6 วิธีสร้างแนวคิดอย่างยั่งยืนให้ธุรกิจของคุณ แถมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์


แน่นอนว่าเมื่อใครก็ตามที่เปลี่ยนสถานะมาเป็นผู้ประกอบการ ย่อมอยากให้ธุรกิจที่ทำอยู่สามารถดำเนินการได้ต่อไปเรื่อย ๆ ไม่ต้องเดินทางมาถึงทางตัน และต้องปิดตัวไปในที่สุด โดยเรื่องนี้การสร้างแนวคิด หรือหลักการให้กับธุรกิจจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นคำตอบในเรื่องนี้

ตามรายงานแนวโน้มความยั่งยืนปี 2023 ของ Alibaba พบว่า 73% ของผู้บริโภคจาก14 ตลาด ในทวีปยุโรป, เอเชีย และตะวันออกกลาง มีความปรารถนาที่จะใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับผลสำรวจ Global Consumer Insights Pulse Survey ประจำปี 2023 ระบุว่า 70% ของผู้ตอบแบบสอบถามยินดีจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าที่มีความยั่งยืน

การยึดมั่นในเรื่องของความยั่งยืนไม่ได้เป็นประโยชน์กับสภาพแวดล้อม และเศรษฐกิจท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังส่งผลเชิงบวกให้กับแบรนด์อีกด้วย ดังนั้น เรามาดูกลยุทธ์ทางธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่คนเป็นผู้ประกอบการสามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจได้ ผ่านวิธีการเหล่านี้

1.เพิ่มความโปร่งใส่ให้ผลิตภัณฑ์

ใช้ทุกโอกาสเพื่อเน้นย้ำถึงคุณภาพที่ยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ ทั้งจากการโฆษณา การขาย โดยการใส่คำว่า “ธรรมชาติ” และ “เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์ดูโดดเด่นขึ้นมา แทนที่คุณจะพึ่งพาคำนี้ให้ทำงาน ผลิตภัณฑ์ของคุณเองก็ต้องตอบโจทย์เป็นไปอย่างที่พูดจริง ๆ ด้วย

ผู้ซื้อมักจะชื่นชมผลิตภัณฑ์ที่มีความแปลกใหม่ เช่น การย่อยสลายได้เอง รวมถึงการแบ่งปันข้อเท็จจริง และรอบคอบ เหล่านี้จะสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งให้กับกลยุทธ์การตลาดของธุรกิจ

2.สร้างความร่วมมือกับซัพพลายเออร์ที่ยั่งยืน

ซัพพลายเออร์มักถูกว่าเป็นส่วนขยายให้กับธุรกิจ หากคุณหาซัพพลายเออร์ที่มีค่านิยมตรงกันในเรื่องสิ่งแวดล้อมย่อมเป็นเรื่องที่ดี โดย 44% ของผู้เริ่มต้นธุรกิจต้องการได้พาร์ทเนอร์ที่มีความต้องการตรงกันในเรื่องความยั่งยืน โดยคุณอาจจะให้ข้อเสนอที่จูงใจให้กับซัพพลายเออร์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งกับธุรกิจของคุณ

ตัวอย่าง หากธุรกิจที่ทำมีวัตถุดิบที่ขึ้นอยู่กับฤดูกาล เช่น ผลไม้, ดอกไม้ ให้จัดลำดับความสำคัญของผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่ายในท้องถิ่นก่อน เพื่อลดความจำเป็นในการขนส่งทางไกล และช่วยลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม

3.ใช้บรรจุภัณฑ์รีไซเคิล

การใช้บรรจุภัณฑ์รีไซเคิลเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์อย่างยั่งยืน สอดคล้องกับกรณีศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่าผู้บริโภคเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ โดย 54% ต้องการให้บริษัทให้ความสำคัญกับบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ 57% สนับสนุนให้มีบรรจุภัณฑ์น้อยที่สุดเพื่อลดขยะ

4.ยอมรับแนวทางการลดขยะ

การลดของเสียไม่ใช่เรื่องน่าเบื่อสำหรับแบรนด์ และคู่ค้าของคุณ แต่เป็นวิธีอันชาญฉลาดที่จะสร้างสถานการณ์เป็นโอกาสใช้ประโยชน์ร่วมกัน โดยมีจุดประสงค์ที่จะอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่จะส่งผลดีต่อบริษัทคุณ

ตัวอย่างผู้ขายรายหนึ่งผลิตเทียนถั่วเหลือง และเพิ่งเปิดตัวข้อเสนอที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเทียนจะอยู่ในแก้วรีไซเคิล เมื่อเทียนหมด ผู้ซื้อสามารถคืนแก้ว และขอรับส่วนลดสำหรับการซื้อครั้งต่อไปได้ นี่เป็นวิธีลดของเสีย และสร้างแรงจูงใจให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ

5.ปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ตามความต้องการ

สาเหตุหลักประการหนึ่งว่าทำไมองค์กรต่าง ๆ ไม่สามารถสร้างความยั่งยืนได้เพราะพวกเขามักให้ความสำคัญของผลผลิตที่สูงกว่า เปรียบเทียบโรงงานขนาดใหญ่ที่เน้นปริมาณการผลิตเป็นหลัก แตกต่างจากแบรนด์ท้องถิ่นที่จะได้เปรียบอย่างมากในเรื่องนี้ เนื่องจากสามารถจัดการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าได้จริง ๆ

ในยุคที่การบริโภคมีปริมาณมาก การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะทำให้แบรนด์กระตุ้นให้ลูกค้าซื้อตามความต้องการ

6.ส่งเสริมวัฒนธรรมความยั่งยืน

การฝึกสติ และปฏิบัติตามค่านิยมด้านความยั่งยืนยังคงเป็นสิ่งสำคัญ และการเสริมสร้างวัฒนธรรมจากภายใน พิจารณาการส่งเสริมการขายโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และให้รางวัลในเรื่องพฤติกรรมที่แสดงถึงความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมภายในทีมคุณ

คนเป็นผู้ประกอบการควรลองหาวิธีที่จะสนับสนุนด้านสุขภาพจิตแก่พนักงานของคุณ ฝังดีเอ็นเอความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมลงไป

ที่มา: entrepreneur