เปิดความรู้สมุดบัญชี ภาษีเงินฝากที่หลายคนมองข้าม


 

ภาษีเงินฝาก อาจเป็นคำที่ไม่คุ้นเคยกันนัก เพราะเวลาเราต้องการฝากเงินส่วนมาก มักได้ยินเพียงคำว่า ดอกเบี้ยเงินฝากเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งโดยปกติแล้วดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้รับจากธนาคารนั้น ต้องมีการเสียภาษี โดยธนาคารจะหักภาษี ณ ที่จ่ายประมาณ 1.10 หรือ 15% ตามเงื่อนไขของประเภทเงินฝากแต่ละประเภท ซึ่งจะมีข้อกำหนดแตกต่างกันออกไป

การศึกษาสิทธิประโยชน์ภาษีของการเงินฝากแต่ละประเภท จะช่วยให้ท่านสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าตนเองควรฝากเงินรูปแบบใด อีกทั้งยังช่วยให้ท่านได้รับประโยชน์สูงสุดจากการฝากเงินอีกด้าน

ภาษีเงินฝากประเภทต่าง ๆ

1. เงินฝากออมทรัพย์ เสียภาษี 15% แต่มีข้อยกเว้นว่าไม่ต้องเสียภาษีหากดอกเบี้ยเงินฝากจากทุกธนาคารรวมกันไม่เกิน 20,000 บาท/ปี

2. เงินฝากประจำ เสียภาษี 15% มีข้อยกเว้น 3 กรณีคือ

2.1 ไม่ต้องเสียภาษีหากเป็นดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปีขึ้นไปของผู้ฝากที่มีอายุ 55 ปี และมีจำนวนรวมบัญชีฝากประจำทุกประเภทแล้วไม่เกิน 30,000 บาท

2.2 ไม่ต้องเสียภาษีหากดอกเบี้ยเงินฝากพิเศษที่เป็นทางการฝากสะสมรายเดือน เดือนละเท่า ๆ กันติดต่อกัน 24 เดือนขึ้นไป

2.3 มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย จาก 15% เป็น 10% สำหรับเงินฝากประจำ 5 ปีขึ้นไป ในกรณีที่มีการฝากเพื่อการศึกษา และที่อยู่อาศัย

3. เงินฝากกระแสรายวัน เสียภาษี 15%

4. เงินฝากประจำสำหรับผู้สูงอายุ ได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภทแล้วไม่เกิน 30,000 บาท / ปี

5. เงินฝากสกุลเงินต่างประเทศ เสียภาษี 15%

6. ตั๋วแลกเงิน เสียภาษี 15%

7. สลากออมทรัพย์ เสียภาษี 15%

8. พันธบัตรรัฐบาล เสียภาษี 15%