จับมือทางวิชาการ รัฐ-เอกชน-สังคม ยกระดับการวิจัยไทย สู่แผนปฏิบัติการแห่งความยั่งยืน


ขับเคลื่อนภาคการศึกษา บูรณาการ ตำราวิจัย วิชาการ มหาวิทยาลัยสู่การปลดล็อกปัญหาเชิงพื้นที่ เปลี่ยนผ่านประเทศสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)

การศึกษา อีกหนึ่งรากฐานสำคัญของความยั่งยืน และนโยบายการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ก็เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล ซึ่งนายเศรษฐา ทวีสินนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศความมุ่งมั่นระดับประเทศ เพื่อขับเคลื่อน SDGs และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

โครงการสัมมนา “เปลี่ยนผ่านประเทศสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่าง ยั่งยืน ด้วยฐานความรู้ นวัตกรรม และความร่วมมือรัฐ เอกชน สังคม” หรือ “Social Value Thailand Forum” สานพลังภาคการศึกษา ขับเคลื่อนความร่วมมือรัฐเอกชนสู่การบรรลุผลสัมฤทธิ์เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Accelerating Education and Public Private Partnership for the SDGs)

มุ่งเป้าเพื่อให้เกิดการเตรียมความพร้อมของภาคการศึกษาไทย ตลอดจนเปิดพื้นที่ในการส่งเสริมความตระหนักและแลกเปลี่ยนแนวทางกรณีศึกษาระหว่างหน่วยงานภาคการศึกษา ในการผลักดันการสร้าง Impact สู่สังคม ทั้งในระดับกลยุทธ์ บูรณาการในการบริหารจัดการขององค์กร (Impact Management Framework) และเตรียมความพร้อมระดับการนำองค์กรทั้งในระดับบริหาร สู่ระดับการส่งเสริมศักยภาพ บุคคลากรในภาคการศึกษา (Impact Professional) สู่การปรับเปลี่ยนแนวทางในการปฏิบัติเพื่อสอดคล้องส่งเสริมยุทธศาสตร์องค์กรในการพัฒนาชุมชนสังคมร่วมกันอย่างยั่งยืน

ภายใต้การจัดการของสมาคมผู้ประเมินมูลค่าทางสังคมไทย (Social Value Thailand) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.) ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (ทปอ.มทร.) สมาคม พันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม (Engagement Thailand) เครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย (SUN Thailand) และสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (UN Global Compact Network Thailand)

อว.ร่วมเปลี่ยนผ่านประเทศไทย
ผ่านการยกระดับการศึกษาสู่ลงลึกสู่ฐานรากสังคม

นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้อำนวยการกองขับเคลื่อนและพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวง อว. ร่วมงานสัมมนา “เปลี่ยนผ่านประเทศสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยฐานความรู้ นวัตกรรม และความร่วมมือรัฐ เอกชน สังคม” หรือ “Social Value Thailand Forum” และปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “Impact university Impact Partnership สานพลังขับเคลื่อนนโยบายความมีส่วนร่วมสู่การบรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน” ว่า การขับเคลื่อนประเทศเปลี่ยนผ่านสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล

ที่ได้ประกาศความมุ่งมั่นระดับประเทศ เพื่อขับเคลื่อน SDGs และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ในงาน SDG Summit 2023 ณ สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ทางกระทรวง อว. ได้ดำเนินการสนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านการดำเนินงานโครงการสำคัญต่างๆ ดังนี้ คือ

-โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (University to Tambol: U2T)
-โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T ระยะที่ 2) ผลการดำเนินงานโครงการดังกล่าวนอกจากจะส่งผลให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ สนับสนุนโอกาสการเรียนรู้และการมีสุขภาพที่ดี เพิ่มความเข้มแข็งในการมีส่วนร่วมของชุมชน ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ยังตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) อีกด้วย

จากตำรานักวิชาการ
สู่วิจัยเชิงพื้นที่ สร้างแรงกระเพื่อมสู่สังคม

ภายในงานเสวนายังได้มีการหารือร่วมกันกับอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อนำไปสู่การผลักดันความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษาและภาคีเครือข่ายภาครัฐ เอกชน สังคม (Impact Partnership) ให้เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน เชื่อมโยงศักยภาพของภาคการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุดสู่ประโยชน์สังคม ด้วยการประเมินผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ สังคม ตัวเลข และคุณค่าผ่าน SIA และ SROI เพื่อหาผลสรุปของงานทางวิชาการ

และมีข้อสนอให้ตั้งเป้าหมายร่วมกันโดยยึดปัญหาเป็นปัจจัยหลัก (Social Centric) ในการดำเนินการเชิงนโยบาย สำหรับการทำงานที่มีความจำเป็นที่ต้องนำนโยบายเหล่านี้มาทำให้เกิดขึ้นจริง โดยดำเนินการอย่างมีอิมแพคต่อสังคม ชุมชนและท้องถิ่นที่ทางมหาวิทยาลัยได้เข้าไปดำเนินการ

เครื่องมือการประเมินผลกระทบทางสังคม (Social Impact Assessment : SIA) และการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (Social Return On Investment : SROI) เป็นเครื่องมือสำหรับองค์การที่ทำงานเกี่ยวข้อง กับสังคมและการดำเนินกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ใช้สำหรับนำมาวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการสนับสนุนงบประมาณ (ต้นทุน) ขององค์การว่า สามารถสร้างผลตอบแทนคืนสู่สังคมได้อย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลเชิงผลลัพธ์ (Outcome) และผลกระทบ (Impact) หรือไม่ ซึ่งในปัจจุบันเครื่องมือ SROI ได้รับความสนใจจากองค์การที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสังคมทั่วโลกและถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือ วัดความสำเร็จของโครงการเพื่อสังคมทั้งในโครงการภาครัฐ รวมถึงกลายเป็นเกณฑ์ชี้วัดระดับความสำเร็จของกิจกรรมในหลายบริบท

3พลัง ผนึกแรงขับเคลื่อนสังคม 4 ทิศทาง

ทั้งนี้ ได้มีข้อสรุปเสนอ แนวทางร่วมกัน 3 ฝ่าย ระหว่าง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) , ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) และสมาคมผู้ประเมินมูลค่าทางสังคมไทย ร่วมมือกันทำงานเชิงรุกขับเคลื่อน 4 ทิศทาง
1. การส้างระบบนิเวศที่ส่งผลกระทบต่อสังคม (Impact Management Ecosystem)
2. จัดหาทรัพยากรที่ช่วยในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านคล่องตัว (Resource Mobilization)
3. ขับเคลื่อนนวัตกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสังคม (Impact Innovation Driven)
4. สร้างพันธมิตรเพื่อนำไปสู่เป้าหมายการพัฒนายั่งยืน (Joint Impact Partnership for the Goals)

บูรณาการเชื่อมรอยต่อ
ESG -SDGs ลงสู่Action

ในบทบาทของมหาวิทยาลัยก็เช่นกัน แต่ละมหาวิทยาลัยก็มีบริบทที่แตกต่างกัน ทั้งในแง่ของกลยุทธ์ ตลอดจนการตั้งเป้ามุ่งไปที่นโยบายต่างๆ หลายๆมหาวิทยาลัยมองการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นเรื่องแรกๆ ซึ่งก็มีการดำเนินการผ่านคำขวัญ อัตลักษณ์ โดยบูรณาการเข้ากับวิสัยทัศน์ ส่งเสริมผ่านกิจกรรมต่างๆภายในมหาลัยที่ผูกกับ SDGs และ ESG เป็นความท้าทายทั้งเชิงกลยุทธ์และเชิงปฏิบัติ ซึ่งได้ข้อสรุปว่าควรดำเนินการผ่านนโยบายที่ชัดเจน มีการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมสอดคล้องกับกลยุทธ์ จึงจะนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง เป็นข้อสรุปของกลยุทธ์การบริหารภาคการศึกษาสู่การบูรณาการสะท้อนส่งผลกระทบอย่างชัดเจนในสถาบันการศึกษา ( High Impact University)

เครือข่ายยั่งยืน ชู 4 หัวใจ
ขยายโลกการเรียนรู้สู่ลงมือทำ

โดยทางผศ.ดร.กฤษชัย ศรีบุญมา ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย (SUN Thailand) และรองอธิการบดี ฝ่ายพัฒนากิจการมหาวิทยาลัยเพื่อความยั่งยืน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้นำเสนอเรื่องการขับเคลื่อนความเป็นกลางทางคาร์บอนให้ได้ภายในปี 2583 (Carbon Neutrality 2040) ซึ่งด้วยความร่วมมือจากภาคของมหาวิทยาลัยจะสามารถต่อยอดได้เร็วกว่านโยบายของรัฐ และยังเชิญชวนทุกหมาลัยตั้งเป้าเรื่องคาร์บอนร่วมกัน เพื่อให้มีเป้าหมายและบรรลุการเป็นการสร้างผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง ( High Value Impact) ในภาคการศึกษาไทย

ในเชิงของการประเมิณผลกระทบ ทาง SUN ได้มีการเสนอให้ลดโลกร้อนผ่านการเก็บผลคาร์บอน ผ่าน 4 ข้อ

1.การประสานงานผ่านการเรียนรู้
2.ให้ความรู้ในการจัดคอนเฟอแรนซ์ด้านความยั่งยืน
3.ส่งเสริมกิจกรรมที่นักศึกษามีส่วนร่วม
4.ขยายความร่วมมือในมิติของสร้างผลกระทบให้เกิดคุณค่า ( Impact Value)

ผ่านเครื่องมือกลุ่มเครือข่าย SUN ที่แข็งแรง ทั้ง 3 ด้าน ในการเวิร์กชอปเพื่อสะสมข้อมูล ผลักดันงานวิจัยนวัตกรรม และประเมินผลกระทบผ่านเรื่องนี้ โดยตั้งเป้าเป็นศูนย์กลาง SDGs อย่างยั่งยืน

ในส่วนของ ผศ.นพ.ธรา ธรรมโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้กล่าวถึงกลยุทธ์การบริหารภาคการศึกษาสู่การบูรณาการว่า มข. มีการเชื่อมโยงกันทั้งกรอบแผนงาน กลยุทธ์ 3 เสาผ่านหลักในด้าน ESG ซึ่ง มข. มีความเชื่อมโยงกับชุมชน ทำให้การทำงานกับเครือข่ายง่ายขึ้น พัฒนาสังคมต่อไปได้อย่างง่ายมายิ่งขึ้น ในภาคของการขับเคลื่อนผ่านนโยบายของภาครัฐนั้นมักจะมาพร้อมเงินและแรงกดดัน

การทุ่มทรัพยากรในการการขับเคลื่อนผ่านความต้องการของมหาลัย การขับเคลื่อนผ่านแรงสะท้อนของสังคม และ ขับเคลื่อนผ่านปัญหาเหล่านี้นั้น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะเป็นตัวกำหนด High Value ของมหาวิทยาลัยฯ และระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่จะขับเคลื่อนให้มหาลัยมีผลกระทบต่อสังคม ภาครัฐต้องเป็นคนออกนโยบายโดนผ่านการบูรณาการอย่างสมเหตุสมผล จึงจะสร้างผลกระทบได้อย่างยั่งยืน

ในด้านการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ ขับเคลื่อนผลกระทบ สะท้อนบทบาทภาคการศึกษาและความร่วมมือรัฐ เอกชน สู่ท้องถิ่น ซึ่งในการทำงานมีความจำเป็นที่จะต้องนำนโยบายเหล่านี้มาทำให้เกิดขึ้นจริง นอกจากนี้ยังต้องอิมแพคต่อท้องที่และท้องถิ่นโดยยึดปัญหาเป็นปัจจัยหลัก (Social Centric)

ราชภัฎ แปลง 7 คุณค่าท้องถิ่น สู่มูลค่าเศรษฐกิจ สังคม

ดร.ทัศนีย์ นาคเสนีย์ รองคณบดีฝ่ายแผน งบประมาณและงานวิจัย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงได้ใช้ เครื่องมือการประเมินผลกระทบทางสังคม (Social Impact Assessment : SIA) และการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (Social Return On Investment : SROI) เพื่อหาผลสรุปของงานทางวิชาการ บริการรับใช้ทางสังคม การสร้างอิมแพค ผ่านการวิเคราะห์ KPI เพื่อสร้างความยั่งยืนร่วมกันของรัฐ เอกชน และท้องถิ่นนโยบายต่างๆ
โดยมีข้อเสนอแนะว่าจะทำอย่างไรที่จะแปลงคุณค่าเป็นมูลค่า ผ่าน 7 หัวข้อ วิชาการรับใช้ท้องถิ่นและสังคม
การมีส่วนร่วมและการยอมรับของท้องถิ่นและสังคมเป้าหมาย
สภาพการณ์ของท้องถิ่นและสังคมก่อนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
กระบวนการที่ทำให้ท้องถิ่นและสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
ความรู้หรือความเชี่ยวชาญที่ใช้ในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
การคาดการณ์สิ่งที่จะตามมาหลังจากการเปลี่ยนแปลงได้เกิดขึ้นแล้ว
การประเมินผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากความรู้
แนวทางการติดตามและธำรงรักษาพัฒนาการที่เกิดขึ้นให้คงอยู่

องค์ความรู้สถาบันไทย
ท็อป10ประเมินวัดผลยั่งยืนระดับโลก

และยังมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า ในบทบาทของอาจารย์คงไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ทุกมิติ แต่ในภาคนโยบายและความร่วมมือ อาจารย์จึงมีหน้าที่ค้นหาองค์ความรู้ ด้วยการใช้วิธีต่างๆเช่น ปารชญ์ชุมชน ในการสร้างมูลค่า สร้างความรู้ความเข้าใจนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม

ทางด้านกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อว. ยังได้สนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาไทยเข้าสู่การจัด อันดับของ THE Impact Ranking เพื่อพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา ภายใต้การดำเนินงานโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) จากผลการจัดอันดับ THE Impact Ranking ประจำปี 2023 พบว่า มีจำนวนสถาบัน อุดมศึกษาไทยติดอันดับ จำนวน 65 แห่ง จากสถาบันอุดมศึกษาที่เข้ารับการจัดอันดับ 1,591 แห่งจากทั่วโลก

สถาบันอุดมศึกษาไทยที่ได้รับการจัดอันดับ Top 10 ของโลก ที่ดำเนินนโยบายตสอคดล้องกับเป้าหมาย SDGs ่ในด้านต่าง ๆ ดังนี้ คือ

เป้าหมายที่ 1 ขจัดความยากจนทุกรูปแบบในทุก พื้นที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ติดอันดับที่ 4 ของโลก

เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหยบรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการและส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ติดอันดับที่ 9 ของโลก

เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกวัย มหาวิทยาลัยมหิดล ติด อันดับที่ 3 ของโลก

เป้าหมายที่ 5 บรรลุความเท่าเทียมระหว่างเพศ และเสริมอำนาจให้แก่สตรีและเด็กหญิง มหาวิทยาลัยมหิดล ติดอันดับที่ 7 ของโลก

เป้าหมายที่ 7 สร้างหลักประกันให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาที่ย่อมเยา มหาวิทยาลัยมหิดล ติดอันดับที่ 5 ของโลก

เป้าหมายที่ 17 เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนมหาวิทยาลัยมหิดล ติดอันดับที่ 5 ของโลก