Ben & Jerry’s ไอศกรีมที่ชูจุดเด่นปัญหาสิ่งแวดล้อมมาเป็นจุดขาย


หลักการทำธุรกิจที่ดี นอกจากจะต้องสร้างรายได้ มีผลกำไรเพื่อให้สิ่งที่ทำอยู่รอดไปตลอดรอดฝั่งแล้ว อีกหนึ่งเรื่องคือการให้ความสำคัญกับสังคม-สิ่งแวดล้อมที่มองข้ามไม่ได้ เพราะปัจจุบันหมดยุคที่ธุรกิจจะเป็นฝ่ายได้ประโยชน์จากทรัพยากรบนโลกนี้ แต่ควรให้ความตระหนักถึงธรรมชาติที่อยู่ร่วมกันด้วย

Ben & Jerry’s แบรนด์ไอศกรีมยอดนิยมในสหรัฐฯสหรัฐฯ ที่มีอายุก่อตั้งธุรกิจมามากกว่า 40 ปี และสร้างรายได้ปีละหลายร้อยล้าน แต่เรื่องที่ทำให้แบรนด์ได้รับความชื่นชมคือการชูประเด็นปัญหาสังคม-สิ่งแวดล้อม จนได้รับการขนานนามว่าเป็นแบรนด์ที่มีความยั่งยืน

Ben & Jerry’s มีชื่อเสียงในด้านความมุ่งมั่นต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม โดยธุรกิจมุ่งเน้นไปที่ประเด็นต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ, ความยุติธรรมทางสังคม และการจัดหาวัตถุดิบที่มีความยั่งยืน ซึ่งภารกิจ และค่านิยมของบริษัทถูกรวมเข้ากับเอกลักษณ์ของแบรนด์ เน้นความสำคัญในเรื่องการตอบแทนสังคม และส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก

กลยุทธ์การสื่อสารของ Ben & Jerry’s เป็นอย่างไร

Ben & Jerry’s ใช้สโลแกน “Peace, Love & Ice Cream” พวกเขาสามารถเข้าใจภารกิจของตนเองอย่างสมบูรณ์แบบแล้วต้องทำอะไร

เริ่มตั้งแต่บนเว็บไซต์ Ben & Jerry’s ที่จะให้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับความมุ่งมั่นในประเด็นเกี่ยวกับสังคม-สิ่งแวดล้อม ผ่านเซกชันที่เรียกว่า Activism ที่สื่อสารข้อกังวลโดยแบรนด์กำลังบูรณาการเข้ากับธุรกิจอย่างโปร่งใส ซึ่งเป็นที่แน่ชัดว่าว่ากลยุทธ์ขององค์กรมุ่งเน้นไปที่การบูรณาการคุณค่าทางสังคม และสิ่งแวดล้อมเข้ากับทุกแง่มุมของธุรกิจ

 

 

นอกจากนี้ ในเรื่องของกระบวนการผลิต Ben & Jerry’s เลือกที่จะร่วมงานกับซัพพลายเออร์ที่มีวิธีจัดหาวัตถุดิบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ทำลายธรรมชาติ รวมถึงให้ความสำคัญกับเกษตรรายย่อยมาเป็นอันดับแรก

ไม่เพียงเท่านั้น แบรนด์ยังทำโฆษณาที่สะท้อนถึงปัญหาโลกร้อนผ่านตัวผลิตภัณฑ์ นั่นคือไอศกรีม โดยเนื้อหาประมาณว่าเมื่ออุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้น ไอศกรีมก็จะละลายเร็ว และดูไม่น่ารับประทาน เป็นการสร้างตระหนักถึงปัญหาโลกร้อนให้กับผ็คนผ่านเรื่องที่อยู่ใกล้ตัว

เราสามารถสรุปได้ว่ากลยุทธ์การสื่อสารของ Ben & Jerry’s แบ่งเป็น 3 ด้านหลัก ดังต่อไปนี้

ความยั่งยืน: การสื่อสารเรื่องความยั่งยืนให้สอดคล้องกับค่านิยมที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สะท้อนปัญหาให้ผู้บริโภคได้รับรู้

ความยุติธรรมทางสังคม: กลยุทธ์สื่อสารของแบรนด์มุ่งเน้นไปที่การสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับประเด็นความยุติธรรมทางสังคม

การจัดหาอย่างมีจริยธรรมและการค้าที่เป็นธรรม: แบรนด์สนับสนุนเกษตรกรรายย่อย ให้ผลตอบแทนที่ยุติธรรม และมีแนวทางปฏิบัติทางการเกษตรอย่างยั่งยืน เป็นการเน้นย้ำแนวทางการทำธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม

 

 

จะเห็นได้ว่า หากแบรนด์มีความตั้งใจกับแนวทางที่ตั้งเอาไว้ และไปให้สุดก็จะกลายเป็นจุดแข็งให้กับแบรนด์ เป็นที่จดจำของผู้บริโภค แน่นอนว่าผู้บริโภคยุคใหม่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก

ที่มา: benjerrymedium