วันอาทิตย์, มิถุนายน 30, 2567

ถอดบทเรียน Robinhood ตั้งเริ่มทำธุรกิจขาดทุนทุกปี รวม 5.5 พันล้านบาท

by Anirut.j, 27 มิถุนายน 2567

แพลตฟอร์มสั่งอาหารเดลิเวอรีได้รับความนิยมอย่างมาก นับตั้งแต่การแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ผู้คนโดนกักบริเวณไม่สามารถออกมาใช้ชีวิตได้ปกติ การส่งอาหารจากร้านค้ามายังที่พักจึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ และเมื่อโควิด-19 คลี่คลายแล้วการให้บริการดังกล่าวก็ยังได้รับความนิยมสอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง

แต่ความนิยมดังกล่าวก็นำมาสู่การแข่งขันที่รุนแรงจากผู้ให้บริการมากหน้าหลายตาที่เข้ามาแย่งชิงพื้นที่ส่วนแบ่งทางการตลาด ผ่านการเสนอโปรโมชัน ส่วนลดต่าง ๆ เพื่อดึงลูกค้าเข้ามาใช้บริการ

“Robinhood” อีกหนึ่งแอปพลิเคชันส่งอาหารเดลิเวอรี ภายใต้การบริหารของเอสซีบี เอกซ์ (SCBX) ที่ต้องโบกมือลา โดยจะหยุดให้บริการมีผลตั้งแต่วันที่ 31 ก.ค.2567 เป็นต้นไป โดยบริษัทได้บอกว่าพวกเขาทำภารกิจลุล่วงแล้วกับการช่วยเหลือร้านค้า ไรเดอร์ และคนตัวเล็กในช่วงวิกฤตโควิด เมื่อวิกฤตโควิดผ่านพ้นไป ธุรกิจต่าง ๆ เข้าสู่สภาวะปกติ แอปพลิเคชัน Robinhood จึงตัดสินใจยุติบทบาทลง และกลุ่มเอสซีบี เอกซ์ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะยังคงได้รับการสนับสนุนจากลูกค้า และพันธมิตรทางธุรกิจในส่วนของแพลฟอร์มอื่น ๆ ของบริษัททั้งในปัจจุบัน และที่จะมีต่อในอนาคตต่อไป

 

แถลงการณ์ SCBX

แถลงการณ์ SCBX

 

สำหรับแอปพลิเคชัน Robinhood เริ่มต้นให้บริการในปี 2563 ภายใต้บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด ในเครือของเอสซีบี เอกซ์ ด้วยงบลงทุนประมาณ 100 ล้านบาท/ปี โดยมีจุดเด่นอยู่ที่การไม่เก็บค่าธรรมเนียมการใช้แพลตฟอร์ม ทำให้ร้านค้าไม่มีต้นทุนเพิ่ม ลูกค้าจะได้รับอาหารในราคา และปริมาณเดียวกันกับซื้อที่ร้าน รวมถึงร้านค้าจะได้รับเงินสดทันทีภายใน 1 เดือน หลังจากอาหารถูกจัดส่ง ช่วยสร้างสภาพคล่อง หมดปัญหาเรื่องหมุนเงินไม่ทันในการทำธุรกิจ

ขณะเดียวกัน “Robinhood” ก็ให้ส่วนลดกับลูกค้า เช่น ลดค่าสั่งอาหาร 8% จากร้านค้าที่เข้าร่วม ทำให้ลูกค้าสามารถเลือกเมนูเด็ดได้เหมือนกับไปรับประทานอาหารที่ร้าน

ผลประกอบการบริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด

-ปี 2563 รายได้รวม 81,549 บาท ขาดทุน -88 ล้านบาท
-ปี 2564 รายได้รวม 16 ล้านบาท ขาดทุน -1,335 ล้านบาท
-ปี 2565 รายได้รวม 539 ล้านบาท ขาดทุน -1,987 ล้านบาท
-ปี 2566 รายได้รวม 724 ล้านบาท ขาดทุน -2,156 ล้านบาท

จะเห็นได้ว่า “Robinhood” ขาดทุนตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ทำธุรกิจมา ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกของธุรกิจประเภทนี้ที่จะเลือกวิธีการ “เผาเงิน” ก่อนเพื่อให้ได้ข้อมูล จำนวนลูกค้า และค่อยมาทำกำไรภายหลัง อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่เป็นแพลตฟอร์มที่มีการแข่งขันค่อนข้างสูงจึงทำให้ “Robinhood” ไม่สามารถเบียดแย่งส่วนแบ่งการตลาดจากคู่แข่งที่สำคัญได้

 

แอป Robinhood

แอป Robinhood

 

หากดูข้อมูลจาก Statista เมื่อเดือนเมษายน ปี 2023 พบว่า GrabFood ครองส่วนแบ่งทางการตลาดในบริการประเภทนี้มากที่สุด คิดเป็น 56% ส่วน Robinhood มีส่วนแบ่งอยู่ที่ 5% เท่านั้น

เราอาจมองเรื่องนี้ได้ในหลายมุมมอง หากมองในเรื่องวัตถุประสงค์ของการทำแอปฯ Robinhood ที่ต้องการช่วยเหลือไรเดอร์ ร้านค้าในช่วงโควิด-19 ถือว่าบรรลุเป้าหมาย ประสบความสำเร็จ เป็นพระเอกในเรื่องความเสียสละ ความมีน้ำใจ แต่หากมองในมุมของธุรกิจ การที่ตัวเลขขาดทุนทุกปี และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่า SCBX จะเป็นบริษัทใหญ่ ทุนหนา แต่การปล่อยให้เป็นแบบนี้ต่อไปก็ไม่ใช่เรื่องดี เมื่อประเมินผลลัพธ์แล้วควรหยุด การยุติให้บริการถือว่าเป็นทางออกที่ดี


Mostview

“Butterbear” น้องหมีเนย เมื่อมาสคอตเป็นอะไรมากกว่าที่คุณคิด

“มาสคอต” ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ในสร้างการรับรู้ให้แบรนด์เป็นที่รู้จักของคนมากขึ้น หลายแบรนด์จึงใช้วิธีนี้สร้างคาแรคเตอร์ให้กับมาสคอตขึ้นมาเพื่อให้เป็นที่จดจำ

ลาออกจากงาน 1 ปี เพื่อหาความสุขที่แท้จริง สุดท้ายได้แนวทางใช้ชีวิตไปจนเกษียณ

เชื่อว่าทุกคนอยากมีชีวิตตามสิ่งที่คิดไว้ แต่แน่นอนว่าด้วยภาระหน้าที่ต่าง ๆ ทำให้เราไม่สามารถเป็นไปอย่างที่หวัง หรือไปถึงเป้าหมายตรงนั้นได้ช้าลง

Ben & Jerry’s ไอศกรีมที่ชูจุดเด่นปัญหาสิ่งแวดล้อมมาเป็นจุดขาย

Ben & Jerry’s แบรนด์ไอศกรีมยอดนิยมในสหรัฐฯสหรัฐฯ ที่มีอายุก่อตั้งธุรกิจมามากกว่า 40 ปี และสร้างรายได้ปีละหลายร้อยล้าน แต่เรื่องที่ทำให้แบรนด์ได้รับความชื่นชมคือการชูประเด็นปัญหาสังคม-สิ่งแวดล้อม จนได้รับการขนานนามว่าเป็นแบรนด์ที่มีความยั่งยืน

ยอดจัดตั้งธุรกิจเดือน พ.ค.67 แรงต่อเนื่อง ตั้งใหม่ 7,499 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 21,887 ล้านบาท

กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเผยสถิติจดทะเบียนตั้งใหม่ช่วงกลางไตรมาส 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2567 มียอดจัดตั้งใหม่ 7,499 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 14.84% จดทะเบียนเลิก 1,004 ราย น้อยลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

SmartSME Line