จับตาแบรนด์ยักษ์ “วัสดุก่อสร้าง-สินค้าแต่งบ้าน” แข่งเปิดสาขาไม่พัก !


เศรษฐกิจไม่ดี.. แต่กับอีกหนึ่งประเภทธุรกิจที่ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ มักไม่ค่อยกระทบสักเท่าไหร่ คือ “ธุรกิจร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง” รวมถึง “ธุรกิจหรือร้านจำหน่ายสินค้าตกแต่งบ้าน” เพราะการต่อเติม ซ่อมแซม และตกแต่งบ้าน สำหรับเจ้าของบ้าน หรือเจ้าของสิ่งปลูกสร้างที่พักอาศัย ย่อมมีไอเดียที่ไม่มีที่สิ้นสุด

โดยในปี พ.ศ.2564-2565 ที่ผ่านมา ยอดขายของร้านค้าวัสดุก่อสร้างหลายรายค่อย ๆ ฟื้นตัวหลังจากสถานการณ์โควิดฯ ดีขึ้น อยู่ประมาณ 0.2%-1.9% หรือคิดเป็นมูลค่าตลาดราว ๆ 8.03-8.17 แสนล้านบาท

ในมุมรายได้ ของผู้ผลิตและผู้จำหน่ายวัสดุก่อสร้าง มีแนวโน้มขยายตัว แต่ก็อยู่ท่ามกลางสมรภูมิ การแข่งขันที่รุนแรงทั้งจากผู้ผลิตในประเทศและจากสินค้านำเข้า

ซึ่งตัวของผู้ผลิตวัสดุก่อสร้าง ย่อมต้องมีการปรับกลยุทธ์แผนการตลาด , การให้บริการ และการนำเทคโนโลยีเพื่อมาใช้เพิ่มยอดขายมากขึ้น เพื่อพัฒนาสินค้าที่มีคุณภาพสูงและตอบโจทย์ความต้องการของตลาด

ขณะเดียวกัน อีกมุมหนึ่ง คือ ร้านค้า หรือตัวแทนขายวัสดุก่อสร้าง ทั้งรายเล็ก รายใหญ่เอง ก็ต้องเร่งปรับตัวเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคดิจิทัล เช่น การพัฒนาช่องทาง การจัดจำหน่าย เป็นต้น

แน่นอนว่า ปัจจุบัน ร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้างและสินค้าตกแต่งบ้าน มีมากมายหลายบริษัทหลายแบรนด์ แต่ที่เป็นตัวท็อป เบอร์ต้น ๆ ที่คนไทยนึกถึง ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่ต้องการหาซื้อกระเบื้อง สุขภัณฑ์เซรามิก อุปกรณ์ไฟฟ้าฮาร์ดแวร์ ฯลฯ ย่อมมีในใจไม่กี่แแบรนด์

โดย Smart SME ขอหยิบยกแบรนด์จำหน่ายวัสดุก่อสร้างและสินค้าตกแต่งบ้านที่ หากเพื่อน ๆ สังเกตดูจะมีแค่ 2 แบรนด์นี้ ที่เติบโต ขยายสาขาให้บริการไปทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง

นั่นคือ “ไทวัสดุ” และ “บุญถาวร” จะขอพาไปส่องกลยุทธ์ของทั้งสองแบรนด์กันว่า มีหลักบริหารธุรกิจอย่างไร ให้เติบโตทุกปี และทำอย่างไร ? ถึงได้เข้าถึงและสร้างความประทับใจให้กับกลุ่มลูกค้ากลุ่มที่มองหาอุปกรณ์วัสดุก่อสร้างและของตกแต่งบ้านด้วยดีเสมอมา ที่นึกถึงของต่อเติมตกแต่งบ้านเมื่อใด ต้องมาเช็คอินที่ 2 แบรนด์นี้เป็นอันดับแรกทุกที

ข้อมูลธุรกิจ

บริษัท ซีอาร์ซี ไทวัสดุ จำกัด (ไทวัสดุ)

ผลประกอบการ

ปี 2563
รายได้รวม : 29,223.9 ล้านบาท
กำไร : 1,309.2 ล้านบาท

ปี 2564
รายได้รวม : 34,226.3 ล้านบาท
กำไร : 2,412.9 ล้านบาท

ปี 2565
รายได้รวม : 39,316.4 ล้านบาท
กำไร : 2,426.5 ล้านบาท

 

 

ข้อมูลธุรกิจ

บริษัท บุญถาวรเซรามิค จำกัด (บุญถาวร)

ผลประกอบการ

ปี 2563
รายได้รวม : 9,866.2 ล้านบาท
ขาดทุน : 150.6 ล้านบาท

ปี 2564
รายได้รวม : 9,115.4 ล้านบาท
กำไร : 63.3 ล้านบาท

ปี 2565
รายได้รวม : 11,862.5 ล้านบาท
กำไร : 582.6 ล้านบาท

 

จะว่าไปแล้ว กลุ่มลูกค้าของ “ไทวัสดุ” และ “บุญถาวร” มีทั้งกลุ่มลูกค้าเดียวกัน และคนละกลุ่มลูกค้าก็ด้วยเช่นกัน จึงไม่สามารถเปรียบเทียบในแง่ของกลุ่มลูกค้า แต่ในแง่ของการเติบโตและขยายสาขานั้น ต้องยอมรับว่า ทั้งสองแบรนด์ มีอัตรากราเติบโตในทุก ๆ ปีเหมือนกัน

 

• สาขาปัจจุบันของ “ไทวัสดุ” มีจำนวนกว่า 70 สาขาทั่วประเทศ โดยแต่ละสาขา ส่วนใหญ่เป็น Stand Alone ติดถนนเห็นเด่นชัด ใช้พื้นที่ปลูกสร้างประมาณ 20,000 ตร.ม. มีสินค้าจำหน่ายกว่า 100,000 รายการ

 

 

• สาขาปัจจุบันของ “บุญถาวร” มีจำนวนกว่า 30 สาขาทั่วประเทศ มีเปิดทั้งรูปแบบ Stand Alone และเปิดชอปตามห้างสรระสินค้า ฯลฯ คือ แหล่งรวมของตกแต่งห้องครัว เตาอบ เตาไฟฟ้า ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ สินค้าคุณภาพจากหลายแบรนด์ดัง เปลี่ยนโฉมครัวคุณให้สวยโดดเด่น ทันสมัย

กลุ่มลูกค้า

ถ้ายกตัวอย่างให้เห็นภาพง่าย ๆ กลุ่มลูกค้าของ ไทวัสดุ ได้แก่ ผู้รับเหมาก่อสร้าง , วิศวกร หรือผู้ที่อยู่ในแวดวงก่อสร้าง, อุตสาหกรรมช่าง ที่จะเข้ามาเลือกซื้อสินค้าเพื่อนำไป Construction อย่างเต็มรูปแบบ

ส่วนลูกค้าของ ‘บุญถาวร’ จะเป็นกลุ่ม Consumer อย่างเรา ๆ ท่าน ๆ นี่แหละ ที่มองหาของตกแต่งบ้าน ตลอดจน กลุ่มคนที่ทำงานได้ออกแบตกแต่งภายใน สถาปนิก Interior ที่มองหาสินค้าไอเดียตกแต่งที่พักอาศัย เพื่อต่อยอดเพิ่มมูลค่าให้ยอดขายในกิจกรรมหรือธุรกิจ เป็นต้น

 

คู่แข่งขัน ในเชนธุรกิจวัสดุก่อสร้างและสินค้าตกแต่งบ้าน

คู่แข่งขัน(โดยตรง) ของ ‘ไทวัสดุ’ ได้แก่

– โกลบอลเฮ้าส์ (GIObal House)
– ดูโฮม (DO HOME)
– เมกาโฮม (MEGA HOME)

 

 

คู่แข่งของ(โดยตรง) ‘บุญถาวร’ ได้แก่

– โฮมเวิร์ก (hw homeWorks)
– โฮมโปร (HomePro)
– เอสบี เฟอร์นิเจอร์ (SB FURNITURE)
– อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ (Index livingmall)

 

 

มาที่ ‘ไทวัสดุ’ นึกถึงอะไร ?

– ปูน
– ปั๊มน้ำ
– เหล็ก
– ไฟเบอร์ซีเมนต์ ไม้อัด ยิปซัม โพลีคาร์บอเนต
– งานระบบประปา
– เครื่องมือช่าง
– ฮาร์ดแวร์ / เคมีภัณฑ์
– งานระบบไฟฟ้า
– เครื่องใช้ไฟฟ้า / อิเล้กทรอนิกส์
– เครื่องครัว / ห้องครัว
– เฟอร์นิเจอร์ / ของตกแต่งภายใน-ภายนอกบ้าน
– อุปกรณ์การเกษตร/งานสวน
– ผ้าม่าน/พรม
– อุปกรณ์ประดับยนต์
– สินค้าอื่น ๆ

 

มาที่ ‘บุญถาวร’ นึกถึงอะไร ?

– กระเบื้องสวย ๆ ที่นี่เขามีให้เลือกเยอะ
– ห้องน้ำ / สุขภัณฑ์
– ห้องครัว / Kitchen Studio
– แอร์/เครื่องใช้ไฟฟ้า
– เฟอร์นิเจอร์ เช่น โซฟา, ตู้เสื้อผ้า, โต๊ะเครื่องแป้ง, เก้าอี้ (เฟอร์นิเจอร์โมเดิร์นเก๋ ๆ ตกแต่งห้องต้องมาที่นี่)
– ประตู/หน้าต่าง
– สีและอุปกรณ์ทาสี
– ระบบประกา / สวน / งาน D.I.Y
– ไฟฟ้าและแสงสว่าง
– พื้นไวนิล / กระเบื้องยาง
– วอลล์เปเปอร์
– สินค้าอื่น ๆ

 

เมื่อ 2 ยักษ์ รุกตลาดออนไลน์

สำหรับ “บุณถาวร” นั้น ปัจจุบันเน้นการตลาดออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ด้วยการช้อปปิ้งซื้อวัสดุก่อสร้าง และสินค้าแต่งบ้าน ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงหน้าร้านหรือ Store เท่านั้น แต่พฤติกรรมของผู้บริโภคที่ใช้เวลาอยู่กับ Device มากมาย อาทิ เสพสื่อออนไลน์ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ จอมือถือ คนหนึ่งใช้ จึงส่งผลให้การซื้อสินค้าและบริการ เกิดขึ้นผ่านโลกออนไลน์ ง่าย ๆ ด้วยคลิกปลายนิ้วมากขึ้น

www.boonthavorn.com เป็นหนึ่งในกลยุทธ์หลักของบุญถาวรในการรุกตลาดออนไลน์เต็มตัว โดยแพลตฟอร์มออนไลน์นี้จะทำงานสอดคล้องกับการขายแบบออฟไลน์ เพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคที่มักหาข้อมูลสินค้าจากอินเตอร์เน็ตก่อน แล้วค่อยไปเลือกซื้อที่โชว์รูม หรือต้องเห็นหรือสัมผัสของจริงก่อน เพื่อเก็บข้อมูลแล้วกลับมาซื้อในเว็บไซต์ เป็นต้น

โดยจากสินค้ากว่า 100,000 รายการ บุญถาวร ได้แบ่งหมวดหมู่สินค้าไว้เป็นอย่างดี ตามประเภทการใช้งานและวัสดุนั้น ๆ อาทิ วัสดุปูพื้นและผนัง, ประตูและหน้าต่าง, ห้องน้ำ, ห้องครัว และ Promotion ฯลฯ

ซึ่งทำให้ง่ายต่อการค้นหาสินค้า หรือถ้าคุณมี Keyword ในใจอยู่แล้ว ระบบจะกรองการค้นหาให้ตรงความต้องการยิ่งขึ้น เพียงระบุคำให้ชัดเจน เช่นคำว่า “กระเบื้อง หินอ่อน สีขาว” ทั้งนี้ คุณสามารถค้นหาด้วยการกำหนดยี่ห้อได้อีกด้วย

ทางด้าน “ไทวัสดุ” ก็เช่นกัน ที่เน้นตลาด Omni-Channel เพื่อมุ่งมั่นในการสร้างการเติบโตของธุรกิจไทวัสดุ และสินค้าตกแต่งบ้านอย่างครบวงจรในภูมิภาคเอเชีย

Thriving เสริมสร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจ รองรับการเติบโตในอนาคต พร้อมก้าวขึ้นเป็นผู้นำค้าปลีกออมนิชาแนลตลาดสินค้าวัสดุก่อสร้าง และสินค้าตกแต่งบ้านอย่างครบวงจร ด้วยงบลงทุนกว่า 7,000 ล้านบาท เพื่อ…

– การขยายสาขาใหม่
– ปรับปรุงสาขาเดิม
– การรีแบรนด์ และพัฒนารูปแบบบริการ ในทุกแบรนด์
– พัฒนาช่องทางการสั่งซื้อของลูกค้าที่หลากหลายในทุกฟอร์แมท ทั้งช่องทางออฟไลน์และออนไลน์
– รวมถึงการเพิ่มช่องทางการขายใหม่ ขยายประเภทและชนิดของสินค้าให้หลากหลาย ครอบคลุมทุกความต้องการของผู้บริโภค (Multi-Segments)

ดังนั้น เชื่อว่า 2 แบรนด์ที่หยิบมาเล่าสู่กันฟังนี้ น่าจะอยู่ในใจเป็นอันดับต้น ๆ ของหลายคนที่มีบ้าน ชอบแต่งเติม ต่อเติมบ้าน หรือที่อยู่อาศัย ซึ่งทั้งสองแบรนด์ ธุรกิจก็ยังดำเนินกิจการและเติบโตต่อไปได้เรื่อย ๆ เพื่อตอบสนองความพึงพอใจของกลุ่มลูกค้า Home Convenience อย่างไม่หยุดยั้ง ภายใต้หลาย ๆ ปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว