CP ALL- KKUSP-สมาคมค้าปลีกฯ จัดต่อ “SME x Influencer” ครั้งที่ 2 หนุน SMEโตไกลไปด้วยกัน

เมื่อวันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม 2567 ซีพี ออลล์ ร่วมกับ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น อุทยานวิทยาศาตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ สมาคมการค้าปลีกและเอสเอ็มอีทุนไทย ผนึกกำลังจัดกิจกรรมสัมมนาออนทัวร์ขึ้น เป็นครั้งที่ 2 ในโซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น (ต่อจากจังหวัดเชียงใหม่ที่ได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม) เพื่อให้เหล่า SME NewGen รวมไปถึง Influencer ได้มีโอกาสมาเข้าร่วมฟังและอัปเดตเทรนด์ใหม่ ๆ นำไปต่อยอดสร้างรายได้ให้ธุรกิจเพิ่มขึ้น พร้อมสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนทำธุรกิจ ในหัวข้อ “SME NewGen สร้างตัวตนให้เป็น ยอดขายก็ปัง”

 

สัมมนาครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรก เต็มอิ่มกับความรู้ในหัวข้อ เจาะลึกเคล็ดลับการสร้างตัวตนให้กับเจ้าของธุรกิจ เพื่อสร้างโอกาสในการเพิ่มยอดขายให้ทะลุหลักล้าน รวมไปถึงอัปเดตเทรนด์ เทคนิคในการทำคอนเทนต์ใหม่ ๆ ที่เหมาะกับเหล่า SME โดย คุณแอ๊ม ศรัณย์ แบ่งกุศลขจิต เจ้าของช่อง “การตลาดการเตลิด”

 

ช่วงที่สอง พูดคุยกับเจ้าของกิจการตัวจริง ที่จะมาร่วมแชร์ประสบการณ์ให้คำแนะนำในการทำธุรกิจ มุมของการเป็น SME และ Influencer ว่าการสร้างตัวตนในฐานะของเจ้าของธุรกิจสามารถช่วยเพิ่มยอดขายได้เพิ่มขึ้น โดย คุณนิค พลากร เชาวน์ประดิษฐ์ เจ้าของแบรนด์ “จอลลี่แบร์” ขนมเยลลี่รูปหมีที่ถูกใจใครหลายคน และคุณเมอา พรพรรณ เรืองปัญญาธรรม Influencer ชื่อดัง จากช่อง “MayyR” และเป็นเจ้าของ 11AM cafe and Space ร้านกาแฟชื่อดังในจังหวัดขอนแก่น

 

คุณแอ๊ม ศรัณย์ แบ่งกุศลจิต เจ้าของช่อง “การตลาดการเตลิด” เล่าว่า ในยุคนี้การสร้างแบรนด์เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะหาก SME สามารถสร้างแบรนด์ได้ดี ก็จะช่วยให้สินค้าและบริการขายได้ง่ายขึ้น ซึ่งหัวใจของการสร้างแบรนด์คือการทำซ้ำอย่างต่อเนื่อง ต้องหมั่นเล่าเรื่องราวให้ผู้ชมรู้สึกร่วมไปกับเราว่าเราเป็นสิ่งนั้นอย่างแท้จริง ส่วนใครที่เริ่มต้นธุรกิจการหาความรู้ใหม่ ๆ เป็นสิ่งสำคัญมาก และยุคนี้เป็นยุคที่สามารถหาความรู้ได้ตลอดเวลาบนโลกอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็น ติ๊กต๊อก, ยูทูป, เว็บไซต์ ก็จะช่วยให้ผู้ประกอบการลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจได้ ด้านการสร้างตัวตนให้กับแบรนด์ควรเริ่มจากการเลือกใช้แพลตฟอร์มที่เราถนัด สำหรับผู้ประกอบการในต่างจังหวัดมองว่ามีความได้เปรียบในเรื่องการใช้ทรัพยากรท้องถิ่นที่มีราคาถูก การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตอย่างเท่าเทียมกัน สภาพแวดล้อมที่หลากหลายเอื้อต่อการสร้างคอนเทนต์ และภาษาท้องถิ่นก็นับเป็นอีกเสนห์ที่สามารถเข้าถึงผู้คนได้ง่ายขึ้น

 

คุณนิค พลากร เชาวน์ประดิษฐ์ เจ้าของแบรนด์ “จอลลี่แบร์” เล่าว่า ตนเองเป็นทายาทรุ่น 2 ที่เข้ามาสืบทอดกิจการ ปัจจุบันธุรกิจดำเนินมากว่า 51 ปีแล้ว จุดเริ่มต้นเกิดจากคุณพ่อได้มีโอกาสเดินทางไปดูงานที่ประเทศออสเตรเลีย แล้วได้เห็นหมีโคล่า จึงเป็นที่มาของขนมเยลลี่รูปหมีแบรนด์จอลลี่แบร์ ความโดดเด่นของสินค้าคือเรื่องความอร่อย คุ้มค่า คุณภาพดีในราคาย่อมเยา และความสามารถในการ Adapt to Changes โดยจอลลี่แบร์เริ่มขายในเซเว่น ปี 2530 หรือ 37 ปีมาแล้ว ภายใต้มาตรฐาน FSSC 22000, GMP & HACCP CODEX, ISO 22000, Halal และ SEDEX

สำหรับคำแนะนำที่อยากบอก SME หากเราต้องการทำสินค้าให้สำเร็จได้เราต้องใช้ความมุ่งมั่นและความพยายาม ต้องเรียนรู้จากการลองผิดลองถูกเพื่อหาจุดแข็งของตัวเองให้เจอ อย่ารีบท้อถอย ในแง่ปัญหาของผู้ที่เริ่มสร้างแบรนด์มองว่าเป็นเรื่องการแข่งขันที่สูงมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องต้นทุน การใช้เทคโนโลยีทันสมัยที่เข้าถึงได้ยาก ผู้ประกอบการจึงต้องหาจุดที่ผู้บริโภคต้องการให้ได้ แต่ด้วยปัจจุบันการสื่อการเปิดกว้างกว่าในอดีตทำให้ต้นทุนโฆษณาลดลงมากกว่าในอดีต จอลลี่แบร์เองก็หันมาปรับตัวใช้สื่อออนไลน์มากขึ้น พร้อมใส่ใจการการสร้างแบรนด์ไปอย่างยั่งยืนเพื่อให้ผู้บริโภคไว้วางใจจนกลับมาซื้อซ้ำ ควบคู่กับการสร้างเน็ตเวิร์คให้กับแบรนด์ เพราะยุคนี้การจะเดินไปคนเดียวเป็นเรื่องยาก เช่น การนำแบรนด์ไปร่วม Collab กับแบรนด์อื่น ๆ ขณะเดียวกันการสร้างแบรนด์ก็ต้องระมัดระวัง เพราะแบรนด์ก็เหมือนลูก การจะสั่งสมชื่อเสียงให้แบรนด์เติบโตได้ต้องใช้ความพยายามและระยะเวลายาวนาน เวลาจะสื่อสารอะไรออกไปเราก็ต้องระวังมากขึ้นเพื่อลดการเสียหาย เวลาเราจะทำอะไรอย่าทำสิ่งที่ฉาบฉวย แต่ควรทำในสิ่งที่ยั่งยืน อย่างเรื่องการผลิตสินค้าก็ควรมีหลายรูปแบบหลายระดับราคา เพราะยิ่งเรามีเสินค้ายอะมากก็เปรียบเสมือนการมีรากฐานที่แข็งแกร่ง

การที่จอลลี่แบร์เติบโตมาถึงวันนี้ได้ เราก็มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงหลัง เนื่องจากมีพันธมิตรมืออาชีพอย่าง เซเว่น ซึ่งเซเว่นมีข้อดีมาก ๆ ตั้งแต่การคัดสรรสินค้า การให้คำแนะนำในสิ่งที่เราไม่มี และเซเว่นยังมีข้อมูลผู้บริโภคเพื่อให้เรานำมาพัฒนาสินค้าต่อยอด สำหรับใครที่อยากนำสินค้าเข้าเซเว่น แนะนำให้เริ่มจากการสังเกตดูว่าสินค้าที่เรามีในเซเว่นมีหรือไม่ เพื่อศึกษาคู่แข่ง และคีย์หลักของเซเว่นคือเรื่องความแปลกใหม่ของสินค้า ดังนั้นสิ่งที่เซเว่นต้องการคือเรื่องปริมาณ ทั้งด้านราคาและทุกอย่าง ผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ จึงต้องพัฒนาสินค้าที่แปลกใหม่ ส่วนผู้ประกอบการที่มีต้นทุนไม่สูงมากก็สามารถเจรจาเพื่อร่วมพัฒนาสินค้าไปวางขายในรูปแบบ only at 7-11 ได้ ซึ่งจอลลี่แบร์เองก็มีสินค้าหลาย SKU ที่ทำอยู่ ส่วนใครที่ค้าขายออนไลน์แล้วประสบปัญหาการแข่งขันเรื่องราคา เราควรพัฒนาสินค้าให้มีจุดแข็งเหนือกว่าคู่แข่ง เราควรทำสินค้าที่เขาทำไม่ได้ และมีความแปลกใหม่จากท้องตลาด

 

คุณเมอา พรพรรณ เรืองปัญญาธรรม Influencer ชื่อดัง จากช่อง “MayyR” เล่าว่า การสร้างตัวตนของเราเริ่มจากการสื่อสารเอกลักษณ์ความเป็นตัวเราออกไปในโลกออนไลน์ ขณะที่การเริ่มต้นธุรกิจเราก็เริ่มต้นจากความชอบ เพื่อให้เรามีแรงกายแรงใจในการทำ นอกจากนี้ยังต้องมองอีกหลายปัจจัยประกอบกัน เช่น ตลาด เทรนด์ผู้บริโภค เพื่อให้ธุรกิจของเรามีโอกาสมากที่สุด อย่างการทำร้าน 11AM cafe and Space เรามองเห็นแล้วว่าเทรนด์ผู้บริโภคที่นิยมไปนั่งร้านกาแฟมาแรง ทำให้ธุรกิจนี้มีโอกาสที่จะไปต่อได้ และอีกสิ่งสำคัญคือการเตรียมความรู้ก่อนทำธุรกิจเพื่อลดปัญหาและอุปสรรค การสร้างคอนเทนต์ออนไลน์จึงต้องหันมาโฟกัสกับคอนเทนต์ที่เป็นประโยชน์ด้วย ด้านการเป็นอินฟลูเอนเซอร์ที่ดีควรเริ่มจากความมั่นใจ ต่อมาต้องลงมือทำ และสุดท้ายหมั่นพัฒนาตัวเองตลอดเวลา ในเรื่องหน้าตาสำคัญต่อการสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์หรือไม่ มองว่าจริงอยู่ที่หน้าตาสามารถช่วยให้เราเข้าถึงคนได้ง่าย แต่ก็ไม่ใช้ทั้งหมดที่จะช่วยส่งเสริมสินค้าเราได้ เพราะในแง่การทำธุรกิจต้องมีหลายสิ่งประกอบกัน เช่น การสร้างสินค้าให้มีจุดแข็ง เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจต่อไปได้

 

อีกความพิเศษของงานนี้ยังมีการออกบูธ SME NewGen ให้ผู้เข้าร่วมงานนั่งพูดคุยและขอคำแนะนำจากเหล่าวิทยากรทั้ง 3 และบูธ ศูนย์เซเว่น อีเลฟเว่น สนันบสนุน เอสเอ็มอี ในรูปแบบ One-on-One เพื่อเสริมศักยภาพผู้ประกอบการแบบเจาะลึก และคลายทุกข้อสงสัย เต็มอิ่มกับความรู้จากงานสัมมนาแล้ว ภายในงานยังมีบูธแสดงสินค้าจากผู้ประกอบการภายใต้การบ่มเพาะธุรกิจของอุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อให้ผู้ร่วมงานเกิดแรงบันดาลใจการสร้างแบรนด์ พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

 

รายละเอียด SME/StartUp ที่มาร่วมออกบูธในงาน

1. BROTHER JO’S ไมโครเวฟ ป๊อปคอร์น ผลิตภัณฑ์ข้าวโพดแปรรูปหลากหลายรสชาติ ทำกินเองที่บ้านได้สบาย ๆ แค่นำเข้าไมโครเวฟ

2. ก้อยเสือคั่ว ของดีเมืองขอนแก่น ในแนวคิดกินก้อยเสือคั่วที่บ้านยังไงให้เหมือนกินในร้านโจ๋นแซ๊บ-ลาบก้อย ที่เปิดมานานกว่า 10 ปี

3. HACHII MEAL BAR ผลิตภัณฑ์อินทผลัมแห้งชนิดแท่งที่มีส่วนผสมของอัลมอนด์เม็ดมะม่วงหิมพานต์ และข้าวโอ๊ต ทำจากวัตถุดิบธรรมชาติไม่ใส่วัตถุกันเสีย ไม่เติมน้ำตาล

4. Keyfer นมและโยเกิร์ต มีผลิตภัณฑ์โยเกิร์ต อาทิ Greek Yogurt เนื้อแน่นให้โปรตีนสูงกว่าโยเกิร์ตประเภทอื่น, Drinking Greek yogurt โยเกิร์ตสดพร้อมดื่ม และไอศกรีมซอฟเสิร์ฟโยเกิร์ตสด

5. เครื่องสำอางจากสารสกัดยางนา Alatus ด้วยสารสกัดจากยางนาที่นำมาทำเป็นสบู่อะลาตัส

 

6. UHT Sakura Lactose Free (สินค้าตัวใหม่จาก mMilk Brand) นมปราศจากน้ำตาลแลคโตสกลิ่นซากุระ

7. Ortelra เครื่องสำอางจากสารสกัดใบบัวบก เจลแต้มสิว Ortelra โดยใช้สารออกฤทธิ์จากบัวบกเป็นหลัก ส่วนผสมของเจลใส ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง ไม่แสบคัน ไม่ต้องล้างออก สามารถแต้มเจลได้ทุกเวลา

8. Hannah น้ำมะพร้าวน้ำหอมที่ผลิตด้วยกระบวนการ (HHP) ปราศจากสารกันบูด ช่วยรักษา รส กลิ่น สี คงคุณภาพของมะพร้าวน้ำหอมไว้

9. Clyn ฟลาวมันสำปะหลังสำหรับทำเค้ก คุ้กกี้ และขนม ปราศจากการตัดแต่งพันธุกรรม (Non-GMO) ภายใต้แนวปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี

10. AYA สมุนไพรบรรเทาอาการปวดเมื่อย ช่วยลดปัญหาการปวดเมื่อยตามร่างกายเป็นปัญหาทั่วไปที่พบได้ในวัยทำงานและผู้สูงอายุ อันเกิดจากการนั่งทำงาน การใช้แรงงาน

 

11. เดอนัว ผลิตภัณฑ์ปลาร้าผงปรุงจากวัตุดิบจากธรรมชาติ 100% ไร้สารแต่งกลิ่นไร้สารแต่งรสและไร้สารแต่งสี ไม่ใส่สารกันบูด

12. ผลิตภัณฑ์เส้นปราศจากกลูเตนเสริมปลายข้าว อาหารที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูง ปราศจากลูเตนคือช่วยในเรื่องการย่อยของระบบทางเดินอาหาร และควบคุมน้ำหนัก

13. ชาแห่งชีวิต คำข้าวหอม วัตถุดิบจากภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย เป็นชาใบต้นอ่อนข้าวหอมมะลิ หนึ่งเดียวจากดินแดนเพาะปลูกข้าวหอมมะลิในเขตทุ่งกุลาร้องไห้

14. โอลิสา Rice is Life by Olisa การถ่ายทอดเรื่องราวจากผลิตภัณฑ์ที่ทำจากข้าว โดยอาศัยวัตถุดิบจากเหล่าเกษตรกร ชาวนา เพื่อให้ได้วัตถุดิบที่ดีที่สุด และสะอาดปลอดภัยต่อผู้บริโภค

15. อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดขอนแก่น) อุทยานวิทยาศาสตร์เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา ตลอดจนบ่มเพาะผู้ประกอบการและเทคโนโลยีใหม่

16. บูธ SME NewGen ให้ผู้เข้าร่วมงานนั่งพูดคุยและขอคำแนะนำจากเหล่าวิทยากรทั้ง 3 ในรูปแบบ One-on-One เพื่อเสริมศักยภาพผู้ประกอบการแบบเจาะลึก และคลายทุกข้อสงสัย

17. ศูนย์เซเว่น อีเลฟเว่น สนันบสนุน เอสเอ็มอี ศูนย์สนับสนุน พัฒนาและให้ข้อมูลข่าวสาร (SMEs Service & Information Center) ที่สืบทอดเจตนารมณ์ ” Giving and Sharing” ภายใต้ CP ALL ร่วมกับเครือข่ายคู่ความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและเอกชน สำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถ ตลอดจนเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ โดยครอบคลุมถึงวิสาหกิจชุมชนและเกษตรกร ตามนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างโอกาสทางธุรกิจ ทั้งด้านสินค้าและบริการให้เติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานในการปฏิบัติทางการค้าที่ดี (Code of Conduct)

 

ติดต่อศูนย์เซเว่น อีเลฟเว่น สนันบสนุน เอสเอ็มอี ได้ที่
www.7smesupportcenter.com
Facebook: 7SMECenter
Call: 02-826-7750
E-mail: 7smeinfo@cpall.co.th
ติดตามข่าวสารและดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook CPALL: www.facebook.com/cpall7