การฝากเงินแบบอิสลาม (วะดีอะห์) การฝากเงินแบบไร้ดอกเบี้ย


 

เป็นที่ทราบกันดีว่าศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่ต่อต้านการรับดอกเบี้ยทุกชนิด เนื่องจากศาสนาอิสลามมีหลักคำสอนในเรื่องของการไม่เอาเปรียบเพื่อนร่วมโลก ทุกคนเปรียบเสมือนเพื่อน พี่ น้อง กันหมด ดังนั้นการคิดดอกเบี้ยในทางศาสนาอิสลามจึงถูกมองว่าเป็นการเอาเปรียบเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ดังนั้นจึงมีธนาคารอิสลามเกิดขึ้น

ธนาคารอิสลามมีการดำเนินธุรกิจรับฝากเงินที่แตกต่างจากธนาคารทั่วไป การฝากเงินในธนาคารอิสลาม เรียกว่า การฝากเงินด้วยหลัก วะดีอะห์ (wadiah) โดยหลักวะดีอะห์ ที่ใช้ในธนาคารมีอยู่ 2 ประเภทคือ

1. วะดีอะห์ ยัด อามานะห์ (Wadiah Yad Amanah) หมายถึง การฝากสิ่งใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินหรือเงินสด หากผู้ฝากทวงถามก็จะได้สิ่งนั้นกลับคืนไป โดยการฝากเงินรูปแบบนี้ธนาคารจะไม่สามารถนำเงินหรือทรัพย์สินของผู้ฝากไปลงทุน หรือทำอะไรได้หากผู้ฝากไม่ยินยอม ดังนั้นผู้ฝากก็จะไม่ได้รับเงินส่วนแบ่งเพิ่มเติมจากเงินเดิมที่เคยได้ฝากเอาไว้

2. วะดีอะห์ ยัด เดาะมานะฮ์ (Wadiah Yad Damanah) หมายถึง เมื่อผู้ฝากนำเงินไปฝากในธนาคารมากเท่าไหร่ก็ตาม ธนาคารจะไม่มีดอกเบี้ยให้แก่ผู้ฝาก ส่วนเงินฝากเหล่านั้นทางธนาคารจะนำไปลงทุน และเมื่อการลงทุนดังกล่าวได้กำไรก็จะนำเงินในส่วนนั้นมาแบ่งตามสัดส่วนที่เหมาะสม หากนึกไม่ออกให้ลองนึกถึงระบบสหกรณ์ เงินที่นำมาแบ่งสัดส่วนเราเรียกกันติดปากว่าเงิน ปันผล นั่นเอง

ทั้งนี้ไม่ใช่เพียงชาวมุสลิมเท่านั้นที่ฝากเงินรูปแบบนี้ได้ บุคคลทั่วไปก็สามารถฝากเงินเข้าระบบของธนาคารอิสลามได้ โดยได้รับสิทธิต่าง ๆ เหมือนกับชาวมุสลิม และการฝากเงินในธนาคารอิสลามก็เหมือนกับการลงทุนชนิดหนึ่ง ซึ่งมีแค่ได้มากได้น้อย เพราะธนาคารจะมีการรับประกันเงินฝากของเราไว้ จึงไม่ต้องกังวลว่าเมื่อธนาคารนำเงินของเราไปลงทุนแล้วจะไม่ได้คืน …