มาดู..คนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ทำธุรกิจเจ๊ง !


“นายจ้าง” กับ “ลูกจ้าง” คำ 2 พยางค์แค่นี้เอง แต่ความหมายแตกต่างกันแบบสิ้นเชิง..

ไม่ได้จะมาด้อยค่าการเป็นลูกจ้างนะ เพราะก่อนจะมาเป็นนายจ้าง หรือผู้ประกอบการธุรกิจ หลาย ๆ คนก็เคยต้องผ่านการเป็นลูกจ้างมาก่อน อดทน ใช้ความพยายามอย่างสูง ทำงานจนเกิดความชำนาญ รู้เช่นเห็นชาติ รู้ Process ของเชนธุรกิจนั้นทั้งหมด เก็บเกี่ยวประสบการณ์ เรียนรู้ปัญหาและข้อผิดพลาด จนตกผลึกวิธีการแก้ไข และออกมาทำธุรกิจของตนเองได้ในท้ายที่สุด

หลาย ๆ คนอยากเป็นนายจ้าง อยากเป็นเจ้าของธุรกิจ อยากบริหารคน บริหารงาน เป็นนายตัวเอง ฝันเอาไว้แบบนั้นนะ.. แต่บุคลิก ความสามารถ และ Mine Set สุดแสนจะย้อนแย้งมาก ๆ !

ลองมาดู คนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงทำธุรกิจเจ๊ง ! กันดีกว่า แต่ละข้อบ่งบอกถึงแนวคิด และพฤติกรรมของคนที่มีความเป็นไปได้สูงที่จะบริหารธุรกิจล้มเหลว มากกว่า รุ่งโรจน์ ถ้าคุณไม่อยากเป็นแบบคนกลุ่มนี้ จงปรับเปลี่ยนแนวคิด และพัฒนาตนเองต่อไป อย่างไม่หยุดยั้ง !

 

คนที่มีพฤติกรรม เสี่ยง..ทำธุรกิจเจ๊ง !

 

1. คนที่ชอบฝัน แต่ไม่ชอบทำ

คนเหล่านี้ มักจะมีประโยคขึ้นต้นว่า “ฉันคิดว่า……” ก่อนที่จะพูดคุยเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ของเขา และปล่อยให้แนวคิดของเขากระจายไปทั่วพื้นที่ มีความคิดหรือไอเดียใหม่ ๆ มาพูดคุยเสมอ แต่ปราศจากการการดำเนินการใด ๆ ทั้งสิ้น ปัญหาของคนเหล่านี้ คือ ไม่รู้จักแปลงความฝันให้เป็น ธุรกิจส่วนตัว ที่ทำกำไรได้จริง

 

2. คนที่ไม่พัฒนาทักษะตนเอง

ทักษะทางธุรกิจเป็นเรื่องที่ฝึกฝนได้ ยิ่งในปัจจุบันแหล่งข้อมูลความรู้ภาคทฤษฎีหรือเรื่องราวทางธุรกิจ สามารถหาชมหาอ่านได้ไม่ยากเลย แต่ทั้งหมดคงไม่มีความหมายใด เปรียบเสมือนนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาทฤษฎีแต่ไม่เคยเข้าห้องปฎิบัติการณ์ ธุรกิจส่วนตัว ก็เป็นไปในลักษณะเดียวกัน ปัญหาของคนเหล่านี้ คือ หาข้ออ้างที่จะไม่พัฒนาตนเองในทักษะการทำธุรกิจใด ๆ

 

3. คนที่กลัวความล้มเหลว หรือ กลัวความลำบากขึ้นสมอง

ทุกคนย่อมมีความกลัวในสิ่งแปลกใหม่หรือสิ่งที่ไม่เคยทำ ไม่เคยมีประสบการณ์ และนั้นคือข้อดีของการเรียนรู้เพื่อความอยู่รอด นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ล้วนคือคนที่เคยเจอสถานการณ์ล้มเหลวสิ้นหวังมาหมดแล้วทั้งสิ้น เขาเข้าใจความกลัว, ความเสี่ยง และความล้มเหลว ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งที่คุณต้องเอาชนะมาให้ได้จากกระบวนการเรียนรู้ ปัญหาของคนเหล่านี้ คือ อ่อนเพลียกับความกลัวที่ตนสร้างมาเองมากเกินไป

 

 

4. คนประเภท Perfectionism ย้อนกลับไปในอดีต

นักประดิษฐ์ผู้มีพรสวรรค์ต้องทำงานเป็นเวลาหลายปี เพื่อสร้างสรรสินค้าผ่านการวิจัยหลายครั้ง จนแน่ใจว่า สมบูรณ์แบบที่สุด จึงจะนำออกวางจำหน่ายใช้งาน แต่ในปัจจุบันมันเปลี่ยนไปแล้ว ตลาดเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การรอคอยความสมบูรณ์แบบ อาจไม่ทันกิน จะอยู่รอดได้อาจจะต้องใช้วิธีวางขายไป ทดสอบตลาดไป ปรับปรุงสินค้าไป เป็นลักษณะนี้มากกว่า ปัญหาของคนเหล่านี้ คือมักจะรอให้พร้อมไปเสียทุกเรื่อง ซึ่งส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการทำธุรกิจจริง

 

 

5. คนที่ ‘ธรรมดา’ เกินไป

หมายถึง เป็นคนใช้ชีวิตธรรมดามากเกินไป ผลกระทบนี้เกิดได้จากนิสัยส่วนตัวและการเรียนรู้ตั้งแต่เด็ก การสั่งสอนแบบป้อนข้าวป้อนน้ำ สั่งแล้วให้ปฎิบัติตาม โดยที่เด็กไม่เคยได้ใช้ระบบความคิดหรือตัดสินใจเอง เมื่อคุณเริ่มต้นวิถีชีวิตของผู้ประกอบการ คุณจะมีลักษณะแบบนั้นไม่ได้เลย เพราะความเป็นไปของธุรกิจขึ้นอยู่กับคุณ ปัญหาของคนเหล่านี้ คือ ไม่มีความคิดใหม่ ๆ ไม่กล้าเป็นผู้นำ และไม่กล้าตัดสินใจ

 

 

เห็นไหม ? ว่า คำว่า ‘นายจ้าง’ และ ‘ลูกจ้าง’ สะกดคำไม่ต่างกันมากนัก แต่รายละเอียด นิยามและความหมายนั้น แตกต่างกันแบบสุดขั้ว โดยแอดฯ เชื่อว่า อาชีพลูกจ้าง หรือพนักงานเป็นสิ่งที่ดี สามารถสร้างความมั่นคงในตำแหน่ง หน้าที่การงาน สวัสดิการต่าง ๆ โบนัส เงินคอมมิชชั่นมาเต็ม ! ซึ่งใครที่อยากเติบโตในองค์กรหรือเส้นทาง สายงานแบบนี้ ไม่ผิดอะไร และขอให้คุณมีวินัยในการทำงาน เดินตามเป้าหมาย สร้างความมั่นให้ได้ และไปให้ถึงหลักชัยของคุณให้ได้

แต่สำหรับ คนที่ฝันอยากออกมาเป็นเจ้าของธุรกิจ แต่ได้แค่ฝันเฟื่องอยู่.. ขอให้ลองปรับเปลี่ยนความคิด หากคุณอยากจะขีดเขียน วาดเส้นทางเดินใหม่ใน Way ของตัวเอง ก็จงเลิกทำ.. และ ละทิ้ง ! ตามแบบอย่าง 5 ข้อที่กล่าวไปซะ !