คาดสภาวะเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าเร็วกว่าสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค


 

ที่ผ่านมาภาพรวมเศรษฐกิจไทยเริ่มมีความชัดเจนขึ้น ส่งผลให้ภาวะการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ไทยปรับตัวดีขึ้น มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มสูงขึ้น มีหลักทรัพย์เข้าใหม่เริ่มเข้ามาซื้อขายใน ตลท. และตลาดหลักทรัพย์อย่างต่อเนื่อง ค่าเงินบาทและการส่งออกยังไม่ได้รับผลกระทบจากกรณีกลุ่มประเทศยุโรป (อียู) ชะลอความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทย เนื่องจากยังไม่ได้มีการประกาศมาตรการคว่ำบาตรสินค้าของไทยออกมา แต่มองว่าแม้ว่ากลุ่มอียูจะมีการคว่ำบาตรก็ตาม ก็จะกระทบกับอุตสาหกรรมส่งออกบางกลุ่มเท่านั้น เมื่อเทียบกับการส่งออกรวมกับทั้งประเทศที่ถือว่าน้อยมาก

นโยบายของรัฐบาลสนับสนุนให้ธุรกิจขนาดใหญ่ของไทยเริ่มเข้าไปลงทุนในต่างประเทศ โดยส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนก่อสร้างโรงงานที่ต้องใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องหาเงินดังกล่าวจากส่วนอื่นปล่อยกู้ให้แก่ภาคธุรกิจ ที่เป็นรูปแบบยืมเงินสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐระยะสั้น 3 เดือน หรือ 6 เดือน และนำมาปล่อยกู้ในระยะยาว 5 ปี ซึ่งจะเห็นว่าช่วงเวลาที่ยืมและปล่อยกู้นั้นจะไม่ชนกัน รวมทั้งธนาคารพาณิชย์ที่ปล่อยกู้จะเป็นธนาคารขนาดใหญ่ ที่มีระบบบริหารจัดการที่ดีด้วยการออกหุ้นกู้ระยะยาว 5, 10 ปี เพื่อนำเงินมาปิดช่องว่างดังกล่าว

เนื่องจากสถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยนนั้นได้รับ ผลกระทบจากสถานการณ์เศรษฐกิจที่ไม่ปกติเกิดขึ้น เช่น ความผันผวนของเศรษฐกิจแต่ละประเทศ อย่าง ยุโรป สหรัฐ ญี่ปุ่น ตลอดจนราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวลดลง รวมทั้งผลกระทบจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ลดลงเกือบ 50% ซึ่งทำให้อัตราแลกเปลี่ยนของไทยได้รับผลกระทบโดยเฉพาะการแข่งขันทางการค้ากับประเทศคู่แข่ง ซึ่งการมองโอกาสในการเปิดตลาดประเทศที่ถูกคว่ำบาตร เพื่อให้เป็นเป้าหมายใหม่ในการส่งออก เพราะปัจจุบันเรื่องนี้ยังมีข้อจำกัดเรื่องเหตุผลทางการเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งต้องเป็นท่าทีของไทยเองด้วย ว่าจะมองเรื่องนี้อย่างไร แต่ทั้งนี้ ธปท.อยากให้ภาคเอกชนจัดระบบต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมไว้ เพราะหากการคว่ำบาตรเริ่มลดน้อยลง จะทำให้ภาคเอกชนสามารถกลับเข้าไปทำธุรกิจหรือการค้าขายกับประเทศนั้นๆได้ทันที

ที่มา : movementresourcegroup.org