จับตาราคา “เนย” เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในตลาดโลกใกล้แตะระดับสูงสุดเท่าทีเคยมีมา


ไม่ใช่ “โกโก้” เท่านั้นที่ราคาพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์จากปัจจัยเรื่องของสภาพอากาศที่เลวร้าย และโรคที่มากับพืชจนส่งผลกระทบต่อแหล่งเพาะปลูก ทำให้ได้ผลผลิตน้อย นำมาสู่การปรับราคาของสินค้าที่มี “โกโก้” เป็นส่วนผสม ซึ่งคาดการณ์ว่าราคาจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ

เมื่อสำรวจตลาดพบว่ามีอีกหนึ่งวัตถุดิบที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด นั่นคือ “เนย” ที่ราคาเพิ่มอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเพิ่มขึ้น 18.5% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาในตลาดขายส่งของสหภาพยุโรประหว่างปี 2023 และ 2024 หากเป็นแบบนี้ต่อไปอาหารที่มีเนยเป็นส่วนผสม ไม่ว่าจะเป็น ขนมปังปิ้ง, เค้ก จะได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เพราะอะไร? ราคาเนยถึงพุ่งสูง

ราคาเนยที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเป็นผลมาจากปัจจัยหลายประการที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมนม เรื่องแรกคือ “การเมือง”

Margaret Butler ผู้จัดการภาคส่วนผสมจากนม คณะกรรมการอาหารไอริช Bord Bia กล่าวว่าจุดสูงสุดและต่ำสุดในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ผลิตภัณฑ์นม, เนย ไม่ใช่เรื่องแปลก โดยตลาดนมอยู่ในช่วงสวิงเล็กน้อยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา สาเหตุเกิดจากสงครามในยูเครน นับตั้งแต่เริ่มต้นเราได้เห็นราคาพลังงาน และราคาปุ๋ยพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก

ต้นทุนเหล่านี้กระทบสู่เกษตรกร ผู้แปรรูปผลิตภัณฑ์นม และผู้ค้าปลีก ที่ต้องแบกรับ

นอกจากนี้ ปัจจัยเรื่องสภาพอากาศที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมนม โดยในปี 2020 ภัยแล้งสร้างผลกระทบต่อประเทศต่าง ๆ ในยุโรป จนหญ้าที่ให้โคนมกินมีปริมาณที่ลดลง

การเปลี่ยนแปลงข้อบริบททางการเมือง และสิ่งแวดล้อมครั้งใหญ่ทำให้เกิดความกังวลในหมู่ผู้แปรรูปผลิตภัณฑ์นมว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมจะลดการผลิตนม เนื่องจากมันไม่สามารถสร้างผลกำไร หากพวกเขารักษาหรือเพิ่มกำลังการผลิต ไม่เพียงเท่านั้น หลายคนมีมุมมองว่าความเชื่อว่าเนยสมควรได้รับให้เป็นสินค้าที่คุณภาพสูง เพราะไขมันนม และเนยได้รับการยอมรับถึงคุณค่าทางโภชนาการมาสักระยะหนึ่งแล้ว

ราคาเนยจะขึ้นต่อหรือไม่?

แม้ว่าราคาเนยในตลาดขายส่งลดลง แต่ก็ประมาทเรื่องสภาพอากาศสุดขั้วในทวีปยุโรปไม่ได้ ทั้งฝนตกหนักจนทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายประเทศ นั่นหมายความว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมไม่สามารถเลี้ยงวัวในพื้นที่ของตัวเองได้อีกต่อไป เนื่องจากพื้นดินเปียกเกินไป และโคนมอาจสร้างความเสียหายให้กับทุ่งนาได้ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นช่วงเวลาแห่งความว่างเปล่า ซึ่งต้องประเมินว่าสุดท้ายแล้วจะผลิตนมได้ปริมาณเท่าไหร่ แน่นอนว่าหากปริมาณความต้องการสูงขึ้น ราคาก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย

อีกทั้ง ด้วยการปรับราคาที่สูงขึ้น กลายเป็นวิกฤตค่าครองชีพทำให้ผู้บริโภคต้องคิดให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อ หรืออาจเปลี่ยนพฤติกรรมไปบริโภคสินค้าอื่นที่มีความใกล้เคียงกันแทน

ที่มา: foodnavigator

#smartsme #เนย #ราคาเนย