาชิสโสะ จำกัด โดยเจ้าของตัวจริง ที่ก่อตั้งแบรนด์ คือ “จินดุ๊กเซ” (Jinduk Seh) ชาวเกาหลีใต้ นั่นเอง
ในปี พ.ศ.2562 บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (MINT) ได้จัดตั้งบริษัท ไมเนอร์ ฟู้ด โฮลดิ้ง จํากัด และซื้อกิจการบอนชอน มูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท เหตุพราะ ผู้บริหารมองเห็นโอกาสไก่ทอดเกาหลีกำลังเติบโตได้ดี
โดยผลประกอบการเฉพาะของแบรนด์ธุรกิจของบอนชอน ในปี พ.ศ.2561-2562 อยู่ที่ 1,351 ล้านบาท กำไร 352 ล้านบาท นั่นแสดงให้เห็นว่า แบรนด์บอนชอน และเมนูไก่ทอดซอสเกาหลี ในไทยไม่เคยแผ่วไปจากในใจและความนิยมของผู้บริโภคทุกเจน
• สำหรับ ‘บอนชอน’ ในไทยเติบโตขึ้นทุกปี ไม่แคร์คู่แข่ง ไม่แคร์ปัจจัยแวดล้อมภายนอก เมื่อมาอยู่ในมือหรือการบริหารของกลุ่ม ‘ไมเนอร์ ฟู้ด’ ถือว่า ไว้ใจได้ หยิบจับทำอะไรก็ปัง เป็นกำไรไปเสียทั้งหมด
• บอนชอน ภายใต้การดำเนินงานของ ไมเนอร์ ฟู้ด ปัจจุบันมีจำนวนสาขามากกว่า 110 สาขาในประเทศไทย
• สำหรับในต่างประเทศ แบรนด์ ‘บอนชอน’ ก็ทำตลาดขยายธุรกิจเปิดสาขาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยภาพรวมมีจำนวนกว่า 300 สาขา และกว่า 10 ประเทศทั่วโลก ซึ่งประเทศที่มีร้านบอนชอนเยอะที่สุด คือ ประเทศ ฟิลิปปินส์ มีจำนวนทะลุ 200 สาขา
‘บอนชอน’ ร้านอาหารเกาหลี แต่ทำไม ? คนไทยชอบ
1. ไก่ทอดซอสเกาหลี ครองใจทุกเจนฯ
สำหรับคนไทย เมนูไก่ ๆ เป็นอาหารที่ทานง่าย กินได้ทุกมื่อ กินได้ทุกเพศทุกวัย กินกับอะไรก็อร่อย แต่หากลงรายละเอียดประเภทเมนู ไก่ทอดซอสเกาหลี และนึกถึงบอนชอน ก่อนเพื่อนเลย ก็เพราะ แบรนด์ชัดเจนในการทำธุรกิจนี้มาอย่างยาวนาน ตลอดจนการเจาะตลาดที่เก่งมาก ๆ คือ เข้าถึงผู้บริโภคทุกเจน
ภาพลักษณ์ของแบรนด์บอนชอน ดูเหมือนร้านไก่ทอดสไตล์เกาหลีที่เจาะตลาดกลุ่มวัยรุ่น แต่จริง ๆ ก็ไม่ทิ้งกลุ่มเด็ก ๆ ที่ติดใจความกรุบกรอบและการปรุงสดใหม่ของไก่ทอดบอนชอน
นั่นหมายถึง ได้เจาะกลุ่ม Family ไปในครางเดียว คือ คุณพ่อคุณแม่ ที่สามารถพาเด็ก ๆ มาทานได้อย่างสบายใจ จึงเป็นปัจจัยสำคัญทำให้แบรนด์บอนชอน ไม่ใช่เฉพาะกลุ่ม แต่โกยรายได้และความนิยมจากทุกเพศทุกวัย
2. เมนูอาหารรสชาติถูกปากเหมือนเดิม
ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปี ๆ หรือจะสั่งไก่ทอดบอนชอนมากินที่ร้านหรือสั่งมากินที่บ้าน สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนไปเลย คือ รสสัมผัสกรุบกรอบในทุกครั้งที่ได้กิน ซึ่งเป็นเคล็ดลับและกรรมวิธีการปรุงของทางร้าน ที่หาตัวจับได้ยาก
และทีเด็ด คือ การเคลือบหรือทาซอสเคลือบเอาไว้ด้านนอก ทำให้หนังไก่คงความกรอบ ในขณะเดียวกันเนื้อไก่ก็ยังชุ่มฉ่ำ เป็นเอกลักษณ์ของไก่ทอดบอนชอนที่ยากจะเลียนแบบ จนครองใจคนไทยมาจนถึงทุกวันนี้ง
3. การตลาดและทำโปรฯ ที่ไม่เคยหยุด
นอกจากรสชาติ และคุณภาพที่ไม่เคยตก การทำตลาดก็ปัง ! ไม่หยุดเช่นกัน บอนชอน มักจะมีการปล่อยเมนูพิเศษออกมาอย่างสม่ำเสมอ และแทบทุกครั้งก้มักจะเป็นไวรัล ด้วยความครีเอทีฟ แปลกใหม่ น่าลอง ต้องยกเครดิตชื่นชมให้กับทีมงานและทีม Marketing
โดยกระบวนการพัฒนาเมนูเหล่านี้ของบอนชอนก็มาจาก การ Research จับตาดูพฤติกรรมกลุ่มลูกค้าของตัวเองว่า ช่วงนี้ทุกคนกำลังอินกับโปรดักส์อะไร รสชาติแบบไหน แล้วจึงหยิบจับสิ่งนั้นมาต่อยอดให้เป็นเมนูในสไตล์ของบอนชอนอีกทีหนึ่ง
4. ร้านอาหารสัญชาติเกาหลี แต่สไตล์ไทย
ความ Merge ที่กลมกล่อมเข้ากันเป็นอย่างดีและลงตัว ทั้งในเรื่องของการนำเสนอผลิตภัณฑ์ , การตกแต่งร้าน , ภาพลักษณ์การสื่อสารไปสู่ผู้บริโภค รวมถึงความ Create เมนูและราคาที่คนไทยทุกระดับจับต้องได้
สำหรับเมนูอาหารในร้านบอนชอน มีการ Create พัฒนาเมนูเพื่อให้ตอบโจทย์ ถูกปากคนไทยอย่างสม่ำเสมอ เช่น การหยิบเอาเมนูไทย ๆ มาผสมผสานกับรสชาติไก่ทอดไสตล์เกาหลี หรือแม้แต่การเพิ่ม เมนูข้อไก่ทอดคลุกซอสซิกเนเจอร์ของบอนชอน หรือเมนูผัดวุ้นเส้นเกาหลีแท้ ๆ อย่าง ‘สไปซี่จับเช’ ก็มีการเพิ่มรสเผ็ดด้วยพริกขี้หนูซอย ให้ถูกจริตถูกปากคนไทยกันแบบสุด ๆ
5. เน้นโปรโมทเมนูอาหาร ไม่เน้นใช้คนดัง-เซเลบ
ลองนึก ๆ ย้อนภาพจำโฆษณาของร้านบอนชอน แทบจะไม่ได้ใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ช่วยโปรโมทแบรนด์สักเท่าไหร่เลย หรือแทบไม่มีเลยก็ว่าได้ ซึ่งเมื่อมีอะไรใหม่ ๆ บอนชอน จะโปรโมทผ่านหน้าตาของเมนูอาหารเท่านั้น
เหตุเพราะ บอนชอน ต้องการเน้นคุณภาพของอาหารเป็นจุดสำคัญในการสื่อสารกับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นรสชาติอาหาร หน้าตา และมาตรฐานที่ได้คุณภาพ โดยไม่จำเป็นต้องมีพรีเซนเตอร์เป็นสื่อกลาง ด้วยเหตุนี้บอนชอนจึงทุ่มเทให้กับการคิดค้นเมนูใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้ามากที่สุด
ท่ามกลางธุรกิจร้านอาหารเกาหลีที่มีมากมายในเมืองไทย แต่ ‘บอนชอน’ ยังคงท่องยุทธภพ และมีความสามารถในการแข่งขัน แย่งเค้กชิ้นก้อนโตในตลาดเซกเมนต์นี้ได้อย่างไม่แพ้แบรนด์ดังอื่น ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
สำหรับ เพื่อน ๆ หรือใครก็ตามที่กำลังจะเริ่มต้นทำแบรนด์ร้านอาหาร แต่ยังหาแนวทางการสร้างแบรนด์ ความคิดสร้างสรรค์ ที่จะสร้างความแตกต่างของตนเองยังไม่ชัดเจนท หรือไม่ลงตัว ลองดูแนวทางการทำแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จและครองใจผู้บริโภคได้ในระยะยาว Key Success ที่แอดฯ สรุปมาให้ตามนี้ดูนะ เป็นกำลังใจให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ไฟแรงทุก ๆ ท่านจ้า
Key Success เอกลักษณ์ที่แตกต่าง ครองใจลูกค้าในระยะยาว
1. เลือกแบรนด์ที่เหมาะกับวัฒนธรรมคนไทย หรือผู้บริโภคกลุ่มหลักกลุ่มใหญ่ที่เราต้องการจะนำเสนอ
2. ศึกษารายละเอียดของแบรนด์ให้ดี ทั้งคู่แข่ง และนำมาเปรียบเทียบกับของเรา ในสิ่งที่ขาดและเติมเต็ม
3. มีการวางแผนในด้านต่าง ๆ อย่างรอบคอบ
4. ราคาไม่แพง , ใช้วัตถุดิบที่หาได้ในประเทศเพื่อลดต้นทุนในการนำเข้า แต่คัดสรรและพิถีพิถันขั้นตอนการผลิตในทุก ๆ ครั้ง
5. สร้างสรรค์ และเพิ่มสิ่งใหม่ ๆ ให้แก่แบรนด์อยู่เสมอ
6. ใส่ใจและรักในแบรนด์ ไม่ทำธุรกิจตามกระแส แต่ต้องบริหารและใส่ใจในทุกวันให้เหมือนวันแรกของการเปิดร้าน
7. รักษาคุณภาพและพัฒนาแบรนด์ตลอดเวลา
8. ให้ความสำคัญกับ Location ข้อนี้ หลายคนอาจละเลย เช่น ร้านอาหาร ต้องมีที่จอดรถ หรือลูกค้าต้องเดินทางสะดวก อย่างน้อย ๆ มีรถ Taxi หรือวินมอเตอร์ไซค์ใช้สัญจรในการเดินทาง เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคทุกกลุ่ม