Abbey Fleck ตอนอายุ 8 ขวบ ประดิษฐ์ราวอบเบคอนในไมโครเวฟ จนถูกนำมาจดสิทธิบัตร


หากจะถามว่าตอนอายุ 8 ขวบ คุณกำลังทำอะไรอยู่ เมื่อนั่งย้อนกลับไป คงจะเป็นช่วงเวลาของความสนุกสนาน วิ่งเล่น เรียนรู้ตามประสาเด็ก แต่สำหรับ Abbey Fleck แล้วช่วงเวลานี้เขาคือคนที่คิดค้นราวอบเบคอนในไมโครเวฟขึ้นมา

ย้อนกลับไปในปี 1993 ผู้ประกอบการรุ่นจิ๋วในวัย 8 ขวบ เกิดแรงบันดาลใจ หลังจากเห็นคุณพ่อทำเบคอนเสร็จจากการอบโดยไมโครเวฟ แต่กลับไม่กระดาษทิชชูสำหรับซับน้ำมันนั้นหมด โดย Abbey แนะนำว่าให้แขวนเบคอนเหมือนกับการตากผ้า และปล่อยให้น้ำมันไหลลงมาตรงถาดรับข้างล่าง เปลี่ยนเป็นอาหารที่ไม่ทำลายสุขภาพ

 

 

เมื่อไอเดียนี้เกิดขึ้น Abbey จึงร่วมมือกับพ่อประดิษฐ์ชั้นวางรูปตัว T จากเดือยไม้ และไม้แขวนเสื้อพลาสติกชิ้นเล็ก ๆ แล้วติดเข้ากับจานพลาสติกสีชมพู แน่นอนว่ามันได้ผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยม โดยทั้งคู่มีการทดลองจนเกิดความมั่นใจว่าสามารถนำไปใช้งานได้จริง มีความปลอดภัยที่จะเข้าไปอุ่นในไมโครเวฟ จนจดสิทธิบัตรในอีก 1 ปีต่อมา รวมถึงบรรลุข้อตกลงในการจำหน่ายกับ Walmart กลายเป็นจุดเปลี่ยนชีวิตที่สำคัญยกระดับเป็นเศรษฐีรุ่นจิ๋ว

ด้วยความที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีความแปลกใหม่จนได้รับความสนใจจากบรรดาสื่อต่าง ๆ ที่ต้องการตัว Abbey ไปร่วมรายการ ไม่เว้นแม้กระทั่ง The Oprah Winfrey Show ของโอปราห์ วินฟรีย์ ตลอดจนนิตยสาร David Letterman และ Maury Povich อีกทั้ง Parade ยังยกให้เป็นผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ที่ดีที่สุดในปี 1994 อีกด้วย

 

 

ข้อมูลจากเว็บไซต์ Entrepreneur.com เผยว่าในปี 2002 บริษัทได้รับค่าลิขสิทธิ์มากกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และสิ่งประดิษฐ์นี้ที่เรียกว่า “Makin Bacon” นำไปวางจำหน่ายอยู่ที่ Walmart และ Target ซึ่งเป็นร้านค้าปลีกยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ

แม้ว่าจะประสบความสำเร็จกับสิ่งประดิษฐ์ “Makin Bacon”แต่ Abbey และครอบครัวยังคงรักษาความทะเยอทะยานที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2010 Jon ผู้เป็นพ่อออกแบบฝาครอบตามหลัก aerodynamic ซึ่งประสบความสำเร็จ และมีการบรรลุข้อตกลงกับ Schneider บริษัทขนส่งสินค้ายักษ์ใหญ่

ในปี 2016 “Makin Bacon” ทำรายได้ 800,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ฝาครอบทำรายได้ 2.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปัจจุบัน บริษัทเล็ก ๆ ชื่อว่า A de F Ltd มีครอบครัว Abbey เป็นเจ้าของทั้งหมด ซึ่งความน่าสนใจอยู่ที่เป็นบริษัทที่ไม่มีพนักงานนอกจาก Jon ผู้เป็นพ่อ

ที่มา: suiter, forbes

เรื่องที่เกี่ยวข้อง