การพูดคุยกับคู่สนทนา ไม่ว่าเขาคนนั้นจะอยู่สถานะอะไรก็ตาม สิ่งที่ต้องการมากที่สุด คือการโน้มน้าวใจเพื่อให้ได้ตามสิ่งที่เราต้องการ โดยปัจจัยสำคัญอยู่ที่วิธีการต้องรู้จังหวะว่าในแต่ละช่วงเวลาต้องทำอย่างไร
จากการศึกษาศาสตร์แห่งการโน้มน้าวใจมาหลายทศวรรษ ทำให้ค้นพบสิง่ใหม่กับการให้ความสำคัญกับการตัดสินใจเหล่านี้เมื่อใด และนี่คือ 3 วิธีสำคัญในการกำหนดเวลาเพื่อเพิ่มโอกาสการโน้มน้าวใจเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ
1.รู้ว่าเมื่อใดคุณควร (และไม่ควร) ไปก่อน
หากคุณต้องไปทำอะไรสักอย่าง เช่น สมัครงาน, ดีลงานธุรกิจ การไปตั้งแต่เนิ่น ๆ จะทำให้ถูกจดจำได้ง่ายขึ้น แต่หากมีคู่แข่งจำนวนมาก มีผลการศึกษาตั้งแต่การแข่งขันร้องเพลง, สเก็ต ไปจนถึงการแข่งขันชิมไวน์ แสดงให้เห็นว่า ด้วยจำนวนคู่แข่งที่มากมาย ผู้ที่อยู่ในลำดับท้าย ๆ มักจะได้รับการประเมินในระดับสูงกว่า ส่วนหนึ่งมาจากความสดใหม่ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะจดจำข้อมูลที่นำเสนอล่าสุดได้ดี
แต่หากเกณฑ์การคัดเลือกไม่ชัดเจน ก็ไม่ควรเร่งรีบเจรจา แต่ให้พูดคุยกันไปก่อนเพื่อดูท่าทีว่าคู่สนทนามีความชื่นชอบอย่างไร แล้วค่อย ๆ ใส่ข้อเสนอลงไป ซึ่งจะช่วยทำให้ง่ายขึ้น
2.แจ้งข่าวร้ายก่อน
เราเคยได้ยินประโยคที่ว่า “มีข่าวดีกับข่าวร้ายมาแจ้ง จะฟังข่าวไหนก่อน” บางคนอาจจะตอบว่าให้บอกข่าวดีก่อนดูจะเป็นเรื่องสมเหตุสมผล เพราะการรู้ข่าวร้ายอาจจะเป็นเรื่องไม่สบายใจ
แต่ผลการวิจัยพบว่า 4 ใน 5 คน ชอบฟังข่าวร้ายก่อน เพราะข่าวร้ายจะช่วยสร้างความแข็งแกร่งทางด้านจิตใจ เนื่องจากได้รู้ว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น และจะได้หาวิธีแก้ปัญหา ก่อนที่จะรู้ข่าวดีเพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจที่ดีขึ้น โดยวิธีนี้สามารถนำมาประยุกต์กับการโน้มน้าวใจได้ที่ต้องเริ่มเรื่องที่สำคัญเล็ก ๆ ไล่ไปถึงเรื่องใหญ่ ๆ
3.กำหนดเวลาเรื่องที่ต้องการ
เมื่อผู้คนต้องเผชิญอยู่กับสถานการณ์การตัดสินใจ พวกเขามักมีกระบวนการตัดสินใจที่ผิดพลาด โดยการวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้คนมีแนวโน้มที่จะเอาชนะในช่วง 2 เวลา คือในช่วงเช้า และหลังจากหยุดพักเบรค ดังนั้น หากคุณรู้คำตอบที่ได้รับว่า “ไม่” คุณมีโอกาสที่ดีกว่าเล็กน้อย หากคุณเปลี่ยนเวลาเข้าใกล้บุคคลนั้นในตอนเข้า หรือช่วงหยุดพัก
แน่นอนว่า ไม่อาจการันตีแบบ 100% แต่ก็ทำให้คุณมีโอกาสเพิ่มขึ้นจากเดิม
ที่มา: cnbc