กรณีศึกษาอาหารแปรรูป ถั่วนานาชนิด กำลังได้รับความนิยมอย่างล้นหลามช่วงใกล้เทศกาลตรุษจีน โดยเฉพาะการขายผ่านทาง Live Streaming ซึ่งถือเป็นโอกาสสำคัญของธุรกิจส่งออกสินค้าสินค้าถั่วเปลือกแข็งและผลไม้อบแห้งของไทย
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองหนานหนิง รายงานการจับจ่ายใช้สอยสินค้าที่เป็นของขวัญของฝากช่วงใกล้เทศกาลตรุษจีนที่กำลังคึกคักเป็นอย่างมากในจีน จากข้อมูลแพลตฟอร์มทางออนไลน์ชี้ให้เห็นว่าในบรรดาสินค้าของฝากประเภทอาหาร สินค้าถั่วเปลือกแข็ง (Nut) ที่ทำเป็นเซตของขวัญมียอดขายสูงสุด เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันร้อยละ 30 โดยช่วงโปรโมชั่นสินค้าตรุษจีนทางออนไลน์ 3 เดือนที่ผ่านมา (พ.ย.2566 -ม.ค. 2567) แบรนด์สินค้าถั่วเปลือกแข็งชื่อดังอันดับต้นๆ “Three Squirrels” ทำยอดขายทางออนไลน์สูงถึง 1,036 ล้านหยวน สินค้าถั่วเปลือกแข็งจากเดิมแค่เป็นอาหารของขบเคี้ยวสำหรับผู้บริโภควัยรุ่น เนื่องจากมีรสชาติดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพ มากด้วยโปรตีนและวิตามิน เสริมแคลเซียม เพิ่มภูมิคุ้มกัน จึงได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญทางโภชนาการให้รับประทานถั่วเปลือกแข็งเป็นประจำทุกวัน จนกลายเป็นสินค้าอาหารของขบเคี้ยวยอดนิยมจากผู้บริโภคทั่วไป ขณะเดียวกัน สินค้าถั่วเปลือกแข็ง มีหลากหลายประเภท เพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้า อีกทั้ง พร้อมการพัฒนาการค้าทาง Live Streaming ทำให้สินค้าถั่วเปลือกแข็งเข้าใกล้ผู้บริโภคมากขึ้นโดยผ่านการประชาสัมพันธ์ KOL โดยเฉพาะ 2 ปีที่ผ่านมา (2021-2023) อุตสาหกรรมการแปรรูปสินค้าถั่วเปลือกแข็งได้รับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดเมื่อเทียบกับ 5 ปีที่แล้ว ซึ่งธุรกิจสินค้าถั่วเปลือกแข็ง จึงนับว่าเป็นมีธุรกิจที่มีศักยภาพสูงและมีตลาดอย่างกว้างขวาง
สถานการณ์เกี่ยวสินค้าถั่วเปลือกแข็งในจีน
สินค้าถั่วเปลือกแข็งใช้เมล็ดพืชหรือต้นพืชเป็นวัตถุดิบหลัก ผ่านกรรมวิธีตากแห้ง คั่ว อบแห้ง หรืออบกรอบ เพื่อรักษาคุณค่าทางอาหารให้มากที่สุด เนื่องด้วยเป็นอาหารของว่างที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและสอดคล้องกับนโยบาย “รับประทานอาหารโภชนาการและปรับโครงสร้างอาหารให้สมดุล”ของคณะกรรมการสาธารณสุขจีน จึงได้ขนานชื่อว่า “Healthy Snack Food ” หากแบ่งตามวัตถุดิบแล้ว สินค้าถั่วเปลือกแข็ง จะถูกแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่ 1. ถั่วเปลือกแข็งจากแตงและผัก เช่น เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง ถั่วลิสูง เมล็ดแตงโม 2. ถั่วเปลือกแข็งจากต้นพืช เช่น Walnut, Hickory, Pistachio, Pine nut, Badam และ Macadamia nut เป็นต้น
ธุรกิจการค้าสินค้าถั่วเปลือกแข็ง มีบทบาทสำคัญต่อการส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมภาคการเกษตรจีน จึงได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างเต็มที่ เช่นอำนวยความสะดวกด้านนโยบาย เทคโนโลยี พื้นที่เพาะปลูก ต้นทุนค่าสาธารณูปโภค ตลอดจนช่องทางส่งเสริมการขายทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ขณะเดียวกัน จีนได้พัฒนาห่วงโซ่อุปทานการอุตสาหกรรมการแปรรูปถั่วเปลือกแข็งอย่างครบวงจรและเป็นระบบ ตั้งแต่การเพาะปลูกวัตถุดิบถั่วเปลือกแข็ง, การแปรรูปและสร้างแบรนด์สินค้า, การจำหน่ายสู่ตลาดโดยผ่านร้านค้าออฟไลน์และแพลตฟอร์มออนไลน์ พร้อมกับการพัฒนาเศรษฐกิจ และการยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวจีน ทำให้ผู้คนให้ความสำคัญเรื่องโภชนาการทางอาหารมากขึ้นซึ่งนำมาโอกาสการพัฒนาอุตสาหกรรมการแปรรูปถั่วเปลือกแข็ง ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา อุตสาหกรรมการแปรรูปถั่วเปลือกแข็งเข้าสู่การพัฒนาแห่ง “ยุคทอง”ยอดการจำหน่ายสินค้าถั่วเปลือกแข็งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มให้ความสำคัญคุณภาพวัตถุดิบเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการเพาะปลูก ซึงทำให้จีนได้พัฒนาพื้นเมืองที่เพาะปลูกถั่วเปลือกแข็งอย่างมีความโดดเด่น (Nut Industrial Cluster Region) เช่น เมล็ดทานตะวันของมณฑลอานฮุย Walnut ของมณฑลเจ้อเจียง และ Macaddamia Nut ของมณฑลยูนาน ส่วนโรงงานแปรรูปสินค้าถั่วเปลือกแข็ง มักรวมตัวอยู่ในมณฑลภาคกลาง และภาคตะวันออกของจีน ทั้งนี้ แบรนด์ที่ชื่อดังสินค้าถั่วเปลือกแข็ง 4 อันดับแรกได้แก่ 1. Three Squirrels เน้นการจำหน่ายทางออนไลน์ ครองตลาดร้อยละ 9.7 อันดับ 2.Bestore เน้นการจำหน่ายทางออฟไลน์ครองตลาดร้อยละ 9.3 อันดับ 3. Qiaqia เป็นแบรนด์เก่าแก่ เน้นกลุ่มลูกค้าระดับกลาง ครองตลาดร้อยละ 9.1 อันดับ 4. Wolong แบรนด์ใหม่ เน้นกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ ข้อมูลจาก Intelligent Research Consulting แสดงให้เห็นว่า จนถึงปี 2022 ปริมาณการผลิตถั่วเปลือกแข็งของจีนสูงถึง 9.08 ล้านตัน และมีมูลค่าการจำหน่าย 212,260 ล้านหยวน หากเปรียบเทียบราคาต้นทุนถั่วเปลือกแข็ง เมล็ดทานตะวันมีราคาต้นทุนต่ำ ส่วนสินค้าเม็ดมะม่วงหิมพานต์ Almond Macaddamia จะมีราคาต้นทุนในระดับสูง อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคชาวจีนเน้นรสชาติสินค้ามากกว่าราคา กล่าวคือผู้บริโภคมีความยินดีใช้จ่ายกับสินค้าถั่วเปลือกแข็งที่มีราคาสูง
แนวโน้มการพัฒนาธุรกิจสินค้าถั่วเปลือกแข็ง
สมาคมธุรกิจถั่วเปลือกแข็งของจีนเปิดเผยแนวโน้มการบริโภคสินค้าถั่วเปลือกแข็งในตลาดจีนดังนี้ 1. นิยมถั่วที่ถอดเปลือก และรับประทานได้เลย ซึ่งรับประทานสะดวกในทุกโอกาส อีกทั้ง ยังสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าด้วย 2. นิยมถั่วเปลือกแข็งรวมมิตรหรือถั่วผสมกับผลไม้อบแห้งอื่น เช่น ถั่วผสมกับCranberry, องุ่นแห้ง พุทราไส้ Walnut จากการสอบถามจากองค์การวิจัย ผู้คนร้อยละ 76 นิยมรับประทานถั่วเปลือกแข็งรวมมิตร ร้อยละ 23 นิยมรับประทานถั่วเปลือกแข็งประเภทเดียว 3. การแปรรูปสินค้าถั่วเปลือกแข็งชั้นต้นสู่กระบวนการแปรรูปเชิงลึกเพื่อสร้างสินค้านวัตกรรมและสร้างสรรค์ตลอดจนก่อตั้งแบรนด์สินค้าในระดับ Hi-end
สถานการณ์การนำเข้าสินค้าถั่วเปลือกแข็ง
จีนเป็นตลาดใหญ่อันดับ 2 ในการบริโภคสินค้าถั่วเปลือกแข็งของโลก (รองจากอเมริกา) ถึงแม้จีนสามารถเพาะปลูกถั่วเปลือกแข็งเองได้ แต่ก็ยังไม่สามารถตอบสนองปริมาณความต้องการทางตลาดได้อย่างเพียงพอ ยังต้องพึ่งพาการนำเข้าถั่วเปลือกแข็งบางชนิดจากต่างประเทศ โดยจีนเป็นประเทศที่นำเข้าสินค้า Pistachio, Filbert, Almond, Cashew nut และ Hickory มากที่สุดของโลก โดยเฉพาะ Pistachio ต้องอาศัยการนำเข้าอย่างเดียว ซึ่งจีนสามารถตอบสนองตลาดได้เพียงร้อยละ 0.2 เท่านั้น และส่วนมากต้องอาศัยการนำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกา อิหร่าน และจากยุโรป เมื่อปี 2022 จีนมีการนำเข้าสินค้า Pistachio 140,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 จากปี่ที่ผ่านมามีข้อมูลเปิดเผยว่า Walnut ร้อยละ 42 และ Pistachio ร้อยละ 11 ของโลกถูกบริโภคโดยชาวจีน ทั้งนี้ ประเทศส่งออกถั่วเปลือกแข็งที่สำคัญ ได้แก่
• Pistachio: สหรัฐอเมริกา /อิหร่าน/ยุโรป/ตุรกี
• Almond: สหรัฐอเมริกา/สเปน/ออสเตรเลีย
• Macadamia: ออสเตรเลีย/จีน/แอฟริกาใต้ /เคนย่า
• Cashew: เวียดนาม กัมพูชา อินโดนีเซีย แอฟริกา
• Hazel: ตุรกี/อิตาลี/อาเซอร์ไบจาน
• Pecan: สหรัฐอเมริกา/เม็กซิโก
• Pine nut: จีน /รัสเซีย/ ปากีสถาน / อัฟกานิสถาน/สหรัฐอเมริกา
• Walnut: จีน
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองหนานหนิง ระบุว่าจีนเป็นตลาดใหญ่สำหรับการบริโภคสินค้าถั่วเปลือกแข็ง โดยเฉพาะช่วงเทศกาลเป็น High Season ในการจำหน่ายสินค้าถั่วเปลือกแข็ง หากในชีวิตประจำวันสินค้าถั่วเปลือกแข็ง ก็เป็นอาหารว่างที่ชาวจีนนิยมรับประทานเช่นกัน ธุรกิจสินค้าถั่วเปลือกแข็ง จึงเป็นสินค้าที่มีศักยภาพสูง ปัจจุบัน ไทยสามารถส่งออกสินค้าถั่วเปลือกแข็งโดยมี HS Code 0801 มาสู่ตลาดจีนได้ เช่น มะม่วงหิมพานต์, Macadamia, Pistachio, Walnut, Pecan และ Almonds เป็นต้น นอกจากนี้ ไทยยังมีความได้เปรียบส่งออกสินค้าผลไม้อบแห้ง ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับสินค้าถั่วเปลือกแข็งรวมรสชาติ เช่น มะม่วงอบแห้ง ผลฟิกอบแห้งกล้วยอบแห้ง มะพร้าวอบแห้ง ทุเรียนอบแห้ง บลูเบอร์รี่อบแห้ง ฯลฯ ซึ่งอาจเป็นโอกาสสำหรับธุรกิจสินค้าถั่วเปลือกแข็งของไทยในการเจาะตลาดจีน หรือสามารถร่วมมือทางการค้าในรูปแบบ OEM กับนักธุรกิจชาวจีน อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกอาจต้องศึกษารสนิยมและพฤติกรรมการบริโภคของชาวจีน ตลอดจนเรื่อง แนวโน้มสินค้าใหม่ๆ และบรรจุภัณฑ์ พร้อมทั้งอาศัยวิธีการขายรูปแบบ Live Streaming เพื่อเข้าถึงผู้บริโภคให้มากขึ้น ขยายโอกาสสินค้าถั่วเปลือกแข็งแบรนด์ไทยเข้าสู่ตลาดจีน